สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สมศักดิ์ วงศ์วัฒนศานต์ สาวไส้เม็ดเงินโครงการจำนำข้าว

จากประชาชาติธุรกิจ

การ เปิดฉากแถลงตัวเลขการกุมสต๊อกข้าวและเม็ดเงินที่ใช้ในการบริหารจัดการข้าว ขององค์การคลังสินค้า (อคส.) อย่างเร่งด่วนของ นายสมศักดิ์ วงศ์วัฒนศานต์ รองผู้อำนวยการ อคส. เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2556 ได้ทำให้หลายคนตะลึง การแสดง "ความกล้า" หยิบตัวเลขสำคัญมาตีแผ่ ทั้งที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ยังไม่ "กล้า" มี "นัย" สำคัญของการส่งสัญญาณอะไร ?

โดยเฉพาะที่ อสค.ไปเช่าคลัง "หจก.โรงสีโชควรลักษณ์" ซึ่งมีสัมพันธ์กับบริษัทสยามอินดิก้า ในเครือข่ายบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริ ผู้เคยชนะประมูลข้าวอันอื้อฉาว "ประชาชาติธุรกิจ" ขอนำถ้อยแถลงอันร้อนระอุมาถ่ายทอดแบบคำต่อคำ

- การเช่าไซโลโชควรลักษณ์


"หจก.โรง สีโชควรลักษณ์รุ่งเรืองกิจ" ชื่อจริง "KTB ไซโล" ตั้งอยู่เลขที่ 25/3 ม.3 ต.หอไกร อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร นายเอนก ฉัตรไชยศิริ ไปเช่าช่วงมาจากธนาคารกรุงไทย สำนักงานขตนครสวรรค์ โดยนายวีระศักดิ์ มั่นเกษตรกิจ ผู้จัดการภาค/เขต ค่าเช่า 4.8 ล้านบาทต่อเดือน สัญญา 1 ปี ตั้งแต่ พ.ค. 55 หลังจากนั้น หจก.

โรงสีโชควรลักษณ์ฯ ได้เข้ามาสมัครรับฝากเก็บข้าวให้ อคส.ตามประกาศวันที่ 20 เม.ย. 55 เพื่อเก็บข้าวสารจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2555 ยื่นสมัครเช่นเดียวกันกับเจ้าของไซโลอื่นผ่านแต่ละจังหวัด ไม่ใช่การประมูล แต่ข้อกำหนดการแทรกแซงราคาข้าว ปี 2546 ข้อ 7 กำหนดว่า ผู้เข้าร่วมโครงการไม่ใช่เจ้าของคลังสินค้าต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะ กรรมการ อคส. ได้เสนอบอร์ดครั้งที่ 4/2555 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2555 เมื่ออนุมัติแล้วได้ทำสัญญาเลขที่ 1/2555 ลงวันที่ 15 พ.ค. 2555 ระหว่าง อคส.กับ หจก.โชควรลักษณ์ฯ ความจุถังละ 12,000 ตัน จำนวน 24 ถัง รวม 288,000 ตัน ถึงขณะนี้รับฝากตั้งแต่ 18 พ.ค. 2555 ถึงปัจจุบัน รวม 275,721 ตัน ได้รับค่าเช่าตันละ 20 บาทต่อเดือน และรับฝากต่อเนื่องตั้งแต่นาปรัง 2555 และนาปี 2555/56

ประเด็นเรื่องความสนิทสนม ทาง อคส.ไม่ทราบ และยืนยันว่า ประกาศตามข้อบังคับปกติ และอัตราผลตอบแทนเท่ากับโกดังกลางทุกรายที่เข้าโครงการ และในสัญญาการเช่าไซโล/คลังกลางจะไม่ค้ำระกัน เหมือนกับกรณีสัญญาฝากเก็บในโรงสี ต้องดูแลรับผิดชอบทั้งปริมาณและคุณภาพข้าวเปลือกไปจนถึงข้าวสารจนกว่าส่งมอบ เข้าคลังกลาง แต่เสียค่าอากรแสตมป์ในอัตรา 0.05% ของมูลค่าข้าว

