สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

5 นวัตกรรมไทยเพื่อส่งออก ผลไม้สด

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

      กว่าจะได้ผลไม้รสอร่อยและมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม เกษตรต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายในการบำรุงดินบำรุงต้นไปไม่น้อย แต่ระยะเวลาในการขายกลับมีจำกัด นักวิจัย ม.ธรรมศาสตร์จึงพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยทั้งผู้ประกอบการและเจ้าของสวนยืดเวลา การขายเพื่อเป้าหมายส่งออก
       
       ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้รับข้อมูลแนะนำนวัตกรรมด้านบรรจุ ภัณฑ์เพื่อผลไม้ส่งออกผลงานนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งมีผลงานที่น่าสนใจหลายผลงาน บางผลงานได้รับรางวัลจากเวทีประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ โดยมี 5 ผลงานที่โดดเด่น ดังนี้
       
       1. “นวัตกรรมกล่องเก็บลำไยสด” ที่ช่วยยืดอายุลำไยสดบนชั้นวางจำหน่ายได้นานถึง 120 วันโดยไม่ต้องรม “ซัลเฟอร์ไดออกไซด์” นวัตกรรมดังกล่าวเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีกรบรรจุแบบดัดแปลงบรรยากาศ และเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์แอคทีฟอัจฉริยะ ที่ออกแบบสำหรับลำไยสดโดยเฉพาะ และทีมวิจัยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวให้แก่บริษัทเอกชนรับไปต่อยอดแล้ว
       
       บรรจุภัณฑ์ดังกล่าวได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ ด้านผลงานประดิษฐ์คิดค้นจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในเวทีงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2559 และได้รับรางวัลเหรียญทองเกียรติยศจากเวทีประกวดนวัตกรรมนานาชาติครั้งที่ 44 ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อเดือน เม.ย.59 ที่ผ่านมา
       
       2.“นวัตกรรมแพคเกจทุเรียนเก็บกลิ่น 100%” เป็นนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์แอคทีฟสำหรับทุเรียนสดพร้อมบริโภคเพื่อการส่งออก โดยสามารถเก็บรักษาทุเรียนปอกเปลือกพร้อมบริโภคด้วยเทคโนโลยีแอคทีฟที่ดูด ซับกลิ่นทุเรียนได้ 100% จากการพัฒนาให้ “แอคทีฟคาร์บอน” ไม่ปล่ออยกลิ่นทุเรียนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิการเก็บรักษาและการจัด จำหน่ายทุเรียนสด
       
       นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์ดังกล่าวยังมีฉลากบ่งชี้ความสดที่สื่อสารกับผู้ บริโภคได้ และทีมวิจัยยังได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับทุเรียนแต่ละสายพันธุ์ ตามขนาดบรรจุ และฟิล์มที่เหมาะสมกับการเก็บรักษาและการจัดจำหน่าย ซึ่งสามารถเก็บรักษาความสดใหม่ของทุเรียนได้นานถึง 2 เดือน และนวัตกรรมก็ได้รับรางวัลเหรียญทอง จากเวทีประกวดนวัตกรรมนานาชาติครั้งที่ 42 ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อปี 2557 ที่ผ่านมา
       
       3. “นวัตกรรมลดกลิ่นและการแตกของผลทุเรียน” เป็นนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาในการส่งออกผลทุเรียนซึ่งเป็นที่นิยมของตลาดจีน โดยปัญหาหลักของการส่งออกผลทุเรียนคือกลิ่นไม่พึ่งประสงค์และผลแตกระหว่างขน ส่งหรือจำหน่าย ทีมวิจัยธรรมศาสตร์จึงพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ส่วนผสมที่ปั่นจากเส้นใยส่วน ต่างๆ ของพืชและแอคทีฟคาร์บอน ผสมกับสารกันเชื้อรา จนกลายเป็นเส้นในสำหรับจุ่มทุเรียนทั้งผล และรอเส้นใยแห้ง จากการทดสอบพบว่าเส้นใยดังกล่าวช่วยลดกลิ่นไม่พึ่งประสงค์และลดการแตกของผล ทุเรียนได้
       
       4.“แถบบ่งชี้คุณภาพของมะพร้าวน้ำหอม” นวัตกรรมบอกคุณภาพมะพร้าวน้ำหอมโดยไม่ต้องเปิดผล โดยใช้เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะพัฒนาแถบสีวัดการเน่าเสียของมะพร้าวจาก การเปลี่ยนสีบนฉลาก เพื่อช่วยการส่งออกมะพร้าวน้ำหอมไปยังตลาดต่างประเทศ และยังใช้ได้กับตลาดภายในประเทศด้วย
       
