สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

พิพิธภัณฑ์พลัง อึ

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

พิพิธภัณฑ์พลัง “อึ”
ตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผาจากมูลโคนมหรือ “เมอร์ดาคอตตา” ในพิพิธภัณฑ์มูลโคนมของ จิอานันโตนิโอ โลกาเตลลี ซึ่งเขาได้เริ่มแนวคิดรีไซเคิลมูลโคนมในฟาร์มที่มีมากถึงวัน 150 ตัน ให้กลายเป็นพลังงาน ปุ๋ยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน และก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สุดแหวกแนวนี้เมื่อปี 2015 (Miguel MEDINA / AFP)
        ทั้งพิพิธภัณฑ์เต็มไปด้วย “อึ”...แต่ไม่ต้องห่วงว่ากลิ่นจะเหม็นคละคลุ้ง เพราะพิพิธภัณฑ์สุดแหวกแนวในอิตาลีนี้เกิดจากไอเดียของเกษตรกรโคนมที่ต้องการกำจัดมูลวัว ซึ่งในแต่ละวันมีมากถึง 150 ตัน จนได้พลังงานรองรับการใช้งานของคนทั้งหมู่บ้าน และยังได้ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาสำหรับใช้งานตั้งแต่บนตะอาหารไปจนถึงกระเบื้องปูพื้น
       
       “พิพิธภัณฑ์ขี้” (Shit Museum) หรือ “พิพิธภัณฑ์อุจจาระ” (Museum of Poop) ตั้งอยู่ในฟาร์มโคนมที่กาสเตลบอสโก (Castelbosco) ซึ่งห่างจากเมืองมิลานของอิตาลีลงไปทางใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร ที่ฟาร์มดังกล่าวมีโคนมราว 3,500 ตัว และมีมูลโคกองเป็นภูเขามหึมา
       
       มูลโคนมปริมาณมหาศาลนี้เป็นปัญหาให้ จิอานันโตนิโอ โลกาเตลลี (Gianantonio Locatelli) เจ้าของฟาร์มโคนมวัย 61 ปีต้องคิดหาทางออก ซึ่งเขาบอกผู้สื่อข่าวเอเอฟพีว่า แนวคิดในการตั้งพิพิธภัณฑ์ที่ไม่เหมือนใครนี้ เกิดจากความจำเป็นที่ต้องหาทางออกในการจัดการมูลสัตว์ด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อระบบนิเวศ จึงได้หาทางจัดการเปลี่ยนมูลเหล่านั้นให้กลายเป็นของที่มีประโยชน์
       
       โคนม 3,500 ตัวของโลกาเตลลีให้น้ำนมวันละ 55 ตันเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมผลิตชีสแข็งกรานาพาดาโน (Grana Padano) ขณะเดียวกันก็ปล่อยมูลออกมาถึงวันละ 150 ตัน แต่แทนที่จมปลักอยู่กับมูลโคนมกองโต เขาเลือกที่จะหาทางออกได้ด้วยวิธีที่ชาญฉลาด
       
       มูลโคนมปริมาณมหาศาลถูกเก็บไปรวบรวมไว้ในบ่อขนาดใหญ่ที่มีวัสดุคลุม และปล่อยให้แบคทีเรียเปลี่ยนวัสดุอินทรีย์เหล่านั้นให้กลายเป็นมีเทน ซึ่งนำไปเผาไหม้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยแต่ละวันมูลโคนมเหล่านี้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 3 เมกะวัตต์ชั่วโมง ซึ่งเพียงพอสำหรับให้แสงสว่างแก่คนในหมู่บ้าน 3,000-4,000 คน ส่วนน้ำที่ใช้หล่อเย็นเครื่องจักรผลิตไฟฟ้าก็ได้รับความร้อนจนมีอุณหภูมิสูงถึง 100 องศาเซลเซียส และถูกนำไปให้ความอบอุ่นแก่ฟาร์ม คอกโคนมและบ่อหมักมีเทนที่ต้องคุมอุณหภูมิให้คงที่ 40 องศาเซลเซียส
       
