จากเวปไซต์ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
การกำจัดขยะมูลฝอยโดยการเลี้ยงไส้เดือน
|
ไส้เดือนดินบางชนิดที่อยู่ในกลุ่มที่อาศัยอยู่ในมูลสัตว์ หรือเศษซากอินทรียวัตถุ สามารถนำมาเลี้ยงขยายพันธุ์และใช้ในการกำจัดขยะอินทรีย์ต่างๆ และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรได้ เช่นสายพันธุ์ Eisenia foetida, Lumbricus rubellus, Eudrilus eugeniae และ Pheretima peguana มีหลายหน่วยงานที่ให้ความสนในการใช้ไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ โดยมีการประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ในการนำไส้เดือนดินสายพันธุ์ที่เหมาะสมมาใช้ในการกำจัดขยะอินทรีย์ในบ้าน เรือน เทศบาล โรงงานอุตสาหกรรม วัสดุเหลือใช้ในไร่นา หรือสวน หรือกำจัดของเสียภายในฟาร์มเลี้ยงสัตว์วัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และเพื่อผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน แต่ขยะอินทรีย์ ของเสียจากท่อระบายน้ำทิ้ง และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร บางชนิดไม่เหมาะสมในการนำมาให้ไส้เดือนดินย่อยสลายในขั้นแรก จำเป็นต้องผ่านกระบวนการทำให้เหมาะสมก่อน เช่น การลดปริมาณน้ำที่มากเกินไป หรือการหมักเพื่อลดปริมาณความร้อน และก๊าซพิษ หรือเพื่อให้วัสดุเหล่านั้นมีความอ่อนนุ่มลงเหมาะแก่การย่อยสลายโดยไส้เดือน ดิน การเลี้ยงไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ในครัวเรือน/ในชุมชน ภายในบ้านเรือนมักมีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดขยะ อินทรีย์จำนวนมาก เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหารเป็นประจำทุกวัน ขยะอินทรีย์ต่างๆดังกล่าวสามารถเลี้ยงไส้เดือนดินไว้กำจัดภายในบริเวณบ้าน ได้ ด้วยชุดเลี้ยงที่สามารถทำเองได้ง่าย เช่น ถังน้ำ/อ่างน้ำพลาสติก ลิ้นชักพลาสติก บ่อวงซีเมนต์ หรือสร้างโรงเรือนขนาดเล็ก โดยสามารถใส่เศษขยะอินทรีย์ได้ทุกวัน เมื่อไส้เดือนดินย่อยสลายขยะอินทรีย์เหล่านั้น จะได้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักมูลไส้เดือนดินคุณภาพสูงไว้ใช้ปลูกพืชต่างๆภายใน บ้านได้ นอกจากนี้ยังสามารถลดภาระการจัดเก็บขยะของเทศบาลลงได้จำนวนมาก
|
วิธีการเลี้ยงไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ในครัวเรือน 1.เตรียมบ่อวงซีเมนต์ที่เทพื้นและต่อท่อระบายน้ำหมักมูลไส้เดือน 2.นำบ่อวงไปตั้งไว้ในบริเวณที่ไม่มีแสงแดด ไม่โดนฝน และอากาศถ่ายเทได้สะดวก 3.ล้างบ่อวงซีเมนต์และแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 3-7 วัน เพื่อลดความเค็มของปูนซึ่งเป็นอันตรายต่อไส้เดือนดิน 4.ใส่พื้นเลี้ยงในบ่อหนา 3 นิ้ว ใส่ไส้เดือนดิน 1 กิโลกรัม/พื้นที่บ่อ 1 ตร.ม. 5.ทาสบู่รอบๆปากบ่อป้องกันไส้เดือนดินหนี 6.ใส่เศษอาหาร เศษผัก หรือผลไม้เหลือทิ้งในบ้านลงไปในบ่อ เพื่อให้ไส้เดือนย่อยสลาย ต่อไป พื้นเลี้ยง เตรียมจากดินร่วน 4 ส่วน ผสมกับมูลวัว 1 ส่วน หมักไว้ที่ความชื้น 80-90% นาน 7 วัน หรือใช้น้ำหมักมูลไส้เดือนเข้มข้น 10% รดทิ้งไว้ 1 วัน
