สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

NOW Choose news สู้สมศักดิ์ศรี! "บิ๊กตู่" ให้กำลังใจนักตบสาวไทย ชี้ แพ้ในเกมแต่ชนะใจกองเชียร์ แกลลอรี่/วีดีโอ ประชาชาติไลฟ์ นสพ.ฉบับล่าสุด การฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้หลังการทำเหมืองแร่

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์เปิดมุมมอง

โดย ฐปรัฏฐ์ สีลอยอุ่นแก้ว TEAM GROUP


จากอดีตที่ผ่านมาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา พยายามเร่งรัดดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจเพื่อยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ มีการนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์

ประเภทหนึ่ง คือ ถ่านหินลิกไนต์ ซึ่งในการทำเหมืองแร่นำถ่านหินลิกไนต์มาใช้ประโยชน์ ต้องมีการเปิดหน้าดินออกก่อนต่อจากนั้นจึงขุดลึกลงไปเป็นแถบในชั้นดินและหิน เพื่อนำถ่านหินลิกไนต์มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ

ในการเปิดหน้าดินออกนั้นต้องเคลื่อนย้ายหน้าดิน หินผุ และเศษหิน ออกไปกองในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง เรียกว่า พื้นที่ทิ้งดิน(Dumping areas) จากนั้นเมื่อทิ้งวัสดุจากบ่อเหมืองเสร็จสิ้นแล้ว พื้นที่เหล่านี้จะได้รับการฟื้นฟูตามแนวคิดในการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ภายหลังจากการทำเหมืองลิกไนต์ โดยการปลูกต้นไม้ชนิดต่าง ๆ และปล่อยให้มีการทดแทนของพืชพรรณไม้ตามธรรมชาติ

การปลูกป่าฟื้นฟูพื้นที่บริเวณเหมือง ด้วยการปลูกพันธุ์ไม้ท้องถิ่นชนิดต่าง ๆ เป็นวิธีการสากล สามารถจัดแบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ คือ

1.การปลูกพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ เพื่อทดสอบการเจริญเติบโตในรูปแบบของการทดลอง (Species trials) 2.การปลูกต้นไม้ตามพื้นที่สำนักงาน ข้างถนน และบริเวณต่าง ๆ (Tree planting in office areas, roadsides and others) โดยมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย ได้แก่ เพื่อให้เกิดความร่มรื่น ความสวยงาม ป้องกันฝุ่นละออง ฯลฯ 3.การปลูกต้นไม้ในรูปแบบของป่าปลูกตามพื้นที่ทิ้งดิน (Dumping areas) และพื้นที่ทิ้งขี้เถ้า (Ash dumping areas) พร้อมกับปล่อยให้มีการทดแทนของพรรณไม้ตามธรรมชาติ 4.การปลูกต้นไม้เป็นแนวหรือเป็นแถบตามพื้นที่บริเวณโดยรอบเหมือง ที่เป็นรอยต่อกับพื้นที่ชุมชน เพื่อลดมลพิษทางเสียง ฝุ่นละออง ให้เกิดความร่มรื่นและสวยงาม 5.การปลูกพืชพรรณไม้แบบสวนสาธารณะเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ

ทั้งนี้ เนื่องจากพื้นที่สำหรับการปลูกป่าเป็นพื้นที่ทิ้งดิน และบางส่วนเป็นพื้นที่ทิ้งขี้เถ้า วัสดุรองรับ (Substrate) จึงมีความผันแปรไปตามบริเวณต่าง ๆ ทำให้สมบัติทางกายภาพและเคมีของ วัสดุรองรับ มีความแตกต่างกัน ซึ่งคุณสมบัติของวัสดุรองรับที่แตกต่างกันดังกล่าว จะส่งผลต่อความสามารถในการปลูกต้นไม้ขึ้น ตลอดจนอัตราการรอดตายและการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ที่นำไปปลูก

ปัญหาที่สำคัญของการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ภายหลังการทำเหมืองแร่ก็คือการคัดเลือกชนิดพันธุ์ไม้ที่เหมาะสม(Species selection) ด้วยอัตราการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ที่แตกต่างกัน จึงควรเลือกชนิดพันธุ์ไม้ที่สามารถปลูกขึ้นได้ดี รวมทั้งคำนึงถึงผลกระทบของพันธุ์ไม้ที่มีต่อลักษณะดิน และปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ

ส่วนวิธีการปลูกป่าอาจแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ การปลูกป่าที่มีพันธุ์ไม้ชนิดเดียว หรือป่าชนิดเดียวล้วน และการปลูกป่าที่มีพันธุ์ไม้หลายชนิด หรือป่าปลูกแบบผสม