ยอมรับว่า กรณีการเช่าช่วงมีเพียงของโรงสีโชควรลักษณ์ฯ เพียงรายเดียว เจ้าของไซโลเอกชนมีหลายราย เช่น นาปรัง 2555 มีการเช่าของบริษัท แคปปิตอล ซีเรียลส์ ในกลุ่มผู้ส่งออกข้าว มีความจุ 20,000 ตัน และสุพรรณบุรี อะกริ คัลเจอร์ โปรเซสซิ่งอีก 15,000 ตัน ไซโลปูนของบริษัท เอเชียโกลเด้นท์ไรซ์ อีก 18 ถัง ความจุรวม 80,000 ตัน เป็นต้น สำหรับไซโล นาปรัง ปี 2555 เราเก็บข้าวไปแล้ว 474,000 ตันเศษ ส่วนนาปี 255/2556 มีเพิ่มขึ้นอีกหลายราย นอกจากเคทีบีไซโล มีของเจริญวัฒนา จ.นครปฐม และอุบลธัญญาชาติ จ.อุบลราชธานี รวมประมาณความจุ 1,100,000 ตันเศษ เก็บไปแล้ว 800,000 ตัน

- โชควรลักษณ์-ทรัพย์ยืนยง


อนุกรรม การระบายพิจารณาส่งเรื่องมาให้ อคส.ทำสัญญาราคา 5,700 บาท ทางโรงสีแห่งนี้มีคดีกับ อคส.เรื่องยักยอกข้าว มีการแจ้งความดำเนินคดีไป เวลาจะไปรับมอบข้าวต้องไปว่ากันเอง ระหว่างโชค

วรลักษณ์กับทรัพย์ ยืนยง ว่าจะจ่ายกันอย่างไร แต่เราดำเนินการตามที่คณะอนุกรรมการระบายข้าวอนุมัติในหลักการแล้วส่งมาให้ อคส. ยอดที่ชำระทรัพย์ยืนยง ประมูลข้าวปี 2549/25550 คือ 1,571 ตัน ปรากฏว่าโชควรลักษณ์ชำระเงินให้เรางวดแรก 800 ตัน ปรากฏว่าในงวดที่ 2 ไม่มีของ อีก 771 ตัน ทาง อคส.ต้องไปเอาค่าชดเชยส่วนที่หายไปจากทรัพย์ยืนยงที่ยักยอกเราไป ทางทรัพย์ยืนยงชำระมาในราคา 5,700 บาท เช่นเดียวกัน โอนเงินมาแล้วให้กับ ธ.ก.ส.

- ปริมาณการเก็บของ อคส.

นาปรัง 2555 มีโกดังไม่เพียงพอ ต้องเปิดรับไซโลมียอดการรับฝากข้าวสาร นาปรัง 2555 รอบที่ 1 ปริมาณ 5,235,000 ตัน และรอบที่ 2 อีก 2,155,000 ตัน รวม 7,380,000 ตันเศษ โดยแยกเก็บอยู่ที่โกดังกลางประมาณ 6 ล้านตัน และเก็บไซโลอีก 520,000 ตัน

ส่วนนาปี 2555/2556 รอบที่ 1 มีข้าวสาร 7,097,000 ตัน และครั้งที่ 2 สิ้นสุด 30 ก.ย. 56 น่าจะมีข้าวสารอีก 800,000 ตัน จากข้าวเปลือกที่คาดว่าจะได้ในส่วนของ อคส.อีก 5.5 ล้านตัน จากเป้าหมายการรับจำนำครั้งที่ 2 ที่วางไว้ 7 ล้านตัน

