สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คีเลชั่น จริงหรือลวงโลก

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา มีข่าวเรื่องการใช้คีเลชั่นบำบัด ทำให้หลายท่านมีคำถามมากมายว่า สรุปแล้ว คีเลชั่น เป็นเรื่องหลอกลวง หรือสามารถใช้ในการรักษาได้จริง?

หมอจึงได้พยายามรวบรวมข้อมูล และนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคีเลชั่นบำบัด และข้อมูลเพิ่มเติม มาบอกต่อ ให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ได้พิจารณาถึงผลดีผลเสีย


จากแถลงกาณ์ของสมาคมการแพทย์คีเลชั่นไทย วันที่ 20 กันยายน 2560 กล่าวโดยสรุปคือ ได้มีการจัดสัมมนาทางวิชาการมาแล้ว ราวๆ 16 ครั้ง ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2551 และศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ ซึ่งแพทยสภาได้ก่อตั้งขึ้น โดยให้แพทย์ผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการ ได้เครดิตจากการศึกษาต่อเนื่องเป็นจำนวน ๒๑ หน่วยกิตชั่วโมง ทางสมาคมขอยืนยันว่า ศาสตร์คีเลชั่นบำบัด ไม่ใช่ศาสตร์เทียม มีประโยชน์จริงและสามารถใช้แก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยได้จริงตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ [1]

สารคีเลชั่นนี้มีทั้งจากธรรมชาติ เช่น วิตามินซี กลูต้าไธโอน ซิสเตอีน และสารที่ผลิตขึ้นมาเพื่อจับกับโลหะหนักแต่ละชนิด ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ คือสารอีดีทีเอ (EDTA : Ethylene Diamine Tetra-acetic Acid) ซึ่งใช้ในการรักษา ขับโลหะหนักออก ลดการสะสมของแคลเซียม (Reducing Calcium Deposit) ควบคุมกระบวนการสลายไขมัน (Controlling Lipid Peroxidation) ลดการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือดซึ่งเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการการเกิดหลอดเลือดแข็งตัว (Reduction platelet stickiness in atherosclerosis and related disease) [2]

คีเลชั่นบำบัดได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA Apporved) ในการใช้เพื่อขับสารพิษตะกั่วออกจากร่างกาย ส่วนแพทย์ทางเลือกได้ใช้คีเลชั่นบำบัดในการรักษาโรคอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดแข็งตัว (Atherosclerosis) โรคหลอดเลือดหัวใจโคโลนารี่ตีบ (Coronary Disease) โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน รวมทั้งยังใช้ในการลดอาการปวดของคนไข้กลุ่มโรคภูมิแพ้ตัวเอง (Autoimmune Disease) รูมาตอยด์ (Rheumatoid) ข้ออักเสบ (Arthritis) โรคหนังแข็ง(scleroderma) รวมทั้งปกป้องร่างกายและหลอดเลือดจากการอักเสบ [3]

ระยะหลังเริ่มมีงานวิจัยเกี่ยวกับคีเลชั่นและการรักษาโรคอื่นๆ นอกจากโลหะหนักออกมา โดยงานวิจัยชิ้นแรกที่เป็นการวิจัยแบบเมต้าอะนาไลซิส (Meta analysis papers) ซึ่งเป็นงานวิจัยลักษณะที่เปรียบเทียบและรวบรวมข้อมูลทางสถิติจากการศึกษางานวิจัยหลายๆ งาน โดยงานวิจัยชิ้นนี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้EDTA ในคีเลชั่นบำบัด กับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในโรคหัวใจ (The correlation “between EDTA Chelation Therapy and Improvement in Cardiovascular function ) โดยพบว่า 87% ของคนไข้ในงานวิจัยที่ศึกษา มีผลพัฒนาที่ดีขึ้นของโรคหัวใจ โดยการวัดผลก่อนการทำและหลังทำอย่างชัดเจน [4]

