สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แผนปรับตัวด้านเกษตรไทย ก้าวสำคัญเพื่อความมั่นคงอาหาร

จากประชาชาติธุรกิจ

"วิถีเกษตรต้องเปลี่ยนแปลง ตามภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป" หัวข้อหลักปี 2559 ปีแห่งการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ นานาประเทศได้ร่วมลงนามความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่เพียงมุ่งเน้นถึงอุตสาหกรรมใหญ่เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมความสำคัญของความมั่นคงด้านอาหาร โดยเฉพาะปี 2573 เป้าหมายระดับโลกต้องก้าวพ้นความหิวโหย ดังนั้น ความท้าทายของภาคการเกษตร จะสามารถปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างไร ?

นายจง จิน คิม รองผู้แทนองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และผู้แทนประจำประเทศไทย กล่าวที่ จ.เชียงราย เนื่องในวันอาหารโลกว่า ปีนี้ FAO ได้มุ่งเน้นสาระสำคัญถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เชื่อมโยงความมั่นคงด้านอาหาร โดยการแก้ไขที่ยั่งยืนต้องได้รับความร่วมมือในทุกภาคส่วนอย่างครอบคลุม ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ให้วันอาหารโลกสร้างความตระหนักรู้ให้มากที่สุด ส่วนภูมิภาคนี้ปีที่แล้วมีการกล่าวถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการยอมรับเรื่องอนุสัญญาปารีส ส่งผลสู่ปีนี้เป็นปีแรกที่ได้นำมาปฏิบัติใช้อย่างจริงจังในประเด็นความปลอดภัยทางอาหารและโภชนาการ แต่นับว่าเป็นเรื่องซับซ้อน จึงจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการ รวมถึงการสร้างการรับรู้ภาคประชาชน ดังนั้นบทบาทการทำงานของเอฟเอโอจึงมุ่งเป้าให้ข้อมูลศึกษาวิจัยเชิงเทคนิคต่อภาครัฐเพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อยอด

"สำหรับผมมองว่า เปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน จำเป็นต้องนำเสนอเรื่องนี้ออกมา ทั้งความมั่นคงทางอาหาร การขาดแคลนอาหาร และความยากจน ที่ต้องปรับตัวไปพร้อมกัน เพราะสภาพภูมิอากาศได้เชื่อมโยงอาหารและทั้งหมดต่อระบบเศรษฐกิจ การทำงานของเอฟเอโอจะให้ข้อมูลเชิงนโยบายและงานวิจัย"

ข้อมูลจากเอฟเอโอระบุไว้ว่า ในส่วนของภาคการเกษตรนั้น ได้ประมาณการอนาคตจะต้องเพิ่มการผลิตทางการเกษตร ทั้งเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ประมง ขึ้นอีกร้อยละ 60 เพื่อรองรับประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันคาดว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้ผลผลิตของพืชหลักลดลง ค่าประมาณการชี้ว่า ผลผลิตข้าวโพดอาจลดลงร้อยละ 20-45 ข้าวสาลีลดลงร้อยละ 5-50 ข้าวลดลงร้อยละ 20-30 และถั่วเหลือง 30-60 น่าสนใจว่า ข้อเท็จจริงข้อที่ 4 ได้ประมาณการร้อยละ 25 ของผลกระทบ

ด้านเศรษฐกิจเชิงลบเกิดจากภัยพิบัติในประเทศกำลังพัฒนาส่งผลกระทบต่อภาคการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ประมง ป่าไม้ และข้อเท็จจริงที่ 5 บอกว่า เกือบ 2 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากภาคเกษตร เกิดจากการทำปศุสัตว์ ได้ปล่อยก๊าซมีเทนร้อยละ 78 ของภาคการเกษตร

ก่อนหน้านี้ นางจันทร์ธิดา มีเดช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ได้กล่าวว่า สศก.ได้รับความเห็นชอบในการลงนามความร่วมมือเข้าร่วมโครงการ ซึ่งดำเนินการโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยโครงการ ครอบคลุมผลผลิต 4 ด้านหลัก ได้แก่ 1.เพิ่มขีดความสามารถของภาคเกษตรในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และบูรณาการการเงินในเรื่องของภูมิอากาศ 2.บูรณาการแผนด้านการปรับตัวภายใต้ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ด้านการเกษตร พ.ศ. 2560-2564 ในแผนการปรับตัวแห่งชาติ 3.เสริมสร้างความเข้มแข็งของการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการปรับตัวในภาคเกษตร และ 4.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่แผนการปรับตัวภาคเกษตร


อี.โอ.เอส เกียร์,ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต,#มีดดามัสกัส,#เหล็กดามัสกัส

Tags : แผนปรับตัวด้านเกษตรไทย ก้าวสำคัญเพื่อความมั่นคงอาหาร

view