การปลูกป่าทั้งสองแบบมีทั้งข้อดีและข้อเสีย สำหรับ ข้อดี ของ การปลูกป่าแบบชนิดเดียวล้วน คือ เป็นการลดการแก่งแย่งระหว่างพันธุ์ไม้ต่างชนิดกัน ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตรวดเร็ว สามารถดูแลรักษาหรือจัดการได้ง่าย ซึ่งเหมาะสำหรับพันธุ์ไม้ที่ชอบแสง แต่มี ข้อเสีย คือ ระบบนิเวศที่เกิดขึ้นมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืชน้อย อาจถูกรบกวนจากโรคแมลงและไฟป่าได้ง่าย เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ซากใบไม้อาจทำให้ดินเป็นกรดมาก หรือเป็นพันธุ์ไม้ที่ต้องการน้ำมาก ถ้าเป็นพันธุ์ไม้ผลัดใบก็จะทำให้สภาพอากาศร้อนมากในช่วงฤดูแล้ง เป็นต้น

การปลูกป่าแบบผสมที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิด แม้ว่าจะมี ข้อดี ทางด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมมากกว่าป่าชนิดเดียวล้วน แต่ก็มี ข้อเสีย คือ ถ้านำพันธุ์ไม้ชนิดที่ไม่เหมาะสมมาปลูกร่วมกัน ก็อาจจะเกิดการแก่งแย่งปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ระหว่างพันธุ์ไม้ ได้แก่ การแก่งแย่งแสง ธาตุอาหาร น้ำ พื้นที่อยู่อาศัย เป็นต้น ซึ่งอาจจะทำให้พันธุ์ไม้บางชนิดมีการเจริญเติบโตช้า หรือตายไปในที่สุด

จากการประเมินการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ในพื้นที่ปลูกฟื้นฟูป่ากรณีทำเหมืองลิกไนต์บริเวณโรงไฟฟ้าหงสาเมืองหงสาแขวงไซยะบุรี ประเทศลาว ซึ่งมีวิธีการปลูกแบบผสม โดยเริ่มปลูกพันธุ์ไม้ฟื้นฟู 4 ชนิด คือ กระถินณรงค์ (Acacia auriculaeformis)กระถินเทพา (Acacia mangium) เลี่ยง (Melia azedarach) และไผ่บง (Bambusanatans) ในปี พ.ศ. 2555 พันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีที่สุด คือ กระถินเทพา รองลงมาคือ กระถินณรงค์ เลี่ยง ส่วนไผ่บงมีอัตราการรอดตายน้อยมาก และได้มีการปลูกเพิ่มชนิดพันธุ์ไม้มากขึ้นถึง 28 ชนิด ในปี พ.ศ. 2556, 2557 และ 2558 ตามลำดับ เช่น ชัยพฤกษ์ (Cassia fistula) กัลปพฤกษ์ (Cassia bakeriana) หางนกยูงฝรั่ง (Delonix regia) เหลืองอินเดีย (Tabebuia chrysantha) กระดุมทอง (Melampodium paludosum) มะขามป้อม(Phyllanthus emblica) เป็นต้น โดยไม้กระถินณรงค์และกระถินเทพายังคงเป็นพันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ดังกล่าว

ดัง นั้นการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ภายหลังการทำเหมืองในแต่ละพื้นที่จึงมีความแตก ต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในพื้นที่นั้นๆ การเลือกวิธีการปลูกและชนิดพันธุ์พืชก็มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะส่งผลให้ การฟื้นฟูระบบนิเวศให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแต่ละโครงการ

ใน อนาคตคาดว่าพื้นที่ปลูกฟื้นฟูป่าดังกล่าวจะมีความอุดมสมบูรณ์และมีแนวโน้ม ใกล้เคียงกับป่าธรรมชาติมากที่สุดแม้ว่าอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย10-20 ปี จึงจะเห็นความเปลี่ยนแปลงก็ตาม เมื่อถึงตอนนั้นพรรณไม้เบิกน้ำที่ปลูกจะตายลงและมีพรรณไม้รุ่นใหม่พวกทนร่ม ขึ้นทดแทน เป็นระบบนิเวศ

ป่าหลายชั้นอายุ ที่มีความสมดุลของการหมุนเวียนธาตุอาหารในระบบนิเวศป่าไม้เป็นป่าที่สมบูรณ์ ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม และช่วยปรับภูมิอากาศในพื้นที่ให้มีความสมดุลต่อไป


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : NOW Choose news สู้สมศักดิ์ศรี! "บิ๊กตู่" ให้กำลังใจนักตบสาวไทย ชี้ แพ้ในเกมแต่ชนะใจกองเชียร์ แกลลอรี่/วีดีโอ ประชาชาติไลฟ์ นสพ.ฉบับล่าสุด การฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้หลังการทำเหมืองแร่

view