|
วิธีการเลี้ยงไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ชุมชน 1) สร้างโรงเรือนที่ป้องกันน้ำฝนได้และมีการพรางแสง มีตาข่ายปิดโดยรอบ เพื่อป้องกันศัตรูไส้เดือน 2) สร้างบ่อเลี้ยงกว้างประมาณ 1-2 เมตร สูง 0.8-1 เมตร ความยาวแล้วแต่ขนาดโรงเรือน พื้นบ่อลาดเอียง 1-2% และต่อท่อระบายน้ำหมักออกจากพื้นบ่อไปยังบ่อเก็บน้ำหมักในจุดต่ำสุดของ พื้นที่ 3) ใส่ดินที่พื้นบ่อเลี้ยงหนา 3 นิ้ว และใส่ไส้เดือนดิน 1 กิโลกรัม/พื้นที่บ่อ 1 ตร.ม. 4) ใส่ขยะอินทรีย์ให้ไส้เดือนดินย่อยสลายหนา 3 นิ้ว (ฤดูหนาวหนา 6 นิ้ว)
|
|
|
วิธีการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดินสำหรับผลิตปุ๋ยอินทรีย์มีด้วยกันหลายชนิด
|
โดยสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมดังนี้
|
1) การเลี้ยงไส้เดือนดินในภาชนะต่าง ๆ เช่น กระถางปลูกต้นไม้ ลังไม้ หรือบ่อซีเมนต์เป็นต้น เป็นการเลี้ยงขนาดเล็ก และทำได้ทุกครัวเรือน ใช้พื้นที่น้อย การดูแลง่าย แต่ปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้ก็น้อยตามขนาดของภาชนะ 2) การเลี้ยงไส้เดือนดินในภาชนะเป็นชั้น ๆ เช่น ชั้นไม้ หรือชั้นตู้พลาสติก เป็นต้น เป็นการเลี้ยงที่ใช้พื้นที่จำกัดได้ดี แต่มีข้อจำกัดคือต้องใช้แรงงานในการจัดการค่อนข้างมากและสิ้นเปลืองเวลา
|
รูปที่ 3-10 ชั้นตู้พลาสติกเลี้ยงไส้เดือน
|
3) การเลี้ยงไส้เดือนดินแบบแปลงกลางแจ้ง เป็นการเลี้ยงไส้เดือนดินที่ใช้เทคนิคง่าย ๆ ด้วยการตั้งกองอาหารเป็นแปลงสำหรับเลี้ยงไส้เดือนดิน คลุมอาหารของไส้เดือนดินด้วยฟางและตาข่าย สำหรับป้องกันสัตว์มาคุ้ยเขี่ย แต่มีข้อจำกัดตรงที่ไส้เดือนดินสามารถเลื้อยหนีออกได้ง่ายเมื่อสภาวะไม่ เหมาะสม เช่น อาหารหมดหรือน้ำท่วม เป็นต้น 4) การเลี้ยงไส้เดือนดินในโรงเรือน เป็นการเลี้ยงที่นิยมสำหรับฟาร์มเกษตรกรส่วนใหญ่ เพราะสามารถจัดการสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในการเลี้ยงไส้เดือนดินได้ง่าย เช่น การก่อบล็อกสำหรับทำซองหรือคอกเลี้ยงไส้เดือนดิน โรงเรือนจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับต้นทุนของผู้เลี้ยงไส้เดือนดินเป็น หลัก 5) การผลิตไส้เดือนดินแบบอัตโนมัติ เป็นการเลี้ยงไส้เดือนดินอย่างเป็นระบบ ทำให้จัดการได้ง่าย แต่มีข้อจำกัดตรงที่ต้นทุนสูงมาก ดังนั้นต้องมีการศึกษาพันธุ์ที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด
|
ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากไส้เดือนดินมีอยู่ 2 ชนิดคือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดแห้งและปุ๋ยอินทรีย์ชนิดน้ำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบหรืออาหารที่ใช้ โดยทั่วไปถ้าเป็นจากเศษพืชหรือผักจะได้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งชนิดน้ำและแห้ง แต่มีปริมาณน้อย ส่วนมูลสัตว์จะได้ปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ที่มากกว่า แต่ไม่ได้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดน้ำ
|