สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

200 ปีชีวีเป็นสุข ความก้าวหน้าของไบโอเทคโนโลยี

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ ช่วยกันคิด โดย สื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์

เมื่อไม่นาน "ธนินท์ เจียรวนนท์" ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เดินทางไปกับรัฐบาลไทย เพื่อร่วมประชุมด้านเศรษฐกิจที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในงานดังกล่าว ประธานเครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวถึงธุรกิจที่กำลังให้ความสนใจเป็นลำดับแรกในขณะนี้ คือธุรกิจไบโอเทคโนโลยี เพราะเป็นเทรนด์สำคัญของโลกอนาคต และไบโอเทคโนโลยีสาขาที่ซีพีจะเน้นคือส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร และธุรกิจการเกษตร พันธุ์พืชทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของซีพี รวมถึงพันธุ์ปลา กุ้ง ไปจนถึงการพัฒนาอาหารสุขภาพที่กินแล้วช่วยให้อายุยืนได้ถึง 200 ปี

สิ่งที่ประธานธนินท์กล่าวถึง "มนุษย์จะมีอายุ 200 ปีในอนาคต" นั้น ไม่เกินเลยจากความเป็นจริง เพราะขณะนี้เครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมมือกับ 4 นักวิทยาศาสตร์ระดับท็อปเทนของโลก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ศึกษาและวิจัยถึงความก้าวหน้าด้าน "ไบโอเทคโนโลยี" ล่าสุด ที่ไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อวงการแพทย์ และชีวิตมนุษย์เท่านั้น แต่ยังจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคการเกษตรและอาหารของโลกอย่างมหาศาล



ศาสตราจารย์ จอร์จ เชิร์ช
(George Church) อาจารย์ภาควิชาพันธุศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard Medical School) เป็น 1 ใน 10 นักวิทยาศาสตร์ระดับโลก มีชื่อเสียงโดดเด่นในด้านไบโอเทคโนโลยี และมีผลงานโดดเด่นในวงการพันธุศาสตร์มากมาย ล่าสุดประสบความสำเร็จในการคิดค้นนวัตกรรมที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ด้านพันธุวิศวกรรมที่เรียกว่า "คริสเปอร์" (CRISPR - Clusterd Regularly Interspaced Short Palindromic Repeats) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของโลก

ศาสตราจารย์เชิร์ช กล่าวถึง "คริสเปอร์" ว่า เป็นเทคโนโลยีด้านพันธุวิศวกรรมในสิ่งมีชีวิต โดยเป็นการควบคุมกระบวนการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมตามธรรมชาติให้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น

ยก ตัวอย่างโครงการที่กำลังศึกษาขณะนี้คือการปรับปรุง"พันธุ์ยุง"เพื่อไม่ให้ เป็นพาหะของโรคมาลาเรียนอกจากนี้ยังมีโครงการวิจัยร่วมกับนักวิจัยจากเครือ เจริญโภคภัณฑ์เพื่อพัฒนาสายพันธุ์"สุกร" ให้แข็งแรง สามารถต้านทานโรคต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้บริโภค

เทคนิคคริสเปอร์นี้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายด้าน ทั้งด้านการแพทย์ การเกษตร หรือการแก้ปัญหาพาหะนำโรค ซึ่งถ้าหากเราสามารถทำให้สัตว์มีความแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย ก็จะทำให้สัตว์ดำรงชีวิตอย่างมีความสุขมากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเป็นอาหารที่ปลอดภัยของมนุษย์


นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาวิธีการรักษาและป้องกันโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย โดยใช้ หลักพันธุศาสตร์และชีวเคมี ถือเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าทางด้านไบโอเทคโนโลยี

ศาสตราจารย์จอห์น เมคาลานอส
(John Mekalanos) หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยาและชีววิทยาภูมิคุ้มกัน (Microbiology and Immunobiology) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด 1 ในคณะนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก ที่เชี่ยวชาญด้านนี้ เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กำลังทำโครงการศึกษาแบคทีเรียสายพันธุ์ Vibrio Parahaemolyticus ที่ก่อให้เกิด โรคตายด่วนในกุ้ง (Early Mortality Syndrome หรือ EMS) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับกุ้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมการผลิตกุ้ง โดยได้พัฒนาเทคโนโลยีขึ้น เพื่อวิเคราะห์หายีนที่ทำให้ก่อเกิดโรคของแบคทีเรียสายพันธุ์นี้