งานวิจัยชิ้นต่อมา คือการศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้ EDTA กับโรคหลออดเลือด (EDTA Chelation treatment for vascular Disease) โดยเป็นการศึกษาวิจัยแบบ Meta analysis อีกเช่นกัน โดยศึกษาต่อเนื่องจากงานวิจัยชิ้นแรกที่พบว่ามีการพัฒนาดีขึ้นของโรคหลอดเลือดหัวใจในคนไข้ที่ได้รับคีเลชั่นบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ส่วนในงานวิจัยชิ้นนี้ได้รวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับคีเลชั่นกับโรคหลอดเลือด 41 งานวิจัย เพื่อมาวิเคราะห์ผล โดย 19 งานวิจัยที่รวมรวบมามีคนไข้ทั้งหมด 22,765 คน พบว่า 87% จากคนไข้ทั้งหมด วัดผลของโรคหลอดเลือดอาการดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการวัดผลหลากหลายวิธี เช่น คลื่นไฟฟ้าหัวใจ การวัดระยะทางการเดิน การออกกำลังกาย การอัลตร้าซาวด์การไหลเวียนเลือด(Doppler Ultrasound) เป็นต้น นี่เป็นเพียงงานวิจัยบางชิ้นที่เกี่ยวกับคีเลชั่นบำบัดกับโรคอื่นๆ นอกเหนือจากการบำบัดพิษจากโลหะ [5]

และมาถึงงานวิจัยชิ้นสำคัญที่ต้องกล่าวถึง เนื่องจากถูกนำไปใช้อ้างอิงหลายๆ ส่วน รวมทั้งเป็นงานวิจัยที่ใช้งบประมาณสูงมาก มีจำนวนผู้เข้ารับการวิจัยปริมาณมากเช่นเดียวกัน คือ งานวิจัยชื่อ Trial to Assess Chelation Therapy (TACT) นับเป็นงานวิจัยขนาดใหญ่ชิ้นแรกที่ศึกษาวิจัยวัดผลการทำคีเลชั่นบำบัดในหลายๆ เซ็นเตอร์ที่ทำการรักษา โดยจุดประสงค์หลักที่เริ่มทำวิจัยชิ้นนี้คือ ต้องการศึกษาถึงความปลอดภัยในการใช้คีเลชั่นบำบัดกับคนไข้โรคหัวใจ

และผลจากการศึกษานี้พบว่า คีเลชั่นบำบัดลดอัตราการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมอง การเข้านอนโรงพยาบาลจากการเจ็บแน่นหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด ลดอัตราการเสียชีวิต โดยได้รับการตีพิมพ์การวิจัยนี้ในวารสารทางการแพทย์ชื่อดัง เช่น JAMA , American Heart Journal and Circulation โดยจำนวนประชากรศึกษาในงานวิจัยนี้ทั้งหมด 1708 คน และทุกคนเป็นคนไข้ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ (>= 6 weeks Post MI ) 

โดยคนไข้ทั้งหมดจะได้รับการรักษาตามมาตรฐานของโรคจากโรงพยาบาล และอายุของคนไข้ที่เข้าร่วมงานวิจัยอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มาจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เริ่มศึกษาตั้งแต่ ปี 2003 ตรวจติดตามผลจนถึงปี 2011 โดยศึกษาวิจัยแบบไม่ให้คนไข้และแพทย์ทราบว่าได้รับคีเลชั่น หรือ ยาหลอกที่เป็นน้ำเกลือ ให้การรักษาทั้งหมด 40 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เก็บข้อมูลไป 55 สัปดาห์ [6]

จากผลการวิจัยนี้ เมื่อติดตามผลตั้งแต่เริ่มศึกษาทดลองจนสิ้นสุดไม่พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด นอกจากนี้ผลการสรุปวิจัยยังกล่าวถึงโรคเบาหวานและกล้ามเนื้อหัวใจตายที่พบว่ามีอาการดีขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มยาหลอก ทำให้ตอนนี้กำลังเริ่มโครงการศึกษาวิจัยต่อเนื่องจากงานแรก ชื่อว่า TACT 2 โดยศึกษาในกลุ่มคนไข้เบาหวานและโรคเรื้อรังต่างๆ เรายังคงต้องรอติดตามผลการวิจัยต่อไปในปี 2021

