สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ฟลัดเวย์ ตำน้ำพริกละลายน้ำ

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

เหมือนถูกล็อกคอไว้ แล้วถามว่าชาวบ้านจะยอมหรือเปล่าเท่านั้น"

เสียงสะท้อนของ นายจิระ ไพศาล ชาวบ้านต.ท่าล้อ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี หนึ่งในชาวบ้านหลายๆ คนที่เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ต่อโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการน้ำพื้นที่แม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกของกรมชลประทาน ที่จัดขึ้นวันก่อน

จากข้อเสนอของบริษัทที่ปรึกษาจัดทำโครงการ เสนอให้มีการขุดคลองใหม่ 2 แห่งเพื่อตัดยอดน้ำออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาให้ได้ราว 1,000-1,200 ลบ.ม.ต่อวินาที

โดยจุดแรกโครงการคลองระบายน้ำหลากขาณุวรลักษบุรี-ท่าม่วง ซึ่งจะทำทางผันน้ำหลากด้วยการขุดคลองใหม่ เริ่มตัดยอดน้ำจากแม่น้ำปิง ที่อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร มาสิ้นสุดที่บริเวณหน้าเขื่อนแม่กลอง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี รวมความยาวคลอง 289 กม. และจุดที่ 2 ขุดคลองใหม่บางบาล-บางไทร ความยาว 22.4 กม. เพื่อบรรเทาน้ำท่วมจ.พระนครศรีอยุธยา และพื้นที่กทม.

"หากจะช่วยคนกทม.พ้นน้ำท่วม มีความจำเป็นต้องทำทางผันน้ำ ลากยาวอ้อมน้ำ 6 จังหวัด มาทิ้งทะเลในกาญจนบุรี แล้วส่งออกไปทะเลแถวเพชรบุรีเชียวหรือ ในฐานะคนที่อยู่แถวเขื่อนแม่กลอง ไม่เพียงแต่มึนกับแนวเส้นทางที่ลากจากกระดาษไว้ที่ค่อนข้างวกวน แต่ยังมึนกับตัวเลขเงินงบประมาณที่สูงถึง 1.5 แสนล้านบาท"

จิระ ตั้งข้อสังเกต พร้อมบอกว่า เพิ่งจะรู้ตัวว่าบ้านของตัวเองก็อยู่ในแนวจุดปล่อยน้ำ เพราะเห็นจากแผนที่ที่นำมาโชว์ในงานรับฟังความเห็นของกรมชลประทาน เพราะก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมีเจ้าหน้าที่รายใดมาศึกษาในพื้นที่จริง

"ผมเคยมีบ้านตรงจุดสร้างเขื่อนแม่กลอง เคยถูกเวนคืนแล้วย้ายตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ตอนนั้นอายุเพียง 10 ขวบ ยังไม่ทันจะตาย ก็จะโดนเวนคืนที่ดินอีกรอบ เพื่อไปขุดคลองเอาน้ำระบายออกไม่ให้ท่วมคนกรุงเทพ แต่เขามาถามคนกาญจนบุรีหรือเปล่าว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เพราะเท่าที่ฟังทุกอย่างดีหมด เยียวยาดี แต่ทุกครั้งทำไมยังมีกระแสเรียกร้องจากชาวบ้านที่เคยถูกเวนคืนที่ไปทำโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ" เขาตั้งคำถาม

ไม่เพียงแต่ จิร ที่ยังไม่เคลียร์ว่าฟลัดเวย์ของกรมชลประทานว่า จะคุ้มทุนหรือไม่ แต่ชาวบ้านหลายคนยอมรับว่าผลกระทบจากการขุดคลอง อาจจะทำให้มีชาวบ้านอีกหลายพันครอบครัวต้องถูกอพยพจากถิ่นฐานเดิม ขณะที่ความไม่มั่นใจว่าคลองที่ขุดเพื่อรองรับน้ำหลาก เอาเข้าจริงจะมีน้ำหลากลงมาทิ้งทะเล หรือเป็นแค่คลองร้าง

หากแต่ตัวแทนจากบริษัทที่ปรึกษารายหนึ่งกลับตอบฟันธงว่า " ไม่ต้องห่วงว่าคลองขุดแล้วจะไม่มีน้ำ ระบบคลองดินต้องมีน้ำเลี้ยง ยืนยันวาามีน้ำแน่นอนไม่เป็นคลองลม คงไม่ลงไปเลี้ยงควายแน่นอน" เขาชี้แจง

กระนั้นก็ตาม ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน ยอมรับว่า หลังจากรับฟังคนในพื้นที่กาญจนบุรี ซึ่งเป็น 1 ใน 6 จังหวัดที่อยู่ในแนวฟลัดเวย์ตะวันตก ทำให้ต้องมอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษา ลองพิจารณาจุดปล่อยทางออกของน้ำหลากใหม่อีกครั้ง โดยอาจจะไม่ฉีกน้ำออกทางเดียวแบบที่ศึกษาไว้ก่อนหน้านี้ เพราะต้องการให้ลดผลกระทบต่อชุมชนให้น้อยที่สุด เพราะถึงอย่างไรหากจังหวัดตอนบนเห็นด้วยกับกรมชลประทาน แต่คนตอนล่างไม่เอาด้วย ก็คงเดินหน้าต่อไม่ได้เช่นกัน

แม้วันนี้จะมีโอกาสว่าสุดท้ายแล้ว "แนวฟลัดเวย์" ของกรมชลประทาน กับแนวทางของบริษัทเค วอเตอร์ เอกชนสัญชาติเกาหลี ที่ชนะในโมดูลเอ 5 การจัดทำทางผันน้ำหลากและคลองระบายน้ำฝั่งตะวันตก น่าจะถูกนำไปสานต่องาน แต่สิ่งสำคัญคือต้องถามผู้ได้รับผลกระทบอย่างเสมอภาค รวมทั้งศึกษาปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประเมินความคุ้มทุน

ไม่เช่นนั้นเม็ดเงินจากโมดูล เอ5 ที่มูลค่าสูงถึง 1.5 แสนล้านบาท จะถูกทิ้งละลายน้ำ..


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : ฟลัดเวย์ ตำน้ำพริกละลายน้ำ

view