สิ่ง ที่ศาสตราจารย์เมคาลานอสกำลังทำเป็นการร่วมงานกับนักวิจัยของเครือเจริญ โภคภัณฑ์เพื่อหาสาเหตุว่าแบคทีเรียชนิดนี้ทำให้เกิดโรคได้อย่างไรและเมื่อ เข้าใจแล้วก็จะสามารถเข้าไปแก้ปัญหาได้โดยอาจทำให้กุ้งต้านทานโรคด้วยการ ปรับปรุงพันธุ์หรืออาจจะหาวิธีจัดการกับแบคทีเรียโดยใช้วิธีการทางเคมีหรือ ชีววิทยา หรือใช้โปรไบโอติกส์ (การนำเอาแบคทีเรียที่ดีไปต่อสู้กับแบคทีเรียก่อโรคที่แอบแฝงอยู่ในทางเดิน อาหารของกุ้ง) หากทำได้สำเร็จ ผลประโยชน์จะตกอยู่กับประเทศไทย ในฐานะผู้ส่งออกกุ้ง เพราะที่ผ่านมากว่าร้อยละ 30 ของกุ้งที่เลี้ยงในไทยเสียหายไปเพราะโรคนี

ศาสตราจารย์ จอห์น เมคาลานอส ยังได้กล่าวถึงงานวิจัยเกี่ยวกับระบบแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์ ที่เรียกว่า "คอนซอร์เทียม" หรือ "ไมโครไบโอม" ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในขณะนี้ เพราะหากแบคทีเรียทั้งหมดในร่างกายถูกทำลาย จะมีผลกระทบต่อร่างกายตามมา ทั้งนี้ มีหลักฐานยืนยันแล้วว่าโรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับหัวใจ หรือแม้แต่โรคที่ไม่คิดว่าจะเกิดจากปัจจัยทางชีวภาพอย่างโรคอัลไซเมอร์ อาจเกิดจากความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกายก็เป็นได้

เวลานี้ คนเรารู้แล้วว่าแบคทีเรียอาจทำให้เกิดโรคต่างๆไม่เพียงแค่โรคติดเชื้อเท่า นั้นแต่อาจรวมไปถึงโรคเรื้อรังต่างๆด้วยความสามารถในการนำแบคทีเรียออกมาที ละชนิดและจัดการกับตัวร้าย โดยไม่ยุ่งกับตัวอื่น เป็นเรื่องที่น่าจับตามองอย่างมากนับจากนี้ต่อไป และอาจจะเกิดขึ้นจริงในช่วงชีวิตนี้


ในระยะแรกนี้ การใช้วิทยาการทางด้านไบโอเทคโนโลยี จะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะเจาะจงที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตเพียงไม่กี่ชนิด อย่างไรก็ตาม หากประสบความสำเร็จ เทคโนโลยีเหล่านี้จะมีความสำคัญอย่างยิ่ง และจะช่วยสร้างโอกาสได้อย่างมหาศาลในภายหลัง โดยสามารถนำมาต่อยอดและนำไปใช้ในงานวิจัยอีกหลายสาขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการโรคในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของมนุษย์โดยตรง

อีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจไม่แพ้กันในแวดวงไบโอเทคโนโลยีระดับโลกขณะนี้คือการยืดอายุและการชะลอความชราในมนุษย์หรือการทำให้มนุษย์เรามีอายุยืนมีชีวิตอยู่ได้ถึง200ปี โดย ศาสตราจารย์ เดวิด ซินแคลร์ (David Sinclair) อาจารย์ภาควิชาพันธุศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่มีชื่อเสียงด้านการยืดอายุและยาอายุวัฒนะ จากการค้นพบสารตระกูล STAC (Sirtuin Activating Compounds) ซึ่งช่วยกระตุ้นการทำงานของโปรตีนตระกูล Sirtuin ที่มีหน้าที่ซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ DNA และช่วยยืดอายุสิ่งมีชีวิ

