สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิด 10 สัตว์ป่าถูกล่ามากสุดในสามเหลี่ยมทองคำ เสือโคร่งที่ 1 เลาะเนื้อกินแล้วตัดหัวแต่งบ้าน

จากประชาชาติธุรกิจ

วันที่ 4 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ได้เปิดเผยว่า เสือโคร่ง ช้าง หมี และตัวลิ่น ได้รับการจัดอันดับให้เป็นสัตว์ ป่าที่มีการลักลอบซื้อขายกันมากที่สุด 4 อันดับแรก ในเขตสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างสามประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว และ เมียนมาร์ และเป็นพื้นที่การค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายอย่างเสรี ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค โดยสัตว์ที่นิยมซื้อขายรองลงมา คือ แรด เลียงผา นกเงือก กระทิง เสือดาวและเต่า ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสัตว์ป่าหายากที่ใกล้สูญพันธุ์ทั้งสิ้น

สำหรับ 10 อันดับสัตว์ป่าที่มีการลักลอบซื้อขายมากที่สุด ที่ WWF ทำออกมาครั้งนี้ ได้ อ้างอิงข้อมูลจากองค์กร TRAFFIC ซึ่งเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย โดยการสำรวจตลาดลักลอบค้าสัตว์ ป่า ร้านขายสินค้าจากสัตว์ป่า และร้านอาหารที่มีเมนูสัตว์ป่าในพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ พบว่า การซื้อขายสัตว์ป่าผิดกฎหมาย เป็นภัยคุกคามชีวิตสัตว์ป่าทั่วทั้งทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา ลูกค้าหลักที่สำคัญคือ นักท่องเที่ยวชาวจีนและชาวเวียดนาม ซึ่งนิยมเดินทางมาซื้อสินค้าจากสัตว์ป่าที่ตลาดเมืองลา (Mong-La) และตลาดท่าขี้เหล็กในประเทศเมียนมาร์ หรือตลาดใกล้ชายแดน เช่น ตลาดบ่อเต็น และเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศลาว

Illegal wildlife trade. Leopards’ (Panthera pardus) skins seized at customs.
CAPE PANGOLIN
A Soft shell turtle (Trionychidae) protected by Indonesian Law was saved from being consumed by locals in Long Bawan. It was then release to the wild.

คริสเจล ครัซ ที่ปรึกษาทางเทคนิคด้านการค้าสัตว์ป่า ประจำ WWF ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง กล่าวว่า สัตว์ป่าจำนวนมากอยู่ ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ ปัจจัยหลักเกิดการจากค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ไม่เฉพาะแต่ในพื้นที่ลุ่มน้ำ โขงเท่านั้น แต่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก พื้นที่ชายแดน เช่น สามเหลี่ยมทองคำเป็นจุดที่มีการการลักลอบค้าขายเหล่านี้แพร่ หลายมากที่สุด และเราต้องหาวิธีการหยุดยั้งความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้ได้ รีดน้ำดีหมีทำยา

ครัซ กล่าวอีกว่า พื้นที่สามเหลี่ยมทองคำเป็นเส้นทางลักลอบขนส่งและซื้อขายเสือโคร่งตามธรรมชาติ และเสือโคร่งจากฟาร์มส่งป้อนให้ กับภัตตาคารร้านค้า ซึ่งจะนำกระดูกเสือโคร่งไปดองเหล้า หรือนำเนื้อไปประกอบอาหาร รวมถึงการแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน และเครื่องประดับราคาแพง ขณะที่ความต้องการหนังช้างตากแห้ง และงาช้างก็ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นจนคุกคามความอยู่รอดของช้างในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา ส่วนฟาร์มหมี ซึ่งเป็นที่นิยมเปิดกันอย่างแพร่หลายในภูมิภาค ก็ทำให้หมีหมา (Sun Bears) และหมีควาย (Asiatic Black Bears) ตามธรรมชาติถูกจับมาขังมากขึ้นเรื่อยๆ ฟาร์มหมีเหล่านี้ จะนำหมีมารีดน้ำดี เพื่อสกัดเป็นยา ที่เชื่อว่าจะรักษาโรคต่างๆ ได้ แต่ปัจจุบันก็ยังไม่หลั กฐานทางการแพทย์รับรองความเชื่อดังกล่าว

บิล พอสเซล ผู้อำนวยการด้านงานอนุรักษ์ ประจำ WWF ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง กล่าวว่า ฟาร์มหมีและฟาร์มเสือโคร่ง รวมไปถึงร้านค้าสินค้าจากสัตว์ ป่าอย่างผิดกฎหมายที่เปิดอยู่ทั่วพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ เป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดต่อชีวิตสัตว์ป่า ทั้งนี้ ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเป็นที่รู้จักในฐานะจุดหมายปลายทางและตลาดรับซื้ อขายสัตว์ป่าสายพันธุ์ หายากและใกล้สูญพันธุ์ที่ใหญ่ที่ สุดในโลก และเราต้องหาทุกวิถีทางเพื่อปิดตลาดเหล่านี้ ก่อนที่สัตว์ป่าจะสูญพันธุ์ ไปหมดโลก

Illegal wildlife trade. Leopards’ (Panthera pardus) skins seized at customs.

