สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

บิ๊กฉัตร-กยท.บูมกำลังซื้อยางในปท. เร่งแบงก์ปล่อยกู้สถาบันเกษตรกร-ผู้ประกอบการ

จากประชาชาติธุรกิจ

บอร์ดใหม่ กยท.ฟิต เร่งหาสินเชื่อให้สถาบันเกษตรกรผลิตผลิตภัณฑ์จากยางพารา พร้อมรณรงค์ขายผู้ซื้อในประเทศเพื่อกู้ราคายาง "ฉัตรชัย" หายท้อแท้ ลุยแก้ปัญหาการปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการวงเงิน 2.5 หมื่นล้านที่ชะงักมานาน

นายสังข์เวิน ทวดห้อย กรรมการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงแนวทางการแก้ไขปัญหายางพาราตกต่ำว่า เนื่องจากยังไม่มีการประชุมของคณะกรรมการหรือบอร์ด กยท. จึงยังไม่ทราบว่าออร์เดอร์ยาง 2 แสนตันที่ กยท.ขายให้บริษัท ซิโนเค็ม จำกัดของจีน จะซื้อจากเกษตรกรด้วยวิธีไหน ซื้ออย่างไร ราคาเท่าไหร่ แต่สิ่งที่บอร์ด กยท.จะดำเนินการเพื่อให้ราคายางกระเตื้องขึ้นก็คือ การนำมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการแก้ปัญหาราคายางไปดำเนินการให้เป็นรูปธรรมทันทีและทำให้ต่อเนื่อง

โดยเฉพาะการเร่งดำเนินการตามมาตรา 49 (3) ของ พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทยปี 2558 ที่จะช่วยเหลือสถาบันเกษตรกรที่มีความพร้อม จะเร่งหาเงินทุนหมุนเวียนเพื่อรับซื้อยางหรือทำผลิตภัณฑ์ยางพาราให้ เพื่อนำมาผลิตผลิตภัณฑ์จากยางพารา อาทิ หมอน ที่นอนและอื่น ๆ จากยางพารา รวมทั้งรณรงค์ให้คนไทยช่วยการอุดหนุนสินค้าไทยที่ทำจากวัตถุดิบยางพาราให้มากที่สุด เพราะหากมีเงินทุนหมุนเวียนและมีการใช้ผลิตภัณฑ์ยางพาราในประเทศมาก จะช่วยราคายางที่ตกต่ำได้มาก นายสังข์เวินกล่าว

ทางด้าน พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องการแก้ไขปัญหายางพาราว่า ทางกระทรวงเกษตรฯดำเนินงาน 3 ระดับ คือ ระยะสั้น 4 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร เช่น การจ่ายเงินชดเชยรายได้เกษตรกร 1,000 บาท/ไร่ การสร้างความเข้มแข็ง 1,500 บาท/ไร่ และการลดต้นทุน โดยจะสามารถสะสมพันธุ์ยางดีให้เกษตรกร 60,000 ไร่ และปลูกไปแล้วกว่า 57,000 ไร่ และสุดท้ายคือการถ่ายทอดเทคโนโลยี จัดอบรมครู นอกจากนั้น ระยะกลางยังมีการสนับสนุนสินเชื่อผลิตภัณฑ์ผู้ประกอบการวงเงิน 15,000 ล้านบาท โดยมีปัญหาผู้ประกอบการไม่สามารถใช้เงื่อนไขจากธนาคารออมสินได้ ทางกระทรวงจึงต้องดำเนินการร่วมกับธนาคารพาณิชย์ เพื่อแก้ไขเงื่อนไขและลดขั้นตอนให้เร็วขึ้น อีกมาตรการหนึ่ง คือ สนับสนุนสินเชื่อเงินทุนผู้ประกอบการยาง วงเงิน 10,000 ล้านบาท

ส่วนปลายทางมีการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน ชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับสหกรณ์ วงเงิน 1 ล้านบาท ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ สหกรณ์ได้รับสินเชื่อ 370 แห่ง วงเงิน 4,500 ล้านบาท ซึ่งจะขยายระยะเวลาถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2559 ระยะกลางมีการสนับสนุนให้เกษตรกรเสริมอาชีพ เป็นโครงการให้เกษตรกรมีทางเลือก ตั้งวงเงินครั้งแรก 100,000 บาท/ราย ขณะนี้มีผู้สนใจมากจึงขยายวงเงินเป็น 15,000 ล้านบาท มีโครงการผลิตเพื่อเสริมรายได้ในสวนยางตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 1,100 ราย ส่วนแผนงานระยะยาวที่จะสร้างความเข้มแข็งคือ การโค่นต้นยางและปลูกพืชทดแทน ตอนนี้เกษตรโค่นยางไปแล้ว 35,000 ไร่ และมีการสนับสนุนสถาบันแปรรูปยาง วงเงิน 5,000 ล้านบาท โครงการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ยางในประเทศและโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการ ปลายทางสุดคือการพัฒนาตลาดตามแผนแม่บทโครงสร้างระบบตลาดยางพารา และการจัดตั้งพัฒนาอุตสาหกรรมยาง

สำหรับยางฯ ครั้งแรกในสัปดาห์หน้า ส่วนเรื่องการขึ้นทะเบียนและการเร่งรัดจ่ายเงิน 1,500 บาท/ไร่ ให้แก่เกษตรกรเพื่อสร้างความเข้มแข็งว่า "ขณะนี้มีบัญชีเกษตรกรผู้ทำสวนยางอยู่ 8 แสนกว่าราย แต่ปัจจุบันเราต้องทำตาม พ.ร.บ.การยางฯ ซึ่งการจะช่วยเหลือเกษตรกรต้องให้เกษตรกรมาขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และข้อมูลตอนนี้หลังจากรวมกับกรมส่งเสริมการเกษตร พบว่าปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนกว่า 4 แสนราย โดยจะสามารถดำเนินงานจ่ายเงินได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้ คณะกรรมการตำบลต้องไปตรวจสอบสิทธิ์ภายใน 5 วัน หลังครบกำหนดจะมีคณะกรรมการรับรองสิทธิ์โอนเงินให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จ่ายเงินให้แก่เกษตรกร ภายใน 7-10 วัน และคาดว่าวันนี้อาจมีเกษตรกรที่เข้ามาลงทะเบียนถึง 5 แสนราย และกระบวนการจ่ายเงินให้เกษตรกรจะต้องเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้"


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : บิ๊กฉัตร-กยท.บูมกำลังซื้อยางในปท. เร่งแบงก์ปล่อยกู้สถาบันเกษตรกร-ผู้ประกอบการ

view