สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

3 ปัจจัย ฟู้ดสตาร์ทอัพ รองรับธุรกิจอาหารโตปี 60

จากประชาชาติธุรกิจ

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) เผยระบบนิเวศทางเศรษฐกิจในปี 2560 ของวงการธุรกิจอาหารและการเกษตรไทย เอื้อต่อผู้ประกอบการและผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจอาหารมากขึ้น มีโอกาสประสบความสำเร็จในธุรกิจเพิ่มขึ้น พร้อมชี้ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารยุคใหม่ต้องเร่งพัฒนานวัตกรรมใน 3 ด้าน คือ 1) เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต (Productivity) 2) พัฒนาด้านความปลอดภัย (Safety) 3) ผลิตอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ (Healthy & Wellness)

ทั้งนี้ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมสนับสนุนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ในฐานะพันธมิตรหลักทางวิชาการด้านการจัดการธุรกิจอาหาร เตรียมเปิดโครงการ Food Tech Startup ในอนาคตอันใกล้ เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมผู้ประกอบการสตาร์ตอัพด้านธุรกิจอาหาร และเตรียมความพร้อมนักสร้างสรรค์นวัตกรรมธุรกิจอาหารเพื่อแข่งขันในเวทีระดับโลก

"กิตติชัย ราชมหา" ประธานสาขาการจัดการธุรกิจอาหาร วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) กล่าวว่า การที่ไทยเลื่อนอันดับการส่งออกอาหารขึ้นสู่อันดับที่ 13 ของโลก จากสถานการณ์ดังกล่าวสามารถมองเป็นโอกาสสำคัญของเหล่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารทุก ขนาด ทั้งบริษัทขนาดใหญ่ ธุรกิจเอสเอ็มอี และผู้ประกอบการสตาร์ตอัพที่สามารถใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ โดยผู้ประกอบการธุรกิจอาหารต้องตื่นตัวกับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ เนื่องจากจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม แก้ไขข้อบกพร่องของประเทศไทยที่มีการส่งออกวัตถุดิบอาหารจำนวนมาก แต่มีมูลค่าน้อย

ช่วงหลายปีที่ผ่านมาระบบนิเวศทางเศรษฐกิจของวงการธุรกิจอาหารและการเกษตรในประเทศไทย มีการพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมาก ทั้งกระแสสังคมเรื่องการผลักดันให้ผู้ผลิตกลายเป็นผู้ประกอบการเองโดยไม่ผ่านมือพ่อค้าคนกลาง โครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่พร้อมทำหน้าที่เป็น "พี่เลี้ยง" หรือที่ปรึกษาในด้านการประกอบธุรกิจด้านอาหารและการเกษตร

โดยเน้นหลักการพัฒนา 3 หัวใจสำคัญของธุรกิจอาหารในยุคปัจจุบัน คือ

1) เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต (Productivity) นวัตกรรมสามารถใช้เพื่อพัฒนาภาคการผลิต โดยเฉพาะในธุรกิจต้นน้ำ เช่น ผลิตผลทางการเกษตรและปศุสัตว์ให้มีปริมาณมากขึ้น รองรับกับการเติบโตของจำนวนผู้บริโภคทั่วโลก ตลอดจนลดอัตราการสูญเสียจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปัญหาทางสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change)

2) พัฒนาด้านความปลอดภัย (Safety) ประเด็นด้านความปลอดภัยเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดในธุรกิจอาหาร ซึ่งนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถช่วยพัฒนาและควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยในทุกกระบวนการผลิตอาหาร

3) ผลิตอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ (Healthy & Wellness) อาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy & Functional Food) เป็นเทรนด์ระดับโลกที่ผู้บริโภคทุกประเทศให้ความสนใจเป็นอันดับ 1 โดยปัจจุบันหัวใจหลักที่ใช้เป็นตัวตัดสินในตลาดธุรกิจอาหาร คือ การคิดค้น และพัฒนาอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาอาหารสุขภาพเพื่อตอบโจทย์สังคมสูงวัย (Aging Society)

"ผศ.ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ" รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) กล่าวว่า เดิมประเทศไทยเคยติดอันดับต้น ๆ ของประเทศที่ส่งออกอาหารมากที่สุดของโลก แต่ปัจจุบันอันดับลดลงอย่างต่อเนื่อง ด้วยปัญหาที่ว่าประเทศไทยส่งออกวัตถุดิบอาหารจำนวนมาก แต่มูลค่าน้อย

"จึงทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศที่มีการเพิ่มมูลค่าเข้าสู่อาหารด้วยกรรมวิธี และนวัตกรรมต่าง ๆ ด้วยปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ เมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อพัฒนา และยกระดับอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย ที่มีความได้เปรียบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารโลก
ทำให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการพัฒนาและประยุกต์ใช้นวัตกรรมเข้าสู่ผลิตภัณฑ์เพื่อเสริมแกร่งศักยภาพในการแข่งขันระดับเวทีโลก"

โครงการ "เมืองนวัตกรรมอาหาร" หรือ "Food Innopolis" จึงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนา 2 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Bio-technology) และอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future) ที่เป็นการร่วมมือกันระหว่าง 35 หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจอาหารทุกระดับให้ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีผ่านการบริการให้คำปรึกษาด้านต่าง ๆ อาทิ การจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) การเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อการพัฒนาด้านศึกษาวิจัย (Networking for Research and Development) และการต่อยอดธุรกิจเพื่อตีตลาดต่างประเทศ (Business Accelerator)ทั้งนี้ ภายในช่วงต้นปี 2560 นี้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)

พร้อมด้วยสาขาการจัดการธุรกิจอาหาร วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะพันธมิตรหลักด้านวิชาการ การบริหารจัดการธุรกิจอาหาร (Food Business Management) เตรียมพร้อมจัดโครงการ Food Tech Startup เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสตาร์ตอัพธุรกิจอาหาร นำเสนอไอเดียธุรกิจต่อนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

โดยโครงการดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการสตาร์ตอัพไทยแลนด์ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการสตาร์ตอัพด้านธุรกิจอาหาร และเตรียมความพร้อมนักสร้างสรรค์นวัตกรรมธุรกิจอาหารเพื่อแข่งขันในเวทีระดับโลก หรือ Global Food Inno-vation Contest ของทาง Global Entrepreneurial Network (GEN) ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ดีในการส่งเสริมด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีอาหารของประเทศไทย


อี.โอ.เอส เกียร์,ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต,#มีดดามัสกัส,#เหล็กดามัสกัส

Tags : 3 ปัจจัย ฟู้ดสตาร์ทอัพ รองรับธุรกิจอาหารโตปี 60

view