ตลอดระยะเวลากว่า 50 ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่า คีเลชั่น ได้รับการใช้ในการรักษาแพทย์ทางเลือกเริ่มแพร่หลายมากขึ้น และก็เริ่มมีการโจมตี และการขัดแย้งระหว่างแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์ทางเลือก ซึ่งเป็นผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะการใช้คีเลชั่นกับโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะมีผลกระทบต่อการใช้ยาความดัน ยาเบาหวาน ยาไขมัน รวมทั้งการผ่าตัดใส่ขดลวดหัวใจ แน่นอนว่าเป็นเรื่องปกติในเรื่องของวงการธุรกิจ ที่จะต้องมีเรื่องของการต่อต้านและผลประโยชน์ที่ขัดกัน เนื่องจากค่าใช้จ่ายมหาศาลจากการใช้ยา และการผ่าตัดบายพาสที่ลดลง

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคีเลชั่นบำบัดต่อโรคหลอดเลือดจะก่อให้เกิดผลดี หากว่าไม่ระมัดระวังในการรักษา หรือไม่ได้รับการรักษาในสถานบริการทางการแพทย์หรือโรงพยาบาลที่มีแพทย์ที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ก็ย่อมเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ มีรายงานข่าวที่ผ่านมาเรื่องของการใช้คีเลชั่นบำบัด แล้วเกิดอันตรายถึงชีวิต [7] ทำให้องค์การการป้องกันและรักษาโรค สหรัฐอเมริกา (CDC ) ต้องทบทวนหาสาเหตุ ซึ่งสาเหตุทั้งหมดได้รับการตรวจสอบ คือ

1. การใช้ขนาดยาและความเข้มข้นที่ไม่เหมาะสม มีผลต่อระดับแคลเซี่ยมในเลือดต่ำอย่างรวดเร็ว เกิดอันตรายต่อชีวิต 

2. การให้ยาคีเลชั่นในอัตราที่เร็วเกินไป

ไม่เพียงแต่คีเลชั่นเท่านั้น แต่ยาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นยาเบาหวาน ยาไขมัน หรือแม้แต่การผ่าตัดอื่นๆ หากทำไม่ได้มาตรฐาน ให้ยาเกินขนาด (Overdose ) ก็สามารถเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ทั้งสิ้น

จะเห็นได้ว่าหากเราใช้ประโยชน์และได้รับการรักษาจากสถานพยาบาลและแพทย์ที่มีประสบการณ์และมีคุณธรรมที่มากพอ ไม่โฆษณาเกินจริงและรู้จักการใช้ที่เหมาะสม โดยเฉพาะในประเทศไทย แพทย์ควรจะต้องผ่านการอบรมจากสมาคมแพทย์คีเลชั่นไทย เพื่อให้ผู้ที่จะได้ประโยชน์สูงสุดคือคนไข้

ด้วยความปรารถนาดี
พญ. ภัทรลดา ปราโมช ณ อยุธยา
รองคณบดี สถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย แห่งมหาวิทยาลัยรังสิต
แพทย์เวชศาสตรชะลอวัย ประจำ Mannager Wellness Clinic (MW clinic)
Reference
[1] สมาคมการแพทย์คีเลชั่นไทย , แถลงการณ์สมาคมคีเลชั่นไทย วันที่20 กันยายน 2560 , https://www.cmat.or.th/news_details.php?id=37

[2] Bruce & Theodore , 1997 
[3] Chelation therapy article , ByHealthwise Staff Primary Medical ReviewerAdam Husney, MD ,, webmd.com 

[4] The correlation “between EDTA Chelation Therapy and Improvement in Cardiovascular function, L. Terry Chappell MD, and John Stahl PhD , 1993 Human Sciences Press, Inc.

[5] EDTA Chelation treatment for vascular Disease , L. Terry Chappell, MD , Ronald Evans ,MA ,The journal of cardiovascular of nursing/April 1996

[6] Trial to Assess Chelation Therapy (TACT) , Lamas GA, Goertz C, Boineau R, et al. Effect of disodium EDTA chelation regimen on cardiovascular events in patients with previous myocardial infarction: the TACT randomized trial. JAMA. 2013;309(12):1241-1250.

[7] Deaths Associated with Hypocalcemia from Chelation Therapy --- Texas, Pennsylvania, and Oregon, 2003-2005 , MMWR weekly March 3, 2006 / 55(08);204-207 https://www.cdc.gov/mmwr/preview/mmwrhtml/mm5508a3.html


#eosgear,#ถุงมือกันบาด,#อะไหล่ victorinox,#victorinox มือสอง,#cutting resistance glove,ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : คีเลชั่น จริงหรือลวงโลก

view