       5.“นวัตกรรมถุงห่อชมพู่” เป็นนวัตกรรมสำหรับห่อชมพู่ทับทิมจันท์ก่อนเก็บเกี่ยว ซึ่งช่วยให้ชมพู่หลานกรอบและเร่งให้สีสวย โดยนำฉนวนกันร้อนมาตัดเย็บเป็นถุงขนาดพอดีกับผลชมพู่ และเย็บผ้าตีนตุ๊กแกเพื่อให้พับติดง่าย และมีเชือกด้ายเพื่อดูดซับและระบายน้ำออกจากถุง ซึ่งผลการทดลองพบว่า ชมพู่มีผิวมันวาว สีแดงสด และมีรสชาติหวานกรอบกว่าชมพู่ที่ห่อด้วยถุงปกติ
       
       นอกจากนี้ คณะวิจัย ม.ธรรมศาสตร์ยังมีนวัตกรรมสำหรับผลไม้เพื่อการส่งออก ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตของเกษตรกร อื่นๆ นวัตกรรมปอกเปลือกมะพร้าวแบบเร็วด่วนนาทีละ 5 ผล และนวัตกรรมเพื่อให้มะพร้าวน้ำหอมลูกดกตลอดทั้งปี โดยใช้เครื่องฉีดพ่นที่พัฒนาขึ้นร่วมกับสารละลายล้างช่อดอก และสารละลายเกสรมะพร้าว ฉีดพ่นสารในระยะที่ดอกตัวเมียบานพร้อมผสม ซึ่งช่วยกำจัดเชื้อราและได้มาตรฐานอินทรีย์
       
       รศ.วรภัทร ลัคนทินวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยขั้นสูง อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวว่า ผลไม้ไทย อาทิ ลำไย ทุเรียน มะพร้าว ชมพู่ ถือเป็นพืชเศรษฐกิจหนึ่งที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ โดยข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์นั้น ในปี 2559 นี้ มีการส่งออกผลไม้สดไทยเป็นมูลค่ารวมกว่า 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปยังตลาดเป้าหมายหลักอย่าง ประเทศจีน และรองลงมา ได้แก่ ฮ่องกง และเวียดนาม
       
       “ทว่าเกษตรกรเจ้าของสวนผลไม้ไทยกลับสูญเสียเวลาและค่าใช้จ่ายไปกับ การดูแลบำรุงดิน และปรับคุณภาพผลไม้ให้มีรสชาติอร่อยและสีผิวเรียบสวย เพื่อลดความสูญเสียของเวลาและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น แล้วส่งออกผลไม้แข่งขันเทียบกับตลาดต่างประเทศได้ ภาควิชาจึงได้คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมต่างๆ เพื่อยกระดับรายได้แก่เกษตรกรไทย โดยบูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตร ก่อนต่อยอดสู่งานวิจัยและนวัตกรรมที่ใช้ได้จริง” รศ.วรภัทรกล่าว
       
       ด้าน รศ.ปกรณ์ เสริมสุข คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า มธ. ได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในมิติผสมผสาน อย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิด “นักวิทย์คิดประกอบการ” โดยมุ่งสร้างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีความสามารถประกอบการอย่างชาญฉลาด สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และผลักดันผลงานเข้าสู่วงการธุรกิจได้
       
       “ที่ผ่านมาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้พัฒนานวัตกรรมและต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์จำนวนมาก อาทิ ปลาส้มอบแผ่นปรุงรสสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากปลาส้มอุดมโปรตีนแต่ไขมันต่ำ วัสดุกักเก็บน้ำมันรั่วจากน้ำยางพารา ข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์ข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ทนแล้ง และต้านทานโรค รวมไปถึงงานวิจัยที่พร้อมพัฒนาเป็นสตาร์ท-อัพ เช่น จมูกอิเล็กทรอนิกส์สำหรับควบคุมคุณภาพอาหาร เครื่องพยากรณ์โรคต้นข้าวในนาข้าว สารย่อยสลายเศษพืชและฟางข้าว ระบบเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กเพื่อผลิตปุ๋ยชีวภาพ” รศ.ปกรณ์ระบุ
       
       สำหรับเกษตรกร ชาวสวน และผู้ประกอบการที่สนใจ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ศูนย์รังสิต หมายเลขโทรศัพท์ 0-2564-4491หรือทางเว็บไซต์ http://www.sci.tu.ac.th


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : 5 นวัตกรรมไทยเพื่อส่งออก ผลไม้สด

view