สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปศุสัตว์แจง พ.ร.บ.ป้องกันทารุณกรรมฯ ยังไม่ให้นิยาม สัตว์อาศัยในธรรมชาติ วางกรอบ 9 มี.ค.นี้

จากประชาชาติธุรกิจ

ภาพจากเพจคนอนุรักษ์

ความคืบหน้าคดีนายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และพวกเข้าไปล่าสัตว์ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ต่อมามีการยึดงาช้าง และปืนจากบ้านนายเปรมชัยไปตรวจสอบ อีกทั้งกรณีนายวิเชียร ชิณวงษ์ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก แจ้งความลงบันทึกประจำวันที่กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) กรณีนายเปรมชัยเสนอผลประโยชน์ให้เจ้าหน้าที่เพื่อแลกกับการปล่อยตัว ขณะที่มีกระแสข่าวว่าคลิปเสียงที่เป็นหลักฐานสำคัญหายไป รวมถึงคดีที่กรมป่าไม้ได้ตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่าของนายเปรมชัยและญาติใน จ.เลย พื้นที่กว่า 6,000 ไร่ และล่าสุดกรณีที่ทางเจ้าหน้าที่มีการถอนแจ้งความในคดีทารุณกรรมสัตว์ ทำให้นายเปรมชัยไม่ต้องมารับทราบข้อกล่าวหาจากเจ้าหน้าที่ในวันที่ 5 มีนาคมนี้ แต่ต้องมารายงานตัวต่อศาลในวันที่ 26 มีนาคม นั้น

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกแถลงว่าพ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์พ.ศ.2557 นั้น มีเจตนารมณ์ที่จะคุ้มครองสัตว์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึกและเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสิ่งแวดล้อมมิให้ถูกกระทำทารุณกรรม และเจ้าของสัตว์ซึ่งนำสัตว์มาเลี้ยงจะต้องจัดสวัสดิภาพให้เหมาะสมตามประเภทและชนิดของสัตว์ ทั้งในระหว่างการเลี้ยงดู การขนส่ง การนำสัตว์ไปใช้งานหรือใช้ในการแสดงซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับนี้ก็สามารถบังคับใช้กับสัตว์อื่นๆ ได้อยู่แล้ว ยังเหลือเพียงนิยามของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เนื่องจากมีข้อโต้แย้งในรายละเอียดของคณะกรรมการฯ ซึ่งประกอบด้วยหลายภาคส่วน อย่างไรก็ตาม ในประเด็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาตินี้ กรมปศุสัตว์จะเร่งประชุมคณะกรรมการฯให้ได้ข้อสรุปนิยามของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนสูงสุด โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 9 มีนาคมนี้

อนึ่งถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการกำหนดนิยามให้สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติเป็นสัตว์ตาม พ.ร.บ.ทารุณกรรมสัตว์ฯก็ตาม สัตว์ป่าที่อยู่ตามธรรมชาติก็อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ หากไปล่าหรือทำร้ายจะมีโทษหนักกว่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ส่วนสัตว์ป่าแม้อยู่ตามธรรมชาติ แต่หากนำมาเลี้ยง จะอยู่ภายในกฎหมายว่าด้วยการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์พ.ศ. 2557 ด้วยอยู่แล้ว

 

ที่มา : มติชนออนไลน์


eosgear,#สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : ปศุสัตว์แจง พ.ร.บ.ป้องกันทารุณกรรมฯ ยังไม่ให้นิยาม สัตว์อาศัยในธรรมชาติ วางกรอบ 9 มี.ค.นี้

view