ความก้าวหน้าล่าสุด ที่ศาสตราจารย์ เดวิด ซินแคลร์ ศึกษา เป็นการนำสาร STAC ไปพัฒนาเป็น "ยา" หรือ "อาหาร" เพื่อช่วยชะลอความชราและยืดอายุของมนุษย์ และจากการทดลองกับหนูพบว่าสารดังกล่าวสามารถชะลอความแก่ของหนู และทำให้หนูมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้นถึง 30%
ดังนั้น จึงหวังว่าจะนำการศึกษาและผลการค้นพบดังกล่าวมาใช้กับมนุษย์ได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้

ขณะ ที่การพัฒนายาอายุวัฒนะยังอยู่ระหว่างการทดลองกับมนุษย์และทดสอบด้านความ ปลอดภัยการจำกัดอาหาร(Dietaryrestriction)หรือการจำกัดแค ลอรี่(CalorieRestriction) ก็อาจจะเป็นอีกวิธีที่จะสามารถช่วยยืดอายุของสิ่งมีชีวิตได้ รองศาสตราจารย์ เจมส์ มิทเชล (James Mitchell) อาจารย์ภาควิชาพันธุศาสตร์และโรคซับซ้อน (Genetics and Complex Diseases) คณะสาธารณสุขศาสตร์ (School of Public Health) มหาวิทยาฮาร์วาร์ด ใช้การวิเคราะห์ทางพันธุศาสตร์และชีวเคมี วิจัยพบว่าการจำกัดปริมาณอาหาร สามารถช่วยยืดอายุขัยของหนูรวมทั้งมนุษย์ได้

อย่างไรก็ตาม การจำกัดปริมาณอาหารในมนุษย์นั้นเป็นเรื่องยาก ดังนั้น จึงอยู่ระหว่างการทดลองเพื่อพัฒนาอาหารที่มีปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม แต่ไม่ลดปริมาณอาหารที่รับประทาน เพื่อยืดอายุของมนุษย์ ในเบื้องต้นจากการทดลองในหนูพบว่าหนูมีสุขภาพที่ดีขึ้น และในส่วนของมนุษย์นั้นสามารถบรรเทาอาการโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังผ่าตัดได้

การศึกษานี้ทำให้เกิดสมมุติฐานใหม่ว่า โปรตีนที่มนุษย์เรากินเข้าไปต่างหาก ที่ไปควบคุมการใช้สารอาหารอื่น ๆ ในร่างกาย ดังนั้น ถ้าเราควบคุมปริมาณโปรตีนได้ ก็อาจจะส่งผลในเรื่องของอายุขัยและสุขภาพตามที่ต้องการ


เพราะการมีอายุยืนเป็นเรื่องดี แต่คงไม่มีใครอยากอายุยืนและเป็นโรค จึงต้องหาวิธีการที่จะมีทั้งอายุยืนและมีสุขภาพที่ดี ดังนั้น งานวิจัยทั้งหลายที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ร่วมมือกับทีมแพทย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก็เพื่อคิดค้นหาสูตรอาหารสุขภาพ เพื่อให้มีปริมาณพอเหมาะและรสชาติดี เหมาะกับสภาพของมนุษย์ โดยเฉพาะคนที่กินเกินความพอดี ทั้งหมดนี้ ถ้าทำสำเร็จคงจะเปลี่ยนโฉมทางด้านสุขภาพของคนทั่วโลกเลยทีเดียว เพราะโรคหลายโรค อย่างโรคอ้วน โรคมะเร็ง เป็นผลพวงมาจากการบริโภคมากจนเกินไปจนส่งผลเสียต่อร่างกาย

การที่มนุษย์มีสุขภาพดี และมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น จะส่งผลต่อโลกและมวลมนุษยชาติอย่างมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเศรษฐกิจ เพราะจะสามารถช่วยประหยัดเงินที่ต้องสูญเสียไปกับการรักษาโรคและการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือในบ้านพักผู้ป่วย ซึ่งมีมูลค่าหลายสิบล้านล้านเหรียญสหรัฐ


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : 200 ปีชีวีเป็นสุข ความก้าวหน้าของไบโอเทคโนโลยี

view