โดยคลังมี ทั้งหมด 456 หลัง โดยเป็นไซโล 83 แห่ง นาปรัง 2555 ส่วนนาปี 2555/2556 มีโกดังกลางสมัคร 437 หลัง ความจุที่เก็บข้าวไปแล้ว 6.3 ล้านตัน และไซโล 3 แสนตันเศษ ในช่วงตั้งแต่ มิ.ย.-ก.ย.ประมาณ 3 เดือนข้างหน้าน่าจะใส่ได้อีก 3 แสนตัน ถามว่า โกดังกลางยังพออยู่หรือไม่ ตอบได้เลยว่าเรายังขาดอยู่ 1 ล้านตันข้าวสาร ใช้อีก 50 หลังจึงจะพอ ประมาณหลังละ 20,000 ตัน มีการประกาศรับสมัครแล้ว ในเขตภาคกลางทั้งอุทัยธานี นครสวรรค์ ชัยนาท สร้างเพิ่มอยู่ คงจะเพียงพอถึง 30 ก.ย.ที่จะสิ้นสุดโครงการ

- ข้าวที่ อคส.รับผิดชอบปัจจุบัน

นาปี 2554/55 นาปรัง 2555 และนาปี 2555/56 รวม 3 โครงการ แยกเป็นโครงการนาปี 2554/2555 ปริมาณ 2.3 ล้านตัน นาปรัง ปี 2555 อีก 7.2 ล้านตัน และนาปี ปี 2555/56 ปริมาณ 8 ล้านตัน รวมทั้งหมด 17-18 ล้านตัน ซึ่งเป็นข้าวต้น (ข้าวสาร) และปลายข้าวสัดส่วนครึ่ง

ต่อครึ่ง อย่างละ 7.5-8 ล้านตัน ยังไม่ปรากฏว่ามีข้าวขาดหาย แต่มีค้างส่งมอบรอบแรก 800,000 ตัน กำลังเร่งรัด และเรียกเก็บค่าปรับ 0.1% ของราคาข้าวต่อตันต่อวัน หรือตันละ 222 บาทต่อวัน ส่วนหอมมะลิเกือบหมดแล้ว ปริมาณนี้ไม่รวมขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) โดยปกติจะมีประมาณ 30% และของ อคส.อีก 70% ผมว่าในส่วนบัฟเฟอร์สต๊อกของรัฐบาลน่าจะไม่เกิน 7-8 ล้านตันต้องเผื่อฉุกเฉิน

- สต๊อกที่มีอยู่มีภาระผูกพัน


กรมการ ค้าต่างประเทศจะเป็นผู้ดำเนินการระบายแล้วบางส่วน ในส่วนนี้มีภาระผูกพันแล้วประมาณ 2 ล้านตัน นำมาทำข้าวสารบรรจุถุงถูกใจ 900,000 ตัน หรือประมาณเดือนละ 300,000 ตัน ตั้งแต่ ม.ค.-มี.ค. 3 เดือน และการจำหน่ายให้หน่วยงานภาครัฐบาล เช่น ราชทัณฑ์ กรมพินิจอีกประมาณ 200,000 ตัน เป็นข้าวขาว 5% ราคามิตรภาพ ราว ๆ ตันละ 10,000 บาท เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ต้องหา และนำไปจ่ายให้กับผู้รับปรับปรุงข้าวอีก 500,000 ตัน จากที่รับปรับปรุงไปทั้งหมด 1.8 ล้านตัน ในจำนวนนี้ไม่รวมข้าวที่กรมการค้าต่างประเทศนำไปขายเป็นจีทูจี 15 ล้านตัน มีจีทูจีอยู่ด้วย

- จ่ายข้าวจีทูจีให้ใคร ปริมาณเท่าไหร่


ปกติ อนุกรรมการพิจารณาระบายสั่งให้ อคส.ส่งมอบให้ผู้แทนต่างประเทศที่มารับมอบจะมีการออกใบสั่งปล่อยข้าวให้กับ ผู้ที่มารับมอบ มีเป็นระยะ ขณะเดียวกันพอระบายไปก็กลับมาสมัครใหม่ ส่วนเงินที่ได้ทาง อคส.ต้องแจ้งให้กรมการค้าต่างประเทศชำระหนี้ เราแจ้งเรียกเก็บ และต้องนำเงินที่ได้มาคืน ธ.ก.ส.ภายใน 3 วัน