       ส่วนกากมูลที่เหลือหลังจากแบคทีเรียแปลงไปเป็นมีเทนแล้วจะถูกนำไปใช้เป็นปุ๋ย ซึ่งโลกาเทลลีบอกว่า วางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตด้วยชื่อแบรนด์ว่า “เมอร์เดม” (Merdame) ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง แต่เขายังมีเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของใช้ประจำวันจากกากมูลโคนมที่เรียกว่า “เมอร์ดาคอตตา” (merdacotta) หรือแปลตรงๆ ว่า “ขี้เผา” ตามความหมายอิตาลี ซึ่งล้อมาจากคำว่า “เทอร์ราคอตตา” (Terracotta) ซึ่งแปลว่า “ดินเผา”
       
       เมอร์ดาคอตตามีส่วนผสมของมูลเหม็นๆ ผสมกับโคลนจากเมืองทัสคัน พร้อมสูตรลับในการปั้นของโลกาเทลลีอีกเล็กน้อย จนกลายเป็นอิฐ กระเบื้องปูพื้นทรงหกเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมมุมฉาก กระถางดอกไม้ จานอาหาร แจกันและผลิตภัณฑ์แบบดินเผาอื่นๆ ซึ่งเขาบอกว่าเมอร์กาคอตตานี้นับเป็นผลิตภัณฑ์แห่งการปฏิวัติ และอยู่ตรงกลางระหว่างผลิตภัณฑ์พลาสติกและผลิตภัณฑ์ดินเผาเทอร์ราคอตตา
       
       หากใครไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็จะได้เห็นตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากมูลโคนมที่ตั้งวางไว้อย่างเฉิดฉาย ซึ่งพิพิธภัณฑ์นั้นก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2005 และมีสัญลักษณ์เป็นรูป “ด้วงขี้ควาย” แมลงปีกแข็ง 6 ขาที่ปั้นมูลสัตว์เป็นก้อนกลมๆ เพื่อใช้เป็นอาหารและเป็นแหล่งขยายพันธุ์
       
       นอกจากผลิตภัณฑ์จากมูลโคนมที่จับต้องได้แล้ว ในพิพิธภัณฑ์ของฟาร์มโคนมนี้ยังสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ โดยใช้มูลโคนมเหลวๆ ระบายเป็นภาพวาดด้วยความร่วมมือออกแบบกับ ลูกา กิเปลเลตตี (Luca Cipelletti) สถาปนิก เพื่อดึงเอาปรัชญาของโลกาเตลลี เกษตรกรผู้จบด้านเกษตรจากแคนาดาและหลงใหลในศิลปะ อีกทั้งยังเคยกระทบไหล่ แอนดี วาร์ฮอล (Andy Warhol) ศิลปะชาวอเมริกันในนิวยอร์ก ก่อนจะกลายเป็นนักสะสมศิลปะเชิงความเชิงแนวคิดมือสมัครเล่น ขณะเดียวกันผลงานเมอร์ดาคอตตาเองยังชนะรางวัลจากการประกวดผลงานออกแบบที่เมืองมิลานเมื่อปีที่ผ่านมา
       
       แม้ว่าฟาร์มโคนมจะได้รับผลกระทบจากราคานมโคที่ตกต่ำลงอย่างมาก แต่โลกาเตลลียังคงอยู่ได้จากการพึ่งพาธุรกิจคู่ขนานที่แหวกแนวไม่เหมือนใคร ซึ่งกรณีนี้เขาบอกได้คำเดียวว่า “ต้องขอบคุณมูลโคนมเท่านั้น” 

พิพิธภัณฑ์พลัง “อึ”
โคนมในฟาร์มของจิอานันโตนิโอ โลกาเตลลี ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของพิพิธภัณฑ์อึ ในฟาร์มที่มีโคนมนับ 3,500 ตัวนี้ผลิตนมสดวันละ 50 ตัน ขณธเดียวกันก็ปล่อยมูลออกมาวันละ 150 ตันด้วย (Miguel MEDINA / AFP)
        

พิพิธภัณฑ์พลัง “อึ”
อิฐเผาจากมูลโคนมหนึ่งในผลิตภัณฑ์เมอร์ดาคอตตาของพิฑิธภัณฑ์มูลโคนมในอิตาลี ด้วยแนวคิดและการบริหารจัดการของ จิอานันโตนิโอ โลกาเตลลี ของเสียเหม็นๆ เปลี่ยนเป็นพลังงาน ปุ๋ยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยังกลายร่างเป็นผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันได้อีกหลากหลาย (Miguel MEDINA / AFP)
        

