สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปกป้องทุ่งแสลงหลวงต้านรัฐผุดเขื่อนวังชมพู

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย...ปริญญา ชูเลขา

กระแสคัดค้านโครงการบริหารจัดการน้ำ 3 แสนล้านบาทไม่ใช่เกิดขึ้นเฉพาะพื้นที่ในส่วนกลาง ในระดับพื้นที่โมดูล A1 การสร้างอ่างเก็บน้ำ ซึ่งกิจการร่วมค้าไอทีดี พาวเวอร์ไชน่า ชนะประมูลโครงการ วงเงิน 1,955 ล้านบาท  กำลังถูกชาวบ้านในพื้นที่ต่อต้านอย่างดุเดือด โดยเฉพาะคนวังชมพูที่ไม่เอา “เขื่อน” ที่จะสร้างบริเวณคลองชมภู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก และเป็น 1 ใน 20 กว่าเขื่อนที่ทางคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.)กำหนดจุดให้ เอกชนก่อสร้างโครงการ

สิ่งที่ชาวบ้านวังชุมภู 625 ครัวเรือนขึ้นป้ายคัดค้านเกลื่อนหมู่บ้าน เพราะต้องการรักษาผืนป่าและความหลากหลายทางธรรมชาติที่หลงเหลืออยู่น้อยเต็ม ที บริเวณง่ามเขาระหว่างเขางอกกับเขาสันยา ซึ่งมีทัศนียภาพสวยงามจากความหลากหลายของพรรณไม้ ต้นใหญ่ๆ กำลังจะเหลือแต่ตอเพราะกรมชลประทานต้องโค่นให้เตียนไว้เป็นจุดรับน้ำสาขา ต่างๆ ที่ไหลมาจากอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง หรือ“ทุ่งหญ้าสะวันนาแห่งเมืองไทย” อุทยานแห่งชาติใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ  ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นจุดที่มีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติที่สุดของจังหวัด พิษณุโลก

แต่ความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าที่บ้านวังชมภู กำลังจะหายวับไปกับตาทันทีประมาณ 3,100 ไร่ และยังมีพื้นที่ที่ต้องเวนคืนเพื่ออีกเพื่อทำระบบชลประทาน และปลูกป่าชดเชยอีก 8,000 ไร่ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ทับพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และง่ามเขาดังกล่าวจะกลายเป็นจุดสันเขื่อนดินยาว 1.1 กิโลเมตรแถมทับที่ป่าสงวนแห่งชาติอีกต่างหาก

เหตุผลที่ชาวบ้านเป็นห่วงไม่ใช่เพราะต้องการเล่นเกมโก่งราคาเวนคืนที่ดิน แต่เป็นเพราะคนในชุมชนต้องการรักษาวิถีชุมชนแบบเดิมๆ เอาไว้ตามแนววิถีป่าชุมชน เช่น การเก็บของป่า เห็ดและหน่อไม้เลี้ยงชีพ อย่างเห็ดไข่ เห็ดโคน เห็ดโงน ขนาดเห็ดแต่ละดอกใหญ่สมบูรณ์ใหญ่กว่าผามือคนเสียอีก ชุกชุมมากในช่วงฤดูฝน กิโลกรัมละ 150-200 บาท หากขยันๆ เก็บได้วันละ 5-10 กิโลกรัม หรือประมาณวันละพันบาทสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ

พื้นที่สันเขื่อนตรงง่ามเขาดังกล่าวมีอยู่ครัวเรือนหนึ่งปักหลักอยู่และ ประกาศไม่ยอมย้าย ยายคร เนตรสุนทร วัย 71 ปี เจ้าของที่ดินไร่ข้าวโพด 16 ไร่ตรงบริเวณตีนเขา กล่าวว่า “เงินไม่อยากได้ แต่อยากได้ที่ทำกิน เพราะจะให้ไร่ละ 3 แสนบาทก็ไม่เอาถึงมีเงินก็ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เดี๋ยวก็หมด แต่เราอยากตายอยู่ที่นี่”

แม้เป็นประเด็นเล็กๆ ในสายตาของฝ่ายนโยบายอย่าง กบอ. แต่สำหรับคนในพื้นที่ถือว่าสำคัญมาก เพราะต้องการรักษาวังกะดำซึ่งอยู่กลางป่ากระซาวตามภาษาชาวบ้านที่เรียกขาน แต่ที่น่าสนใจเพราะได้พบเห็นสิ่งมหัศจรรย์ตามธรรมชาติ คือ "จระเข้น้ำจืด" วังจระเข้แห่งนี้เป็นทั้งแหล่งกบดานจากการบุกรุกชั้นดีจากเงื้อมือมนุษย์ ประหนึ่งถ้ำดีๆ นี่เอง เพราะสามารถหลบซ่อนได้ตามท้องลำธารที่เป็นโคดหินก้อนใหญ่น้อยเป็นเกาะแก่ง สวยระรานตา รับน้ำจากทุ่งแสลงหลวงไหลที่ไหลผ่ากลางป่าดิบอันรกทึบมีน้ำตลอดปี