- 3 โครงการออกใบขน-คืนเงินเท่าไหร่

ตัว เลขนี้จำไม่ได้ ไม่มีข้อมูล ปริมาณมาก ได้เงินเป็นแสนล้านบาท ส่วนของยังมีทั้งของโครงการเก่า ๆ ปี 2544-2550 มีอยู่ 12 ล้านตัน จากรัฐบาลเก่า พอท่านไตรรงค์ระบาย 4-5 ล้านตัน เหลือ 4-5 ล้านตัน ตอนนี้เหลือข้าวก่อนปี 2554 อีก 1 ล้านกว่าตัน ส่วน 3 โครงการในรัฐบาลนี้เหลือ 15 ล้านตัน เพราะจำนำทุกเมล็ด ต้องยอมรับว่า การขายเป็นเรื่องลับว่าไปขายเท่าไหร่ เราไม่ทราบจนกว่าเขาจะแจ้งเป็นหนังสือมาให้เราทราบ ถ้าไม่มีหนังสือแจ้ง อคส.ต้องเก็บข้าวไว้จนกว่าจะมีใบแจ้งมา ถึงจะออกใบส่งข้าว ในระหว่างนี้ภาระการเก็บรักษาเป็นของโครงการฯ แต่ถ้ามีการแจ้งว่า จะซื้อแล้วไม่ไปรับ ทางกรมจะต้องเรียกเก็บค่าใช้จ่ายผู้ซื้อ ส่วนใหญ่กรมจะไม่ค้าง อคส.นะ เพราะถ้าล่าช้า อคส.จะโดนปรับ ขึ้นอยู่กับว่ากรมจะรับชำระเมื่อไหร่

- ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสต๊อก


อคส.จ่าย ค่าเช่าไปแล้วของนาปรังปี 2555 ประมาณ 1,400 ล้านบาท และนาปี ปี 2555/56 จ่ายไปแล้ว 400 ล้านบาทเศษ แต่ยังไม่หมดจึงต้องเสนอขอผูกพันงบฯไปยังสำนักงานงบประมาณ

อีก 2,000 กว่าล้านบาท เพราะคาดว่ารัฐบาลจะใช้เวลาระบายหมดภายใน 1 ปี งบฯนี้แยกเป็นค่าเช่า 20 บาทต่อตันต่อเดือน ค่าจ้างผู้ตรวจสอบคุณภาพข้าว 16 บาทต่อตันจ่ายครั้งเดียว ค่าจ้างรมยา 6 บาทต่อเดือนต่อตัน ค่ากรรมกรแบกขน ตันละ 30 บาทครั้งเดียว และค่าเบี้ยประกันภัยน้ำท่วม 100% ซึ่งมีค่าเบี้ยแพงขึ้นหลังจากเกิดน้ำท่วม สูงมาก 10% ของราคาข้าวสาร โดยเฉลี่ยก็ประมาณ 100 บาทต่อตันต่อเดือน ยกเว้นบางอย่างที่จ่ายครั้งเดียว

ถ้า เทียบจากสต๊อก 15 ล้านตันที่เหลืออาจจะประมาณการได้ราว 1,400-1,500 ล้านบาท เราทำเผื่อไว้ทั้งปี แต่ปกติมันจะมีการระบายออก บางครั้งอาจจะไม่นานถึง 1 ปีก็ได้ ตามแผนที่กรมการค้าต่างประเทศรายงานต่อที่ประชุมจะมีการระบายออกเฉลี่ยไตร มาสละ 7-8 แสนตัน ที่รายงานคณะรัฐมนตรีอาจจะมากกว่านั้นก็ได้

ผมไม่ทราบในรายละเอียด เพราะหากไม่ระบายจะเกิดปัญหาเรื่องชอร์ตเงิน


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : สมศักดิ์ วงศ์วัฒนศานต์ สาวไส้ เม็ดเงิน โครงการจำนำข้าว

view