สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

7 สิ่ง แม่ค้าออนไลน์ต้องรู้ ถอดบทเรียนจากTHLOS #งดฝากร้าน #ขายดี๊ดี

จากประชาชาติธุรกิจ

สินค้าประจำวันอย่างแบรนด์ THLOS แป้งน้ำ แชมพูโลชั่นสมุนไพร ขายผ่านออนไลน์ และหน้าร้าน สินค้าหลัก ๆ ของเธอก็คือ แป้งน้ำยุคใหม่ ที่ยืนหยัดมาได้ถึง 5 ปี สวนกระแสของขาวเด้ง เน้นจับกลุ่มคนที่เน้นสวยเนียน ไม่มีสิวฝ้าแทน มีรายได้หลัก ๆ เดือนละแสนปลาย ๆ ส่วนใหญ่จากการขายผ่านอินเทอร์เน็ต 60% และจากหน้าร้านราว 40% ขณะที่มีทีมทำงานหลักเพียงแค่ 3 คน นอกนั้นเป็นพาร์ตไทม์

อังคณา พรวิศวารักษกูล เจ้าของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า THLOS (The Herbal Lore of Siam) เธอมีความชำนาญเรื่องตลาดออนไลน์มาก่อนที่จะทำธุรกิจนี้ เพราะเคยผ่านงานทางด้านการตลาดออนไลน์จากบริษัทในต่างประเทศมาก่อนที่จะมาสร้างแบรนด์ของตัวเอง

2 ปีที่ผ่านมา จากวิกฤตการเมือง อังคณาบอกกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ยอดขายไม่โต แต่ไม่ตกนะคะ แค่เสมอตัว "ในความหมายของบรรดาแม่ค้าคือ โชคดีมาก...ถ้าเทียบกับคนอื่นที่ขายไม่ได้เลย"

สิ่งที่หลายคนยังไม่รู้เกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ออนไลน์ของ THLOS แป้งน้ำยุคใหม่ เธอมีเคล็ดลับดังนี้

1.THLOS เกิดตอนที่การขายผ่านออนไลน์ยังไม่บูม คนไม่กล้าใช้บัตรเครดิตซื้อของทางออนไลน์ จึงใช้วิธีการดูจากเว็บไซต์ของเธอแล้วโอนเงินผ่านธนาคาร ปัจจุบันมี PAYPAL ด้วย

2.เธอขายผ่านเฟซบุ๊ก ในสมัยที่เฟซบุ๊กแชร์สเตตัสทุกอันให้ "แฟนเพจ" ทุกคนได้เห็น

3.อังคณามีแฟนเพจเฟซบุ๊ก ราว 20,000 คนและในเว็บไซต์ประมาณ 20,000 คน ไม่ใช่ประเภทซื้อไลก์ แค่เป็นแฟนตัวจริงคนที่มีการซื้อสินค้าต่อเนื่อง

4.ปัจจุบันถึงแม้ในเฟซบุ๊กจะมีคนเห็นสเตตัส ที่เธอแชร์แค่ 10 เปอร์เซ็นต์ จากนโยบายของเฟซบุ๊ก แต่เธอพบว่า แม้ไม่มีคนกดไลก์ หรือ หรือแชร์ ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกค้าไม่รู้ไม่เห็น เพราะกลุ่มนี้จะไปซื้อทุกครั้งมีการจัดโปรโมชั่นที่หน้าร้าน "ไกลแค่ไหนก็จะมาซื้อ"

5.THLOS ลงทุนสร้างเอกลักษณ์ของเว็บไซต์ อังคณาเล่าว่า สมัยก่อนเว็บสำเร็จรูปไม่สามารถสร้างเอกลักษณ์ให้สวยงาม และทำให้โหลดรวดเร็วได้ เธอจึงต้องลงทุนหลักแสน ในการสร้างเว็บไซต์ของตัวเอง เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นเว็บไซต์ที่สวยงาม และใช้เวลาโหลดรวดเร็ว

6.ไม่ฝากขายตามเว็บช็อปปิ้งต่าง ๆ เธอมองว่า สำหรับเอสเอ็มอี การไปฝากขายตามเว็บช็อปปิ้งต่าง ๆ ถ้าเจ้าของไม่ทำการตลาดเอง คนจะเข้ามาเจอสินค้าของเธอก็ยาก และเว็บฝากขาย มักมีลิงก์ยาวจนคนจำไม่ได้ แต่ถ้า http://www.thlos.com/ คนจะเข้าใจทันที เธอจึงยืนยันที่จะสร้างฐานลูกค้าจากเว็บไซต์ของเธอเอง และจัดกิจกรรมที่หน้าร้าน เปิดบูทเพื่อดึงคนเข้ามาที่เว็บไซต์และเฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นพื้นที่ของเธอเองและยั่งยืนกว่า

"ร้านที่เราเช่าในห้าง เปลี่ยนแปลงได้ เขาสามารถที่จะยกเลิกสัญญาได้ ดังนั้นเราจึงต้องดึงคนมาในพื้นที่ของเราคือออนไลน์ให้มากที่สุด"

7.ไม่รับตัวแทนจำหน่ายบนออนไลน์ ทำให้มีบัญชีเฉพาะที่หน้าเว็บเท่านั้น ลูกค้าจึงไม่สับสน เพราะลูกค้าจะมาที่เว็บไซต์เธอเว็บเดียว

คนที่เป็นแฟนเพจ คือลูกค้าที่เคยมาซื้อที่หน้าร้านแล้วทั้งนั้น เฉลี่ยจะซื้อประมาณคนละ 1,500 บาท

"แต่ในเว็บไซต์ก็ต้องมีสินค้า ตั้งราคา 140 กว่าบาท-1,000 กว่าบาท คนถึงจะกล้าซื้อ เพราะเขาจะคิดว่า 100 กว่าบาท ไม่เป็นไร จนเขามั่นใจ เขาก็จะกล้าสั่งสินค้า" พร้อมกันนี้เธอยังต้องสร้างระบบในการจัดส่งสินค้าเองด้วย เช่น โทร.แจ้งเป็นระยะว่า สินค้าที่ส่งถึงไหนแล้ว เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจ

THLOS มีสาขาที่ถนนสุขุมวิท ซอย 66 และมีร้านตัวแทนจำหน่ายราว 15 แห่ง ทั้งกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และสงขลา และมี http://www.thlos.com

สิ่งที่สำคัญที่อังคณา แนะนำเพื่อนนักขายออนไลน์ก็คือ การสร้างมนุษยสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกค้าและผู้ขาย

"ลูกค้าไม่จำเป็นต้องซื้อสินค้าของเรา แค่เขามาที่ร้าน มีเวลาที่จะพูดคุยเป็นเพื่อนกัน ทำความรู้จักกันมากขึ้น เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ลูกค้าเชื่อใจ และมั่นใจในการใช้สินค้าของเราด้วย"


ไร่รักษ์ไม้,Eosgear,มูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,victorinox,แปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit,ราคา,อร่อย

Tags : แม่ค้าออนไลน์ ต้องรู้ ถอดบทเรียน THLOS #งดฝากร้าน #ขายดี๊ดี

view