จากประชาชาติธุรกิจ
ผลพวงจากปัญหาราคาพืชเกษตรตกต่ำโดยเฉพาะยางพารา ทำให้เศรษฐกิจภาคใต้หลายจังหวัดชะลอตัว หนึ่งในนั้นคือจังหวัดตรัง หัวเมืองท่องเที่ยวฝั่งอันดามันที่สำคัญของประเทศไทย
"อาวุธ วงศ์สวัสดิ์" พาณิชย์จังหวัดตรัง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เศรษฐกิจตรังในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2556 มีการชะลอตัวลง จากสาเหตุหลักเรื่องยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดปรับราคาลดลง เหลือ 70-80 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ลดลงและใช้จ่ายอย่างประหยัด ซึ่งกระทบกับเศรษฐกิจจังหวัดโดยรวมอย่างเห็นได้ชัด
ล่าสุดราคา ยางพาราในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาได้ปรับตัวลดลงอีกจากเดือนมิถุนายน โดยราคายางแผ่นดิบชั้น 3 จากราคากิโลกรัมละ 77.43 บาท ลดลงเหลือกิโลกรัมละ 72.17 บาท ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 จากกิโลกรัมละ 81.99 บาท
ลดลงเหลือ 75.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.79 และ 8.53 ตามลำดับ ส่วนน้ำยางสดจากกิโลกรัมละ 68.46 บาท ลดลงเหลือ 65.62 บาท และเศษยางราคากิโลกรัมละ 26.25 บาท ลดลงเป็น 22.50 บาท
นอกจาก ยางพาราแล้ว ในส่วนของปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกประเภทหนึ่งก็มีราคาตก ต่ำลงเช่นเดียวกัน จากกิโลกรัมละ 5-6 บาทในปี 2555 ลดลงเหลือ 3-4 บาทในปี 2556 ซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันเป็นอย่างมาก
พร้อม กันนี้ ราคาผลปาล์มทะลายเฉลี่ยในช่วง 7 เดือนของปี 2556 อยู่ที่กิโลกรัมละ 3.49 บาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 5.54 บาท ลดลงร้อยละ 37.00 ขณะที่ราคาน้ำมันปาล์มดิบลดลงจากกิโลกรัมละ 22.33 บาท เป็น 32.16 บาท ลดลงร้อยละ 30.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ล่าสุดราคาปาล์มทะลายใน เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาได้ปรับตัวลดลงจากเดือนมิถุนายน จากกิโลกรัมละ 3.89 บาท เป็น 3.38 บาท ลดลงร้อยละ 13.11 เช่นเดียวกับราคาน้ำมันปาล์มดิบ (เกรด A)
ปรับตัวลดลงจากกิโลกรัมละ 24.09 บาท เป็น 21.80 บาท ลดลงร้อยละ 9.51 อย่างไรก็ตามในด้านสถานการณ์การท่องเที่ยวถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี เพราะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
สำหรับภาวะ การลงทุนในจังหวัดตรัง "อาวุธ" เผยว่า ในช่วงมกราคม-กรกฎาคม 2556 มีการขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท 55 ราย เงินลงทุน 133.20 ล้านบาท ซึ่งจำนวนรายและเงินทุนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 103.70 และ 177.50 และมีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด 53 ราย เงินลงทุน 48.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นร้อยละ 29.27 และ 2.89 ตามลำดับ
ทั้งนี้ ธุรกิจที่มีการจดทะเบียน ได้แก่ รับเหมาก่อสร้าง จำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า แปรรูปไม้ยางพารา จำหน่ายหนังสือแบบเรียน ธุรกิจโรงแรม สถานพยาบาล ขนส่งขนถ่ายสินค้า จำหน่ายยางพารา และจำหน่ายเคมีภัณฑ์
ในด้านภาวะ การส่งออกและนำเข้าสินค้าผ่านด่านศุลกากรกันตัง ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา พบว่ามีมูลค่ารวม 15,394.725 ล้านบาท ลดลง 2,260.665 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่ารวม 17,655.390 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 12.804 แยกเป็นมูลค่าสินค้าส่งออกทั้งสิ้น 14,648.756 ล้านบาท ลดลง 2,132.544 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.708 เมื่อเทียบกับมูลค่า 16,781.300 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา ปูนซีเมนต์ ไม้ยางพาราแปรรูป ยางผสมเสร็จ แร่ยิปซัม และแร่โซเดียมเฟลด์สปาร์
ส่วนสินค้านำเข้ามีมูลค่าทั้งสิ้น 745.969 ล้านบาท ลดลง 378.041 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 1,124.010 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 33.633 สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ถ่านหิน ปุ๋ยเคมีเชิงผสม ปุ๋ยเคมีประเภทอาหารเสริม มะพร้าวผล ฉลากปิดอาหาร อาหารเสริม เศษไม้ ฯลฯ
ในส่วนการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักยานยนต์ ใหม่ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดตรัง (มกราคม-กรกฎาคม 2556) พบว่า มีการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จำนวน 3,887 คัน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 16 คัน รถจักรยานยนต์ 1,103 คัน รถแทรกเตอร์ 54 คัน รถจักรยานยนต์สาธารณะ 1 คัน ส่วนรถจดทะเบียนใหม่ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก จำนวน 303 คัน
ทั้งหมดนี้คือดัชนีชี้วัดการชะลอตัวของเศรษฐกิจตรัง อย่างเห็นได้ชัด กระนั้นก็ตาม คาดการณ์ว่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวขึ้น จากการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ทำให้เกษตรกรมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ประกอบกับการจับจ่ายของนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัด ตรังในช่วงไฮซีซั่นนี้ ทว่ายังมีปัจจัยเสี่ยงด้านการเมืองภายในประเทศและภัยธรรมชาติ ที่จะเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจไม่ให้ขยายตัวได้ตามที่ควรจะเป็น
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต