สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ทุ่นลอยพลังไฟฟ้าจากคลื่นทะเลบอกแนวปะการังได้ทั้งกลางวันกลางคืน

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

แนวปะการังเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์และพืชนานาชนิด อย่างเต่าทะเลและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ปลาหมึก หอย กุ้ง แมงกะพรุน และปลิงทะเล ถ้าไปถึงทะเล ก็ต้องนึกถึงแนวปะการังที่เป็นเสมือนเอกลักษณ์สำหรับการท่องเที่ยวใต้ทะเลที่มีความสวยงาม ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและน้ำทะเลที่ใสสะอาดปะการังจึงเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวการดำน้ำและการถ่ายภาพใต้น้ำ

ทว่า แนวปะการังทั้งหลายกำลังถูกทำลายลง ด้วยการทอดสมอเพื่อจอดเรือของบรรดาเหล่าคนเดินเรือนำเที่ยวหรือชาวประมงท้องถิ่น เพื่อป้องกันแนวปะการังนั้น ทางเจ้าหน้าที่จึงได้นำทุ่นลอยทาสีส้มไปลอยไว้หน้าแนวปะการังที่ทอดตัวยาวหลายกิโลเมตร แต่ก็ยังเจอกับปัญหาเดิมๆ อีก เพราะว่าทุ่นลอยสีส้มสดใสนั้นมองเห็นได้แค่ตอนกลางวัน ส่วนตอนกลางคืนนั้นมองเห็นได้ยาก หากจะส่องไฟหาทุ่นลอยก็ยังยากลำบาก

ความยากลำบากดังกล่าวเป็นความท้าทายให้หลายคนพยายามคิดหาทางออก บางคนก็คิดวิธีทำให้สามารถส่องสว่างเพื่อบอกสัญญาณในเวลากลางคืน โดยนำแผงเซลล์แสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ไปติดตั้งที่ทุ่นลอย เพื่อผลิตไฟฟ้าในตอนกลางวันแล้วเก็บเข้าแบตเตอรี่ไว้ใช้เวลากลางคืน 

แม้แนวคิดดังกล่าวจะเป็นความตั้งใจที่ดี แต่ก็ยังไปไม่สุดทาง เนื่องจากแผงโซลาร์เซลล์ที่นำไปใช้นั้น อาจจะไม่ทนต่อการกัดกร่อนของน้ำทะเล และยังมีปัญหาเรื่องเกลือเกาะแผงโซลาร์เซลล์ ทำให้แผงโซลาร์เซลล์ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ทีมนักประดิษฐ์จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีเป็นอีกทีมที่พยายามศึกษาและพัฒนาทุ่นที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เอง และใช้ไฟฟ้าจากที่ผลิตได้นั้นจ่ายให้หลอดไฟสัญญาณที่ทำหน้าที่บอกถึงแนวปะการังในยามค่ำคืนได้ โดยได้ศึกษาและพัฒนาจนเป็นนวัตกรรมที่มีชื่อว่า "ทุ่นผลิตพลังงานไฟฟ้าจากคลื่นทะเลสำหรับอนุรักษ์แนวปะการัง" 

นางธัญนันท์ ชัยศร อาจารย์จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี หนึ่งในผู้ร่วมทีมเล่าให้ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ฟังว่า เมื่อสองปีที่แล้วทีมได้ประดิษฐ์ทุ่นผลิตพลังงานไฟฟ้าขึ้นแต่เป็นแบบใช้แรงคลื่น เพื่อทำให้ทุ่นที่มีลูกตุ้มห้อยอยู่ด้านล่างเคลื่อนไหวไปมา สำหรับผลิตไฟฟ้าแต่ก็พบปัญหามาก เนื่องจากทุ่นลอยมักจะลอยออกไปนอกลู่นอกทาง เนื่องจากตัวที่ถ่วงทุ่นไว้กับพื้นหรือที่เรียกว่า "ตัวล็อคแนว” ที่คล้ายๆ สมอปักอยู่ที่พื้นนั้นหลุดง่าย เนื่องจากแรงลอยตัวของทุ่นที่มีพื้นที่ส่วนบนมากกว่าส่วนล่าง

"พอลอยออกไปไกลก็ตามกลับมาไม่ได้เพราะไม่รู้ว่าลอยไปอยู่ตรงไหนของทะเลแล้ว ส่วนในเรื่องของการผลิตไฟฟ้าก็ทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรจึงทำให้ไม่มีไฟฟ้าเพียงพอที่จะจ่ายให้หลอดไฟติดตลอดทั้งคืน" 

จากปัญหาที่พบจากการทดลองใช้รุ่นแรก ทีมพัฒนาจึงได้สร้างทุ่นผลิตไฟฟ้ารุ่นที่ 2 ขึ้นมา โดยออกแบบให้มีปีกสองข้างยื่นออกมาจากตัวทุ่น เมื่อมีแรงคลื่นมาปะทะปีทั้งสองข้างจะขยับขึ้นลง ทำให้เฟืองที่อยู่ด้านในตัวทุ่นหมุน เฟืองที่หมุนจากแรงคลื่นจะไปปั่นไดนาโมและกำเนิดไฟฟ้าที่มีกำลังไฟฟ้า 35 - 40 โวลต์ออกมา 

"ในตอนกลางวันจะเก็บไฟฟ้าไว้ในแบตเตอร์รี่ประเภทตะกั่ว คล้ายๆ แบตเตอร์รี่รถยนต์ เมื่อถึงเวลากลางคืนก็จะนำไฟฟ้าออกมาจ่ายให้กับไฟสัญญาณไฟสีแดงที่ติดอยู่กับตัวทุ่นนั้น การผลิตไฟฟ้าจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ ตราบใดที่มีคลื่น ทุ่นก็จะผลิตไฟฟ้าและเก็บเข้าแบตจากนั้นก็นำออกมาใช้ วนไปเรื่อยๆ"


ใช่ว่าในการพัฒนาทุ่นผลิตไฟฟ้ารุ่นที่ 2 นัั้น ทีมพัฒนาจะไม่พบปัญหา เนื่องจากยังเกิดปัญหาที่ยังเชื่อมชิ้นส่วนของทุ่นได้ไม่สนิท และยังมีปัญหาเรื่องการทำโครง รวมถึงปัญหาชุดทดเฟือง ซึ่งทีมพัฒนาต้องการให้เฟืองสามารถลิตไฟได้ 2 รอบในการหมุนเฟือง 1 ครั้ง 

"ทุกครั้งก่อนการวางทุ่นจะต้องสำรวจแนวปะการังก่อน โดยให้คนลงไปดำน้ำดูว่าแนวปะการังอยู่ตรงไหน เมื่อสำรวจเสร็จแล้วก็จะนำทุนไปวางไว้ด้านหน้าของแนวปะการังอีกที ซึ่งจำนวนที่วางก็ขึ้นอยู่กับแนวปะการัง การวางทุ่นหน้าแนวปะการังแบบนี้ทำให้เพื่อให้นักท่องเที่ยวและนักเดินเรือรู้ว่า หลังแนวทุ่นนี้เป็นแนวปะการังชายฝั่ง”

จุดเด่นของทุนผลิตไฟฟ้ารุ่นที่ 2 คือ มีชุดผูกเรือสำหรับใช้จอดเรือทำให้สามารถป้องกันการทิ้งสมอของเรือที่จะไปทำลายปะการังได้ และยังมีระบบ GPS ที่ใช้ระบุตำแหน่งของทุ่นในกรณีที่ทุ่นหลุดออกจากตัวล็อคแนวและลอยไกลในทะเล 

เมื่อประดิษฐ์รุ่นที่ 2 เสร็จแล้ว ทีมพัฒนาได้นำไปทดลองลอยทุ่นที่เกาะปราบ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งอยู่ใกล้ฝั่งกว่าเกาะเต่า จากนั้นคาดว่าไม่เกินปีหน้าจะนำไปใช้งานจริงที่เกาะเต่า เนื่องจากสุราษฎร์ธานีมีแนวปะการังที่ยังสวยอยู่อีกมาก ทีมพัฒนาจึงจะนำไปใช้งานในพื้นที่ดังกล่าวก่อนจังหวัดอื่นๆ 

นอกจากประโยชน์จากการใช้งานแล้ว ผลงานนวัตกรรมทุ่นผลิตพลังงานไฟฟ้าจากคลื่นทะเลสำหรับอนุรักษ์แนวปะการังนี้ ยังได้รับรางวัล International Grand Prize Award จากเวทีการแข่งขันนวัตกรรม International Engineering Invention and Innovation Exhibition 2018 (i-ENVEX 2108) เมื่อเร็วๆ นี้ ณ รัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย


#eosgear,#ถุงมือกันบาด,#อะไหล่ victorinox, #victorinox มือสอง,#servival Kit,แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดภาวะวิกฤต

Tags : ทุ่นลอยพลังไฟฟ้าจากคลื่นทะเลบอกแนวปะการังได้ทั้งกลางวันกลางคืน

view