สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์คาดปีนี้กำไร5.5หมื่นล.

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

กรมตรวจบัญชีฯ ประเมินสหกรณ์ทั่งประเทศ ปี"55 ทำกำไรสุทธิ 5.5 หมื่นล้านบาท มูลค่าขยายตัวเพิ่มขึ้น 16.90 % มูลค่า 2.2 ล้านล้านบาท

นายวิจักร อากัปกริยา อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เปิดเผยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจสหกรณ์ไทยในปี 2555 จำนวน 10,631 แห่ง แยกเป็นกลุ่มสหกรณ์ในภาคการเกษตร 3,684 แห่ง กลุ่มนอกภาคการเกษตร 2,854 แห่ง และกลุ่มเกษตรกร 4,093 แห่ง จำนวนสมาชิกรวม 11.5 ล้าน คิดเป็น 17.9 ของประชากรทั้งประเทศ มีทุนการดำเนินงาน 1.8 ล้าล้าน บาท มูลค่าธุรกิจรวม 1.9 ล้านล้านบาท คิดเป็น 16.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หรือจีดีพี สหกรณ์ทั้งหมดมีรายได้ในปีที่ผ่านมา รวม 3.2 แสนล้านบาท ในขณะที่มีค่าใช้จ่ายรวม 2.7 แสนล้านบาท 2.7 แสนล้านบาท เหลือกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 5.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งการควบคุมภายในส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี-ดีมาก คาดว่าธุรกิจภาคสหกรณ์ไทยในปี 2556จะยังเดินหน้าต่อไปด้วยดีอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าทางธุรกิจจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 16.90 % มูลค่า 2.2 ล้านล้านบาท

ด้านประสิทธิภาพในการบริหารทางการเงินของสหกรณ์พบว่า มีสหกรณ์ที่อัตราค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อกำไรสูงกว่ามาตรฐานจำนวน 65.29% ต่ำมาตรฐาน 23.81 % และเป็นไปตามาตรฐาน 10.90 % มีอัตราลูกหนี้ชำระได้ตามกำหนดสูงกว่ามาตรฐาน 43.27 % ต่ำกว่ามาตรฐาน 34.23 % และเป็นไปตามาตรฐาน 22.50 % ส่วนอัตราทุนสำรองต่อสินทรัพย์ส่วนใหญ่มีอัตราต่ำกว่ามาตรฐาน 59.58 % สูงกว่ามาตรฐาน 23.66 % และเป็นไปมาตรฐาน 16.76 % ส่งผลให้สหกรณืไทยต้องเฝ้าระวังทางการเงินเป็นพิเศษเร่งด่วน 6.06 %

นายวิจักร กล่าวว่าภาวะเศรษฐกิจเชิงมิติทางการเงินของภาคสหกรณ์ไทยในปี 2555 โดยพิจารณามิติทางการเงิน รวมถึงผลกระทบของธุรกิจจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป พบว่าโดยส่วนใหญ่ภาคสหกรณ์มีความสามารถในการบริหารจัดการได้ดีพอสมควร จะเห็นได้จาก ความพอเพียงของเงินทุนต่อความเสี่ยง ที่จากเงินทุนดำเนินงานของสหกรณ์รวม 1.8 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.9 % เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นทุนของสหกรณ์ เอง 8.1 แสนล้านบาท และจากการกู้ยืม 3.7 แสนล้านบาท คุณภาพของสินทรัพย์ จากสินทรัพย์รวมของสหกรณ์ทั้งสิ้น 1.8 ล้านล้านบาท ประกอบด้วยลูกหนี้สินเชื่อมากที่สุด จำนวน 1.4 ล้านล้านบาท หรือ 77.7% ของสินทรัพย์ ในจำนวนนี้ประกอบด้วยมูลหนี้ที่ไม่สามารถชำระได้ตามกำหนด จำนวน 2.9 หมื่นล้านบาท เงินสดที่ฝากในธนาคารหรือสหกรณ์อื่นอีก 1.3 แสนล้านบาท

ความสามารถในการบริหารจัดการ ของภาคสหกรณ์ พบว่าสามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจรวม 1.9 ล้านล้านบาท เฉลี่ย 1.6 แสนล้านบาทต่อเดือน มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความสามารถทำกำไรของสหกรณ์ที่มีกำไรสุทธิ5.5 หมื่นล้านบาท พบว่าภาคสหกรณ์ส่วนใหญ่ 37.46 % อยู่ในระดับมั่นคงตามมาตรฐาน ระดับมั่นคงดี 19.09 % และต่ำกว่ามาตรฐาน 25.82 % ด้านสภาพคล่องทางการเงิน เมื่อพิจารณาจากอัตราส่วนระหว่างหนี้สินหมุนเวียนต่อสินทรัพย์หมุนเวียน ซึ่งมี1.8 เท่า แสดงว่าหนี้สินหมุนเวียนส่วนใหญ่เป็นเงินรับฝากของสมาชิก หรือ 58.3 %

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจากสัดส่วนของลูกหนี้ที่สามารถชำระได้ตามกำหนดพบว่ามีถึง 82.5 % ของมูลหนี้ที่ถึงกำหนดชำระทั้งหมด แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้หนี้สินหมุนเวียนจะมากกว่าสินทรัพย์แต่ส่วนใหญ่เป็นเงินรับฝากจากสมาชิก ซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่สมาชิกทุกคนจะถอนเงินฝากออกไปในครั้งเดียวพร้อมกันจำนวนมาก ประกอบกับสัดส่วนของจำนวนลูกหนี้ที่สามารถชำระได้ตามกำหนดมีมากกว่าสัดส่วนของลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ดังนั้นสภาพคล่องของภาคสหกรณ์ทั้งระบบจึงอยู่ในสถานะที่ปลอดภัยแต่ไม่ควรประมาท และต้องใช้ความระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจ

ขณะที่สถานการณ์ปัจจุบันมีความเสี่ยงทางธุรกิจหลายด้าน เช่นราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน ค่าแรงขั้นต่ำ ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง และความเสียหายของผลผลิตอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติหรือการระบาดของศัตรูพืช สิ่งเหล่านี้เป็นความเสี่ยงที่จะกระทบกับรายได้และต้นทุนที่สูงขึ้น ดังนั้นภาคสหกรณ์ควรกำหนดแผนรองรับความเสี่ยงอย่างเป็นระบบและครอบคลุมทุกปัญหาที่เป็นไปได้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนแก่สหกรณ์ต่อไป


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view