ผู้อำนวยการด้านงานอนุรักษ์ประจำ WWF ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง กล่าวด้วยว่า จากสถิติพบว่า แรดแอฟริกา จะถูกล่าและฆ่าทิ้งเฉลี่ยวันละ 3 ตัว เพื่อสนองตอบความต้องการนอแรดที่ เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในประเทศเวียดนาม ซึ่งเชื่อว่าการมี นอแรดในครอบครองเป็นสัญลักษณ์ แทนความร่ำรวย หรือนำมาใช้เป็นส่วนผสมผลิตยาสมุนไพร ซึ่งเชื่อว่าช่วยรักษาอาการเมาค้างและอาการไข้ได้ ทั้งที่ในความจริง นอแรดมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับเล็บของมนุษย์ และไม่มีผลการรับรองว่ามีคุณสมบัติทางยาแต่อย่างใด โดยล่าสุด มีความนิยมนำนอแรดมาแกะสลั กทำเป็นเครื่องประดับ

พอสเซล กล่าวว่า ตัวลิ่น เป็นสัตว์อีกสายพันธุ์หนึ่งที่ มีความต้องการสูงมากในจีน และเวียดนาม และถูกจัดให้เป็นสัตว์ที่มี การลับลอบซื้อขายมากที่สุดในโลกอีกด้วย นกชนหิน (Helmeted Hornbill) เป็นหนึ่งในตระกูลนกเงือกหายากชนิดหนึ่ง จากจุดเด่นของงอยปากที่มีรูปร่างโค้งคล้ายหมวกกันน็อกและแข็งแรงทำให้ถูกล่าเพื่อนำมาแกะสลักเป็นเครื่องประดับ ซึ่งตลาดใหญ่ที่รับซื้อนกชนหินก็คือประเทศจีน นอกจากนี้ เลียงผา (Serow) ก็เป็นสัตว์อีกประเภทที่นิยมลักลอบซื้อขายกัน เพื่อนำเนื้อไปบริโภค หรือชิ้นส่วนต่างๆ ไปผลิตยาสมุนไพร เป็นที่นิยมอย่างสูงในประเทศลาว ขณะที่ เสือดาว (Leopards) ซึ่งครั้งหนึ่งสามารถพบเห็นได้ ทั่วไปในพื้นป่าของเอเชียตะวั นออกเฉียงใต้ ก็กำลังเผชิญภัยคุกคามอย่างหนั กจากการล่า เพื่อสนองตอบความต้องการหนังเสื อดาวและกะโหลก

Diceros bicornis Black rhinoceros Close up of horns Nairobi National Park, Kenya.

“นอกจากนี้ เต่า (Turtles) ก็นิยมซื้อขายทั้งในแบบมีชีวิตและในรูปแบบเครื่องประดับ รวมไปถึงเนื้อเต่าก็นิยมเสิร์ฟกันในร้านอาหาร สัตว์ชนิดสุดท้ายที่มีการซื้อขายมากที่สุดคือ กระทิง (Gaur) ด้วยเขากระทิงที่มีสวยงามทำให้ มีความต้องการจากตลาดการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายอย่างมาก เพื่อนำมาใช้ตกแต่งบ้าน ที่ผ่านมา WWF มุ่งมั่นทำงานร่วมกับภาครั ฐและภาคเอกชน อย่างเช่น เครือข่ายเฝ้าระวังการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ระดับท้องถิ่นหลายแห่ง รวมถึงหน่วยงานที่มีหน้าที่บั งคับใช้กฎหมาย เพื่อหาทางหยุดยั้งการค้าขายสั ตว์ป่าอย่างผิดกฎหมายในพื้นที่ สามเหลี่ยมทองคำและพื้นที่อื่นๆ นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการสร้างความตระหนักถึงปัญหาการค้าขายสัตว์ป่าในทวีปเอเชีย เพื่อบรรลุเป้าหมายในการปิดตลาด ร้านค้า ภัตตาคาร และร้านค้าออนไลน์ผิดกฎหมายเหล่านี้ให้ได้อย่างน้อย 20 แห่ง ภายในปี 2563 WWF ยังผลักดันให้มีการบังคับใช้ กฎหมายและบทลงโทษสำหรับการลั กลอบซื้อขายสัตว์ป่ าตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้ าสัตว์ป่าให้กับเจ้าหน้าที่ที่ เกี่ยวข้อง “พอสเซล กล่าว

–ธัญญา เนติธรรมกุล

ด้านนายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า จากการตรวจสอบรายงานของ TRAFFIC เป็นผลการศึกษาสำรวจตลาดค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายในประเทศเมียนมาร์ ไม่ได้มีพื้นที่ศึกษาในประเทศไทยแต่อย่างใด และจากการตรวจสอบข้อมูลกับ เจ้าหน้าที่ WWF ที่ปฏิบัติงานในเขตอนุภาคลุ่มน้ำโขง ได้รับการยืนยันว่าไม่มีตลาดค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายในเขตแดนไทย สอดคล้องกับข้อมูลขององค์การตำรวจสากลที่ระบุว่า ตลาดการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายตามแนวชายแดนที่สำคัญคือตลาดท่าขี้เหล็กในเมียนมาร์และชายแดนฝั่งลาว ไม่ปรากฏในราชอาณาจักรไทยแต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ป่าประเภท แรด และเลียงผา เสือโคร่ง ช้าง หมี ลิ่น นกเงือก กระทิง เสือดาว และเต่า เป็นสัตว์ป่าสงวนและคุ้มครองตามกฏหมายไทย ซึ่งห้ามล่า ค้า และมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างเด็ดขาด ทำให้สัตว์ป่าดังกล่าวได้รับการคุ้มครองอย่างเข้มงวด

 

ที่มา มติชนออนไลน์


eosgear,#สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : เปิด 10 สัตว์ป่าถูกล่ามากสุดในสามเหลี่ยมทองคำ เสือโคร่งที่ 1 เลาะเนื้อกินแล้วตัดหัวแต่งบ้าน

view