แต่ก็ยังไม่พ้นสายตาเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน ยังตามไปตอแยเข้าไปสำรวจรังวัดต้นไม้ทุกต้นในป่าแห่งนี้ทุกลำต้นติดกิ๊บหมาย ไว้หมดแล้ว รอคำสั่งตัดโค่นเท่านั้นเพราะเป็นการนับถอยหลังไปปลูกทดแทน 8,000 ไร่ ซึ่งถูกผนวกไว้เป็นพื้นที่ที่ให้ชาวบ้านในหมู่บ้านต้องย้ายไปอาศัยอยู่แทน ที่เดิมด้วย  

นายทวีศักดิ์ เผือกอ่อน ชาวบ้านวังชมพู กล่าวว่า การสร้างเขื่อนคลองชมภูกระทบการดำรงชีพระหว่างชาวบ้านกับป่าไม้อย่างมาก เพราะวิถีการเดินป่าหาเห็ดและหน่อไม้ ถือเป็นพืชเศรษฐกิจประจำชุมชุมชน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งอาหารสำคัญของหมู่บ้านและเป็นแหล่งต้นน้ำ มีเกาะแก่งลำธารน้ำโคดหินสวยงามไหลผ่าน ที่สำคัญเป็นแหล่งจระเข้น้ำจืดหายากที่สุด บริเวณแก่งกระซาว ซึ่งหากมีการสร้างเขื่อนจริงบริเวณนี้จะจมกลายเป็นก้นอ่างเก็บน้ำและพื้นที่ ป่าอย่างน้อย 3,000 ไร่ จะกลายเป็นพื้นที่กักน้ำ

นอกจากนี้ พื้นที่ดังกล่าวยังเป็นแหล่งพบศิลาวารี หรือ ดอกไม้หิน ซึ่งเป็นพืชป่าหายากในอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงที่เพิ่งค้นพบได้ไม่นานมา นี้เอง

นายสมหมาย กลิ่นอิ่ม แกนนำชาวบ้านอีกคน กล่าวว่า คนทั้งหมู่บ้านไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้เพราะกระทบต่อวิถีชีวิตอย่างมาก และที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่รัฐโดยเฉพาะกรมชลประทานไม่ได้เข้ามาทำความเข้าใจกับ พี่น้องประชาชนว่าสร้างเขื่อนเพื่ออะไรและประชาชนจะได้รับผลกระทบอย่างไร บ้าง  และภาครัฐเพิ่งจะมาชี้แจงให้ประชาชนทราบว่ามีความจำเป็นที่จะต้องสร้าง เขื่อน และอ้างว่าพื้นที่หรือจุดก่อสร้างเป็นป่าเสื่อมโทรมเพราะต้องการตัดไม้ แต่ในความเป็นจริงพื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าสงวนป่าไม้เบญจพรรณและมีความหลาก หลายทางชีวภาพ

"คุ้มกันไหมที่ภาครัฐจะเอาพื้นที่ป่าไปแลกกับสร้างเขื่อนเก็บน้ำ พื้นที่ป่านับพันๆไร่จะกลายเป็นอ่างน้ำยืนยันว่าพวกเราจะไม่เสียต้นไม้สัก ต้นหรือยอมเสียผืนป่าสักตารางนิ้วเดียวเพื่อไปทำเขื่อนเก็บน้ำ"นายสมชาย กล่าว

นายแวะ สนใจ ชาวบ้านอาวุโสสูงสุดในหมู่บ้าน อายุ 71 ปี กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่จากกรมชลประทานเข้ามาเก็บข้อมูลนานเกือบสิบกว่าปีมา แล้ว แต่ก็หายหน้าไป ต่อมาเมื่อเร็วๆนี้ กลับมาอีก ซึ่งชาวบ้านไม่เข้าใจเหมือนกัน พื้นที่ที่อยู่มานานตั้งแต่บรรพบุรุษรัฐบาลจะสร้างเขื่อน ยืนยันว่าไม่ยอมให้มีการสร้างเขื่อนในที่ป่าแห่งนี้เด็ดขาด พวกเราชาวบ้านทุกคนจะติดตามการสำรวจทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิดว่าสำรวจอะไร จะทำเขื่อนตรงไหน เพราะชาวบ้านไม่ยอมที่ให้ใครมาทำลายป่า เพราะต้นไม้ต้นเดียวเป็นป่าไม่ได้

"วันนี้ชาวบ้านพร้อมใจกันจะต่อสู้แม้จะแก่มากแล้วก็ตาม เพราะอยู่ๆภาครัฐจะมาบังคับให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ที่อยู่กันมานานชั่วอายุ คนได้อย่างไรจะอยู่และตายที่นี่"นายแวะ กล่าว


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : ปกป้อง ทุ่งแสลงหลวง ต้านรัฐ เขื่อนวังชมพู

view