สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แล้งนี้สาหัส คนไทยเดือดร้อนทั่วหน้า

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์สามัญสำนึก โดย ถวัลย์ศักดิ์ สมรรคะบุตร

ขึ้นต้นปีใหม่ยังไม่ทันถึงเดือน สถานการณ์ภัยแล้งภายในประเทศได้ส่อเค้าจะทวีความรุนแรงมากกว่าปี 2558 ใน 3 พื้นที่ของประเทศ ได้แก่ ภาคเหนือ-ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากตัวเลขน้ำต้นทุนใช้การได้จริงของอ่างเก็บน้ำในเขื่อนหลักทั่วประเทศที่ 15,091 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 32% เอาเข้าจริงในภาคกลางมีปริมาณน้ำใช้การได้จริงแค่ 666 ล้าน ลบ.ม. หรือ 42% (รวมขุนด่านปราการชล), ภาคเหนือ 3,211 ล้าน ลบ.ม. หรือ 18% และภาคอีสาน 1,942 ล้าน ลบ.ม. หรือ 29% เท่านั้น

หรือเริ่มต้นด้วยปริมาณน้ำต้นทุนที่น้อยลงอย่างน่าใจหาย

หากโฟกัสไปที่อ่างเก็บน้ำหลักใน 4 เขื่อนใหญ่ ภูมิพล-สิริกิติ์-แควน้อยบำรุงแดน-ป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งเป็นตัวชี้เป็นชี้ตายของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จะพบความจริงที่น่าตกใจว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนปีนี้เริ่มต้นต่ำกว่าปีที่ผ่านมาหรือปริมาณน้ำในเขื่อนหายไปกว่าครึ่ง จากปัจจุบันมีน้ำเหลืออยู่แค่ 3,572 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 20% ขณะที่กรมชลประทานจะต้องจัดการน้ำไปจนถึงต้นเดือนมิถุนายน

ด้วยความหวังเพียงอย่างเดียวว่า ปีนี้ฝนจะตกตามฤดูกาล ไม่ล่าไปถึงเดือนกรกฎาคม เหมือนอย่างปีที่ผ่านมา

ดังนั้นปัญหาจึงอยู่ที่ว่า ทุกภาคส่วนของประเทศจะผ่านพ้นช่วงวิกฤตการณ์ภัยแล้งปีนี้ไปได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ภาคการเกษตร ในพื้นที่ชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยา แหล่งปลูกข้าวสำคัญ กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ดูเหมือนว่า แผนบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทานปีนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทอดทิ้งภาคการเกษตรที่ปลูกข้าวเกินไปกว่าแผนที่กำหนด โดยตัวเลขของกรมชลประทาน ณ วันที่ 6 มกราคม 2559 ระบุมีการปลูกข้าวไปแล้วกว่า 1,636,000 ไร่ และมีแนวโน้มว่าชาวนาจะปลูกข้าวนาปรังต่อเนื่องออกไปอีก อาจจะไปถึงกว่า 2 ล้านไร่ ซึ่งแน่นอนว่า กรมชลประทานไม่สามารถจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรได้ เนื่องจากต้องกันน้ำจาก 4 เขื่อนหลักไว้เพื่อการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลักดันน้ำเค็มไม่ให้ไหลขึ้นมาถึงแหล่งน้ำประปาที่สำแล ปทุมธานี ตลอดแล้งนี้


การขอความร่วมมือให้ชาวนาลดการปลูกข้าวลงโดยรัฐจัดมาตรการช่วยเหลือ 8 มาตรการ (ระยะเวลาดำเนินการ 1 พฤศจิกายน 2558-30 เมษายน 2559) งบประมาณ 11,151.82 ล้านบาท ดูจะถูกดำเนินการไปอย่างเลื่อนลอย

ไม่ว่าจะเป็นมาตรการส่งเสริมความรู้และการสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน อาทิ การปลูกพืชทดแทนนาปรัง-การสร้างรายได้จากปศุสัตว์-การทำประมงในฤดูแล้ง-การปรับปรุงคุณภาพดิน ไปจนถึงโครงการช่วยเหลือลดค่าครองชีพและสร้างศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชน สะท้อนผ่านตัวแทนชาวนาออกมาในลักษณะที่ว่า ส่งเสริมให้ปลูกพืชทดแทน ขุดบ่อเลี้ยงปลา แต่ไม่มีตลาด ขาดความรู้ในการจัดการ การจัดสินค้าราคาถูกไปจำหน่าย แต่เกษตรกรไม่มีกำลังซื้อ ไปจนถึงตลกร้ายอย่างปลูกถั่วเขียวถูกแมลงรุมกินตายยกไร่

มาตรการ ชะลอ/ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ที่เกษตรกรมีภาระหนี้กับสถาบันการเงินอาทิการ ให้สินเชื่อเพิ่มเติมของธ.ก.ส.-สินเชื่อเพื่อสร้างงานในชุมชน-สินเชื่อ โครงการธนาคารประชาชน-สินเชื่อSMEsและสินเชื่อเพิ่มสมาชิกสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกร เท่ากับเกษตรกร/ชาวนาต้องเป็นหนี้เพิ่มจากที่มีอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่หนี้เดิมก็ไม่ได้หายไปไหน และยังจะสร้างหนี้ก้อนใหม่ขึ้นมาอีก โดยไม่มีหลักประกันใดว่า ฤดูการผลิตต่อไปจะไม่เกิดภัยแล้งขึ้นมาอีก

มาตรการจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานจัดการน้ำชลประทาน ดูจะจ้างงานให้กับเกษตรกรเพื่อบรรเทาภาวะปลูกข้าวไม่ได้ แต่ก็ถูกจำกัดด้วยงบประมาณเพียง 1,025 ล้านบาท จะช่วยชาวนาทั้งประเทศให้ผ่านแล้งนี้อย่างทั่วถึงไปได้อย่างไร

ดัง นั้นปัญหาภัยแล้งปีนี้จึงนับเป็นการสาหัสสากรรจ์ไม่เพียงแต่ชาวไร่ชาวนาเท่า นั้นแต่จะรวมไปถึงชาวเมืองอาจถึงขั้นขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้หากยังลดปริมาณการ ใช้น้ำและการปลูกข้าวลงไม่ได้


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : แล้งนี้สาหัส คนไทยเดือดร้อนทั่วหน้า

view