พิพิธภัณฑ์พลัง “อึ”
โหลบรรจุมูลเพื่อแสดงถึงการแพทย์ในยุคก่อน จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์มูลโคนมของ จิอานันโตนิโอ โลกาเตลลี เกษตรกรผู้ใจรักศิลปะและยังคิดหาวิธีสร้างประโยชน์สูงสุดจากมูลโคนมปริมาณมหาศาล (Miguel MEDINA / AFP)
        

พิพิธภัณฑ์พลัง “อึ”
ภาพแสดงการเรืองแสงของแบคทีเรียในอุจจาระที่บรรจุในโหล และจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์มูลโคนมของ จิอานันโตนิโอ โลกาเตลลี เกษตรกรผู้ใจรักศิลปะและยังคิดหาวิธีสร้างประโยชน์สูงสุดจากมูลโคนมปริมาณมหาศาล (Miguel MEDINA / AFP)
        

พิพิธภัณฑ์พลัง “อึ”
าพการรีไซเคิลมูลโคนมภายในพิพิธภัณฑ์มูลโคนมของ จิอานันโตนิโอ โลกาเตลลี เกษตรกรผู้ใจรักศิลปะและยังคิดหาวิธีสร้างประโยชน์สูงสุดจากมูลโคนมปริมาณมหาศาล (Miguel MEDINA / AFP)
        

พิพิธภัณฑ์พลัง “อึ”
ภาพแสดงเครื่องปั้นดินเผาและกระเบื้องปูพื้นจากมูลโคนมภายในพิพิธภัณฑ์อึ (Miguel MEDINA / AFP)
        

พิพิธภัณฑ์พลัง “อึ”
ภาพผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ได้จากการรีไซเคิลมูลโคนมจากฟาร์มภายในพิพิธภัณฑ์อึ (Miguel MEDINA / AFP)
        

พิพิธภัณฑ์พลัง “อึ”
จิอานันโตนิโอ โลกาเตลลี เกษตรกรผู้ใจรักศิลปะและยังคิดหาวิธีสร้างประโยชน์สูงสุดจากมูลโคนมปริมาณมหาศาล เจ้าของพิพิธภัณฑ์อึสุดแหวกแนว (Miguel MEDINA / AFP)
        

พิพิธภัณฑ์พลัง “อึ”
ภาพการรีไซเคิลมูลโคนมภายในพิพิธภัณฑ์อึ (MIGUEL MEDINA / AFP)
        

พิพิธภัณฑ์พลัง “อึ”
ภาพรางวัลมิลาโนดีไซน์อะวอร์ด 2016 (Milano Design Award 2016) ภายในพิพิธภัณฑ์อึ ซึ่งผลิตภัณฑ์จากมูลโคนมคล้ายเครื่องปั้นดินเผาหรือเมอร์ดาคอตตาได้รับรางวัลผลงานออกแบบจากเมืองมิลานเมื่อปีที่ผ่านมา (Miguel MEDINA / AFP)
        

พิพิธภัณฑ์พลัง “อึ”
ภาพเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์บนโต๊ะอาหารจากมูลโคนมภายในพิพิธภัณฑ์มูลโคนม (Miguel MEDINA / AFP)
        

พิพิธภัณฑ์พลัง “อึ”
นักท่องเที่ยวเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์มูลโคนมของ จิอานันโตนิโอ โลกาเตลลี (Miguel MEDINA / AFP)
        

พิพิธภัณฑ์พลัง “อึ”
าพการรีไซเคิลมูลโคนมภายในพิพิธภัณฑ์มูลโคนมของ จิอานันโตนิโอ โลกาเตลลี เกษตรกรผู้ใจรักศิลปะและยังคิดหาวิธีสร้างประโยชน์สูงสุดจากมูลโคนมปริมาณมหาศาล (Miguel MEDINA / AFP)
        

พิพิธภัณฑ์พลัง “อึ”
ภาพแสดงเครื่องปั้นดินเผาและกระเบื้องปูพื้นจากมูลโคนมภายในพิพิธภัณฑ์อึ (Miguel MEDINA / AFP)

eosgear,ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : พิพิธภัณฑ์พลัง อึ

view