สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เกษตรแนวใหม่

จากประชาชาติธุรกิจ

โดย พิเชษฐ์ ณ นคร

คอลัมน์ สามัญสำนึก

แม้ คนในรัฐบาลจะประสานเสียงตอบโต้ทันควัน หลังมูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส บริษัทจัดอันดับเรตติ้งชั้นนำ ออกมาระบุตัวเลขขาดทุนโครงการรับจำนำข้าวของไทยว่าอาจสูงถึง 2.6 แสนล้านบาท

ขณะที่นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์เร่งทำข้อมูลชี้แจง เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน ลดกระแสกดดันไม่ให้เผือกร้อนโครงการรับจำนำข้าวที่กำลังโถมใส่ถูกนำไปขยาย เป็นประเด็นร้อนแรงทางการเมือง แต่เบื้องลึกแม้แต่นายกฯยิ่งลักษณ์ก็ตระหนักดีว่า นโยบายประชานิยมรับจำนำข้าวทำให้รัฐบาลตกที่นั่งลำบาก เพราะหลักเกณฑ์เงื่อนไขของโครงการที่ประกาศรับจำนำข้าวทุกเม็ด ไม่จำกัดจำนวน ทำให้ต้องใช้วงเงินงบประมาณดำเนินการค่อนข้างสูง

ขณะ เดียวกันแม้จะมีการปรับรื้อเกณฑ์รับจำนำบางข้อ อาทิ ตรวจเข้มเกษตรกรที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากที่ประมาณการไว้เกินกว่า 20% ตรวจเข้มเกษตรกรที่นำข้าวมาเข้าโครงการเกินกว่า 5 แสนบาท/ราย/ครั้ง ฯลฯ ก็คงไม่ส่งผลให้ปริมาณข้าวที่เข้าสู่โครงการรับจำนำลดน้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากเกษตรกรพากันแห่ปลูกข้าวเพิ่ม เพราะคาดหวังเรื่องรายได้จากโครงการนี้ มีแนวโน้มชัดเจนว่าโครงการรับจำนำข้าวจำเป็นต้องใช้งบฯดำเนินการเพิ่มสูง ขึ้นทุกปี กลายเป็นภาระหนักทางด้านการเงินการคลังของประเทศ ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินนโยบายรัดกุมมากยิ่งขึ้น พร้อมกับหามาตรการเพิ่มทางเลือกเพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ทดแทนการคาดหวังรายได้จากโครงการรับจำนำ

ยุทธศาสตร์หลักที่รัฐบาล เลือกนำมาใช้ คือ การปรับโครงสร้างภาคการเกษตร เพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวโดยเฉพาะในภาคกลาง และการจัดทำฐานข้อมูลการเกษตรรายแปลง เป้าหมายเพื่อบริหารจัดการการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรให้มีประสิทธิภาพมาก ขึ้น ถือเป็นการพัฒนาการเกษตรแนวใหม่ หากสามารถดำเนินการประสบความสำเร็จ นอกจากจะช่วยลดงบฯโครงการรับจำนำข้าวไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นมากในอนาคตแล้ว ยังช่วยให้เกษตรกรที่หันไปประกอบอาชีพเกษตรอื่นนอกเหนือจากทำนาข้าวมีรายได้ จากแหล่งอื่นทดแทนการปลูกข้าว

โดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการ ฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ได้อนุมัติงบฯ 3,000 ล้านบาท จากงบฯเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ รวมทั้งสิ้น 350,000 ล้านบาท ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม ฯลฯ

แบ่ง เป็น 1.การปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวในภาคกลาง งบฯดำเนินการ 1,000 ล้านบาท โดยจัดทำโซนนิ่งภาคเกษตรในพื้นที่ลุ่มภาคกลางตอนล่าง เพื่อปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ไม่เหมาะสมจะปลูกข้าว เป็นสินค้าเกษตรอื่นที่มีมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้ให้เกษตรกรสูงกว่า ซึ่งจากการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) พบว่า กิจกรรมทางการเกษตรทางเลือกอื่นที่เหมาะสม ได้แก่ การทำประมง เช่น การส่งเสริมให้เพาะเลี้ยงปลาหมอ ปลานิล และปลาสลิด ทำปศุสัตว์ โดยเลี้ยงและพัฒนาสายพันธุ์โคขุน การปลูกหญ้าเนเปียร์ เพื่อผลิตพลังงานทดแทนและเลี้ยงสัตว์ การส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ร่องสวนหรือนาร้าง และการส่งเสริมปลูกมะพร้าวตัดยอด เป็นพืชยืนต้นและผลิตก๊าซชีวมวล

2.การ จัดทำฐานข้อมูลการเกษตรรายแปลง โดยใช้เทคโนโลยีภูมิศาสตร์ งบฯดำเนินการ 2,000 ล้านบาท สำหรับนำไปใช้ในการวางแผนบริหารจัดการด้านการผลิตและการตลาดในอนาคต

ถ้า หากการพัฒนาการเกษตรแนวใหม่ที่หลายหน่วยงานอยู่ระหว่างศึกษา เพื่อหาโมเดลการดำเนินการที่เหมาะสมบรรลุผลตามที่วางไว้ นอกจากจะช่วยลดแรงกดดันทั้งด้านทางการเมืองและเศรษฐกิจ ส่งผลให้ภาระหนี้และภาระด้านการเงินการคลังจากโครงการรับจำนำข้าวลดน้อยลง แล้ว ยังตอบสนองนโยบายให้ทางเลือกและสร้างรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : เกษตรแนวใหม่

view