สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จัดระเบียบโซนนิ่ง...เปิดกว้างเกษตรกรร่วมตัดสินใจ

จากประชาชาติธุรกิจ

นโยบายจัดทำเขตเกษตรเศรษฐกิจ หรือโซนนิ่ง (Zoning) ยังไม่ทันเดินหน้า ก็ถูกตั้งข้อสังเกตและมีคำถามตามมาในทำนอง เพราะเหตุใดต้องมี Zoning หรือ Zoning แล้วเกษตรกรจะได้อะไร ถือเป็นหน้าที่

ที่กระทรวงเกษตรฯ หัวเรือใหญ่ที่รับผิดชอบดูแลนโยบาย Zoning ต้องเร่งชี้แจงทำความเข้าใจให้ชัดเจน

ส่วน จะขยายความโยงไปถึงสาเหตุที่เวลานี้พืชผลหลากหลายชนิด อาทิ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ข้าวโพด ฯลฯ กำลังประสบปัญหาราคาตกต่ำ เพื่อหาทางนำบทเรียนความผิดพลาดมาปรับปรุงแก้ไข ป้องกันไม่ให้ผิดพลาดซ้ำรอยในอนาคตได้ก็จะยิ่งดี

ปฏิเสธไม่ได้ว่า Zoning ภาคการเกษตรซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงเริ่มต้น ยังไม่สามารถขับเคลื่อนแผนและมาตรการให้เกษตรกรทั่วประเทศยอมรับ นำไปยึดถือปฏิบัติได้

แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างคาดหวังและตั้ง เป้าหมายสูงจะใช้เป็นเครื่องมือป้องกันแก้ไขพืชผลราคาตกต่ำที่เกิดขึ้นเป็น ประจำทุกปี ทำให้เกษตรกรยากจนซ้ำซาก จำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานรัฐจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์แก้ปัญหาในระยะยาว ยกระดับราคาสินค้าเกษตร ยกระดับรายได้ และคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน

โดยหลักการแม้ผลของการ กำหนดนโยบาย Zoning ส่งเสริมปลูกพืช ปศุสัตว์ ทำประมง โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ คุณภาพดิน แหล่งน้ำ ภูมิอากาศ ฯลฯ จะช่วยให้ผลผลิตมีปริมาณและคุณภาพสูงขึ้น

แต่หน่วยงานรัฐต้องยึด หลักกระตุ้นเร่งเร้าในเชิงบวก ส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรที่อาจจะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ทำประมง ในพื้นที่ที่มีศักยภาพต่ำ ปรับเปลี่ยนไปทำการเกษตรรูปแบบใหม่ ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุน และสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่า แทนที่จะเน้นมาตรการควบคุมหรือมีบทบังคับ กำหนดกฎกติกาจำกัดสิทธิ์จนเกษตรกรไม่มีทางเลือก

ขณะเดียวกันก็ต้อง รับฟังและเปิดกว้างให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจก่อนกำหนดนโยบายนำไป สู่การปฏิบัติ พร้อมส่งเสริมสนับสนุนข้อมูลหลักวิชาการ ทั้งด้านการผลิต การตลาด เทคโนโลยี ตลอดจนปัจจัยการผลิตตามความเหมาะสมจำเป็น เพื่อยกระดับการทำการเกษตรทั้งระบบ ครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ ซึ่งน่าจะช่วยป้องกันแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรราคาตกต่ำได้แบบถาวร ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายเงินงบประมาณในการอุดหนุนแทรกแซงตลาด ทั้งในรูปการรับจำนำ ประกันรายได้ ประกันราคา เหมือนที่รัฐบาลหลายยุคสมัยนิยมใช้จนกลายเป็นสูตรสำเร็จในการแก้ไขปัญหา

ขณะ เดียวกันแทนที่จะรื้อระบบการเกษตรแบบดั้งเดิมอย่างถอนรากถอนโคน ก็ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนรูปแบบ วิธีการ นำทฤษฎี หลักวิชาการมาแนะนำ ค่อย ๆ

ผลัก ดัน Zoning เกษตรให้เป็นที่ยอมรับและเชื่อมั่นให้เกษตรกรตัดสินใจหันมาปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ตามศักยภาพของพื้นที่ เพราะเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

โดยอาศัยกลไกรัฐเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จนถึงระดับนโยบาย และการทำงานในเชิงบูรณาการร่วมกันทุกฝ่าย

หาก ประสานความร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจัง ผลักดัน Zoning ให้เป็นที่ยอมรับและสร้างความเชื่อมั่นให้เกษตรกรทั้งระบบได้ การเกษตรไทยก็จะก้าวข้ามวิธีการแบบดั้งเดิมสู่ยุคใหม่ มีหลักประกันด้านรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : จัดระเบียบโซนนิ่ง เปิดกว้าง เกษตรกร ร่วมตัดสินใจ

view