สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เฟซบุ๊กภิวัตน์

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์สามัญสำนึก โดย ชลาทิพย์ ถิรสุนทรากุล

ทุกวันนี้ข่าวทุกสำนักในโลกต่างขับเคลื่อน "ข่าวสาร" ผ่านเฟซบุ๊ก โดย 1-2 ปีมานี้ เฟซบุ๊กให้ความสำคัญกับบรรดา "ผู้ผลิตสื่อ" ทั่วโลก ในการจับมือกันเพื่อส่งข่าว หรือ (Feeds) ฟีดข่าวให้อ่านได้ง่าย ๆ บนเฟซบุ๊กแบบรวดเดียวจบที่เรียกว่า "อินสแตนต์ อาร์ติเคิล" (Instant Article) คือระบบการอ่านข่าวจบว่องไวบนโซเชียล ข้อดีคือไม่ต้องเสียเวลากดลิงก์ข่าว เพื่อมายังหน้าเว็บไซต์

เฟซบุ๊กสร้างแพลตฟอร์มกับผู้ผลิตสื่อทั่วโลกให้ใช้ อินสแตนต์อาร์ติเคิล (แน่นอนว่ามีข้อตกลงทางธุรกิจที่ให้ฝังแบนเนอร์โฆษณาได้) สำนักข่าวชั้นแนวหน้าในโลกหันมาใช้ระบบนี้มากขึ้น

เฟซบุ๊กภิวัตน์ หรือ Facebookisation คำที่ถูกเรียก 1-2 ปีนี้ ที่พูดแทนถึงอารยธรรมใหม่ที่ก่อกำเนิดขึ้นโดยเฟซบุ๊ก เมื่อคนอ่านข่าวผ่าน "ฟีด" ของเฟซบุ๊กแทนการเข้าถึงตรงเว็บไซต์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เป็นพฤติกรรมการเสพข่าวสารที่เปลี่ยนไป ที่น่าสนใจคือ อัลกอริธึ่มที่เฟซบุ๊กเขียนไว้ให้เรา "เห็นอะไร" และ "เห็นอย่างไร" คือ รีโมตสู่สิ่งที่เราจะได้เสพ

ศัพท์เฟซบุ๊กตัวสำคัญคือ "ยอดเข้าถึง" หรือ Reach ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีหารายได้ของเฟซบุ๊กคือ การที่เพจเฟซบุ๊กนั้น ๆ ต้องการให้ผู้อ่านเข้าถึง Reach มากขึ้น ก็แลกมากับการซื้อโฆษณาจากเฟซบุ๊กนั่นเอง

มีบทความเขียนลงบนเว็บไซต์ เดอะ การ์เดี้ยน ชื่อว่า Why Facebook is public enemy number one for newspapers, and journalism? โดยรอย กรีนสเลด โปรเฟสเซอร์ด้านสื่อสารมวลชน และอดีตบรรณาธิการเดลิมิเร่อร์ช่วงต้นทศวรรษ 90 ที่ตั้งคำถามว่าเฟซบุ๊กเป็นตัวบั่นทอนผู้ผลิตสื่อหรือไม่ ? โดยยกหลายกรณีหนึ่งในนั้นคือ เฟซบุ๊กมีอัลกอริธึ่มกำหนดการเห็นมากหรือเห็นน้อยต่อข่าวนั้น ๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ไม่นานนี้กรณีเฟซบุ๊กบล็อกภาพประวัติศาสตร์เด็กหญิงเวียดนามที่ร่างกายเปลือยเปล่าวิ่งหนีระเบิดในช่วงสงครามเวียดนามซึ่งเป็นภาพโด่งดังในอดีตและเมื่อถึงช่วงรำลึกมีการโพสต์ภาพดังกล่าวแต่อัลกอริธึ่มเฟซบุ๊กลบภาพนี้ออกไป

นอกจากนี้ บทความนี้ยังตั้งคำถามว่าเฟซบุ๊กกำลังทำลายคุณค่าของสื่อดั้งเดิมหรือไม่ ไปจนถึงการจบยุคของสื่อสารมวลชนกระแสหลักด้วยหรือเปล่า ?

อย่างไรก็ตาม อย่างที่รู้กันว่า ไม่ว่าแพลตฟอร์มจะเปลี่ยนไปอย่างไร คอนเทนต์หรือเนื้อหาจะเป็นตัวนำ เพียงแต่ที่หลายคนกังวลคือเมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนการใช้เครื่องมือเข้าถึงข่าวสารแล้ว อัลกอริธึ่มของเฟซบุ๊กจะตอบโจทย์และยืดหยุ่นแค่ไหน

ในบทความนี้ลงเอยที่ข้อสงสัยว่า เฟซบุ๊กภิวัตน์ของวงการข่าวผ่านอัลกอริธึ่มควบคุมสิ่งที่เราอ่าน เราได้เห็น และทำลายกระบวนการผู้ผลิตข่าวสาร โดยพูดถึงทางเลือกของการบริหารข่าวบนหน้า "ฟีด" ที่การคัดสรรหรือทำหน้าที่บรรณาธิการข่าวของมนุษย์ถูกแทนที่ด้วยอัลกอริธึ่มแทน ทำให้ตั้งข้อสังเกตว่าการจะตัดสินใจว่าจะให้สิ่งใดปรากฏหรือไม่ปรากฏ จึงไม่ได้มีความเป็นกลางหรือให้ความเป็นธรรมพอ

ในสถานการณ์นี้ "มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก" เคยบอกไว้ไม่กี่เดือนก่อนว่า เฟซบุ๊กยังคงเป็นบริษัทเทคโนโลยี จะไม่กลายเป็นบริษัทสื่อ ยังคงเป็นแพลตฟอร์มด้านเทคโนโลยี แม้ทุกวันนี้ผู้คนจะหาข่าวอ่านบนเฟซบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ก็ตามแต่ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กบอกว่า เฟซบุ๊กไม่มีความพยายามจะกลายเป็นผู้ให้บริการหรือผลิตคอนเทนต์

"เราผลิตเครื่องมือ เราไม่ได้ผลิตเนื้อหาใด" โลกต้องการบริษัทผู้ผลิตข่าว แต่ก็ต้องการแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีเข้าไปประกอบด้วย แบบที่เรา (เฟซบุ๊ก) ทำ" ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กระบุ

ดูเหมือนหนทางข้างหน้าของเฟซบุ๊กจะควบคุมการรับรู้ได้มากหากผู้คนยังชื่นชอบการใช้โซเชียลมีเดียและคนใช้เฟซบุ๊กคนเสพคนอ่านย่อมรู้ดีจากตัวเอง...เพราะFacebookisation กำลังมีบทบาทมากกว่าแค่การอ่านข่าวด้วยซ้ำ !?!


อี.โอ.เอส เกียร์,ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต,#มีดดามัสกัส,#เหล็กดามัสกัส

Tags : เฟซบุ๊กภิวัตน์

view