สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ขยายรง.อาหารปลา-กุ้งในอินเดีย CPFทุ่ม3พันล.ตั้งฟาร์มสัตว์น้ำ รัฐอานธรประเทศ

จากประชาชาติธุรกิจ

CPF รุกขยายตลาดอินเดียอย่างต่อเนื่อง เตรียมทุ่มงบฯ 3,000 ล้านบาท สร้างโรงงานผลิตอาหารปลา-กุ้ง ที่รัฐอานธรประเทศ-เวสต์เบงกอล-มหาราษฏระ มั่นใจโกยยอดขายเพิ่มไม่ต่ำกว่า 20% ในปีหน้า หลังพบสินค้ากุ้งขาวขายดีในตลาดโลก



นายจรูญพันธ์ เจนศาสตรา รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านสนับสนุนธุรกิจอาหารสัตว์น้ำต่างประเทศ (อินเดีย) บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) กล่าวว่า ในปี 2553 บริษัทจะมีรายได้จากการลงทุนในอินเดีย ประมาณ 15,200 ล้านบาท ส่วนปี 2554 มีแผนขยายการลงทุนอีกไม่ต่ำกว่า 20% จากการก่อสร้างโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำแห่งใหม่ จำนวน 2 แห่ง มูลค่า 3,000 ล้านบาท

โดยโรงงานผลิตอาหารปลาแห่งแรก จะตั้งที่เมืองวีเจยาวาด้า (Vijayawada) รัฐอานธรประเทศ ก่อสร้างแล้วเสร็จในช่วงไตรมาส 1/2554 ส่วนโรงงานแห่งที่สอง จะก่อสร้างที่เวสต์เบงกอล (West Bengal) รัฐเบงกอลตะวันตก ในปี 2556 ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 1 ปี เมื่อโรงงานทั้ง 2 แห่งก่อสร้างเสร็จ จะมีกำลังการผลิตรวมกันประมาณ 24,000 ตัน/เดือน ส่วนสาเหตุที่ CPF ไปลงทุนในทั้งสองรัฐ เนื่องจากเป็นแหล่งเลี้ยงปลาขนาดใหญ่ของประเทศอินเดีย นอกจากนี้ ยังพบว่าเส้นทางการคมนาคมระหว่างรัฐในประเทศอินเดียไม่ได้รับความสะดวกเท่า ที่ควร และต้นทุนการขนส่งที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น CPF จึงตัดสินใจลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตอาหารปลาในแหล่งเลี้ยงปลาแต่ละแห่งของ ประเทศอินเดียโดยตรง




ปัจจุบัน CPF ยังมีโรงงานผลิตอาหารไก่ ที่เมืองปูเน่ (Pune) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐมหาราษฏระ นอกจากนี้ ยังมีโรงงานผลิตอาหารกุ้ง ที่เมืองวายแซก (Vizag) กับเมืองเชนไน (Chennai) รัฐทมิฬนาฑู และในอนาคต เตรียมวางแผนก่อสร้างโรงงานผลิตอาหารกุ้งแห่งใหม่ ในเมืองปูเน่ด้วย ขณะนี้กำลังส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับก่อสร้างโรง งานแล้ว คาดว่าจะสามารถเริ่มต้นก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ได้ภายในปี 2558

"เรา ตั้งเป้าหมายว่า ภายใน 5 ปีนี้ CPF จะขยายการลงทุนก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ในธุรกิจสัตว์น้ำจำนวน 5 แห่ง เห็นว่าสินค้ากุ้งขาวของอินเดียมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องใน ตลาดโลก สังเกตได้จากปีนี้อินเดียมียอดส่งออกกุ้งขาวประมาณ 5% ของกำลังการผลิตทั้งหมด และมีแผนผลักดันการส่งออกกุ้งขาวให้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 10% ภายในปี 2554" นายจรูญพันธ์กล่าว

อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบศักยภาพการส่งออกกุ้งระหว่างไทย-อินโดนีเซีย-อินเดีย- เวียดนามในปัจจุบัน พบว่าสินค้ากุ้งอินเดียค่อนข้างเสียเปรียบคู่แข่งขันมากที่สุดในเรื่องภาพ ลักษณ์ โดยเฉพาะประเด็นด้านสุขอนามัย ดังนั้น เมื่อผู้นำเข้าของสหภาพยุโรป สหรัฐ และญี่ปุ่นต้องการเลือกซื้อกุ้งในตลาดโลก มักจะเลือกประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่ง เพราะมีระบบการเพาะเลี้ยง-สุขอนามัยที่ดี ขณะที่อินเดียถือเป็นตัวเลือกสุดท้าย เพราะมีจุดอ่อนในเรื่องสุขอนามัย

อนึ่ง เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) นับเป็นนักธุรกิจไทยกลุ่มแรก ที่เข้าไปลงทุนขยายตลาดสินค้าเกษตร/เกษตรแปรรูปใน 5 รัฐของประเทศอินเดีย ประกอบไปด้วยรัฐเบงกอลตะวันตก-รัฐอานธรประเทศ- รัฐทมิฬนาฑู-รัฐกรณาฏกะ และรัฐมหาราษฏระ โดยในปี 2535 CP ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลอินเดียให้ลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตอาหารกุ้ง ที่เมืองเชนไน ปี 2541 ได้ขยายการลงทุนเข้าสู่ธุรกิจผลิตอาหารสัตว์บก ที่เมืองเชนไน

ต่อมาในปี 2544-2545 CP ได้เช่าที่ดินสร้างโรงงานผลิตและขายอาหารสัตว์บก ที่เมืองบังคาลอร์ (Bangalore) รัฐกรณาฏกะ ปี 2547-2548 สร้างโรงงานผลิตและขายอาหารสัตว์บก ที่เมืองวีเจยาวาด้า และกลางปี 2548 CP ได้ขยายการลงทุนสร้างโรงงานผลิตอาหารกุ้ง ที่เมืองวายแซก ส่วนปีนี้ได้มีการสร้างโรงงานผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์บก ที่เมืองเวลลอร์ (Vellore) กับเมืองปูเน่

Tags :

view