สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สร้างบ้านให้ไส้เดือน เสริมปัจจัยเกษตรอินทรีย์

จาก เวปไซต์ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันที่ 24 มีนาคม 2552


 

ไส้เดือนดิน...จัดอยู่ใน Phylum Annelida ลักษณะทั่วไป ลำตัวเป็นปล้องๆ มีเยื่อ Cuticle คลุมผิวหนังเพื่อใช้หายใจ มีหัวใจเทียม (pseudoheart) อยู่ระหว่างปล้องที่ 8-13ส่วนปล้องที่ 14, 15, 16 ใช้สร้างปลอกหุ้มไข่ (Cocoon) ซึ่ง มีได้ ทั้งไข่ และ อสุจิในตัวเดียวกัน... แต่ผสมพันธุ์กันในตัวเองไม่ได้ (เพราะเป็นกะเทย) มีเลือดสีแดงและเส้นประสาทที่บริเวณด้านท้อง Ventral nerve cord มีกึ๋น (Gizzard) ช่วย ย่อยอาหารและขับถ่ายของเสียออกทางรูผิวหนังอาศัยอยู่ทั่วไปตามดินชุ่มชื้น ร่วนซุย แต่ในเมืองใหญ่ๆที่เป็นคอนกรีต พบได้บริเวณสวนหย่อมที่มีใบไม้ทับถมอยู่มากๆตามพื้นดินที่เป็น “กองขยะอินทรีย์”

 

จาก ตลาดหรือในชุมชนมันจะคืบคลานโดยชอนไชด้วยเดือยรอบๆปล้องไปตามซอกหลืบของเม็ด ดินหากินเศษใบไม้และพืชผักเป็นอาหาร อีกทั้งยังกินซากสัตว์ทุกชนิดที่เน่าเปื่อย รวมทั้งแมลงและตัวอ่อนได้อีกด้วย จึงถูกจัดอยู่ในสัตว์จำพวกกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มองเห็นวงจรชีวิตของไส้เดือนดิน ที่ทำให้ดินโปร่งร่วนซุย ไม่แน่นทึบ เกิดการถ่ายเทอากาศภายในดีขึ้น จึงนำมาใช้ในการย่อยสลายขยะจากหลายแห่งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้เห็นเป็นรูปธรรม สามารถลดปริมาณขยะลงไปเป็นจำนวนมากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม (สผ.) จึงได้สนับสนุนเงินจำนวน 5,000,000 บาท เพื่อให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัด โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการขยะอินทรีย์สำหรับชุมชนขนาด ย่อม...พร้อมกับถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีนี้ให้กับองค์กรต่างๆ คือ โรงพยาบาลสันทราย, ศูนย์เรียนรู้อำเภอไชยปราการ, ตลาด สดเจดีย์แม่ครัว โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยการใช้...ไส้เดือนดินพันธุ์ขี้ตาแร่...ซึ่งเป็นพันธุ์ท้องถิ่นของทางภาค เหนือจำนวน 1,000 กิโลกรัม เข้ามาใช้ในกระบวนการกำจัดขยะอินทรีย์ทั้งโครงการฯให้กลายเป็น ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ โดย มูลนิธิโครงการหลวง ได้ให้นำผลิตภัณฑ์ “ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและน้ำปุ๋ยชีวภาพ” ซึ่ง มีคุณสมบัติเหมาะสำหรับการปลูกพืชผลทางการเกษตรทั้งไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ผล และการทำเกษตรอินทรีย์ได้เป็นอย่างดี มาวางจำหน่ายอีกด้วยเมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รศ.ดร. เทพ พงษ์พานิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ถือฤกษ์เปิด “บ้านไส้เดือน” จำนวน 6 หลัง พร้อมปล่อยไส้เดือนดินพันธุ์ขี้ตาแร่เข้าสู่โรงเรือนหลังใหม่ โดยมี  รศ.ดร.อา นัฐ ตันโช อาจารย์ ภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมการเกษตร เป็นผู้รับผิดชอบดูแลหน่วยงานหรือชุมชนที่ต้องการศึกษาดูงาน “การกำจัดขยะอินทรีย์โดยใช้ไส้เดือนดิน” กริ๊งกร๊างหา รศ.ดร.อานัฐ ได้ที่ 0-5387-3490 ต่อ 117 หรือ 08-9956-9830.


http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=129391


Tags : สร้างบ้าน ไส้เดือน เสริมปัจจัย เกษตรอินทรีย์

view