สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

พบ แมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน แมงมุมพิษร้ายแรงในถ้ำเขตทหาร จ.กาญจนบุรี

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

พบ แมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน แมงมุมพิษร้ายแรงในถ้ำเขตทหาร จ.กาญจนบุรี

       พบ "แมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน" แมงมุมพิษร้ายแรงสำคัญระดับโลกครั้งแรกในไทย หลังลงพื้นที่สำรวจพบในถ้ำเขตทหาร อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เตือนประชาชนระวังหากโดนกัดอาจเนื้อเยื่อตายเฉพาะส่วน แต่อย่าตระหนกเกิน ระบุโลกยกให้เป็นแมงมุมตัวสำคัญทางการแพทย์
       
       ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพสธ.) แถลงข่าวการค้นพบ "แมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน" ครั้งแรกในประเทศไทย ณ ห้อง 217 ตึกเคมี 2 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 20 ม.ค.59
       
       ดร.ณัฐพจน์ วาฤทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฏวิทยา กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพในบริเวณถ้ำภายในพื้นที่โครงการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอัน เนื่องมาจากพระราชดำาริฯ (อพ.สธ.) อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เมื่อช่วงปี 2558 ที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกีฏวิทยาฯ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่นำโดย นายนรินทร์ ชมภูพวง นิสิตระดับปริญญาเอก ได้ค้นพบ "แมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน" (Mediterranean recluse spider) ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า "ลอกโซเซเลส รูเฟสเซนส์" (Loxosceles rufescens) ซึ่งเป็นแมงมุมที่ไม่เคยมีประวัติการค้นพบในประเทศไทยมาก่อน
       
       "ในต่างประเทศให้ความสนใจกับแมงมุมนี้มาก เพราะมีรายงานการกัดทุกปีซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่ไปพบแพทย์จะทำให้เกิดอาการ อักเสบ เนื้อเยื่อตาย ซึ่งอาจจะนำมาสู่การติดเชื้อจนเสียชีวิตได้ เคยมีคนตายเพราะไม่ยอมไปหาหมอ จากเนื้อตายธรรมดาเลยติดเชื้อตาย แต่สรุปคือตายเพราะติดเชื้อ ไม่ได้ตายเพราะแมงมุม" ดร.ณัฐพจน์กล่าว
       
       สำหรับแมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียนมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศในเขต ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่ในขณะนี้พบว่ามีการแพร่กระจายในหลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ, เม็กซิโก, ประเทศในแถบยุโรป และออสเตรเลีย รวมถึงอีกหลายประเทศทางแถบเอเชียได้แก่ จีน, ไต้หวัน, เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น
       
       ส่วนการค้นพบครั้งนี้ ดร.ณัฐพจน์กล่าวว่าถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจบริเวณโดยรอบและถ้ำอีก 5 ถ้ำบริเวณใกล้เคียงกันทำให้ทราบว่าแมงมุมชนิดนี้มีการกระจายตัวภายในถ้ำที่ ค้นพบเท่านั้น ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตทหารที่ประชาชนทั่วไปเข้าไปไม่ได้
       
       "เราสันนิษฐานว่าแมงมุมชนิดนี้อาจเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ในระหว่างที่มีการขนส่งวัสดุและยุทโธปกรณ์จากญี่ปุ่นมายังไทยโดย เพราะถ้ำนี้ถูกใช้เป็นสถานที่เก็บอุปกรณ์การก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะ เพราะแมงมุมชนิดนี้มีรายงานการพบในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยก่อนเกิดสงคราม โลกครั้งที่ 2 ซึ่งงานวิจัยนี้ถือเป็นการค้นพบแมงมุมที่สาคัญทางการแพทย์ และได้รับการตอบรับตีพิมพ์ลงในวารสารวิจัยระดับโลก" ดร.ณัฐพจน์ กล่าวแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์
       
       สำหรับความเสี่ยงต่อการเป็นสัตว์ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน (invasive species) ดร.ณัฐพจน์ ระบุว่ามีโอกาสเป็นไปได้ แต่ยังไม่มีการระบาดไปยังนอกพื้นที่ในตอนนี้ เพราะเท่าที่ลงพื้นที่สำรวจทั้งบริเวณถ้ำที่พบแมงมุม และถ้ำใกล้เคียงอีกจำนวน 5 ถ้ำในรัศมีประมาณ 20 ตารางกิโลเมตร ยังไม่พบแมงมุมชนิดนี้แต่อย่างใดนอกจากถ้ำที่พบ ทำให้อนุมานได้ว่าแมงมุมยังไม่มีการอพยพนอกพื้นที่
       
       "อีกทั้งถ้าสันนิษฐานจากข้อมูลที่คาดว่าแมงมุมน่าจะเข้ามาตั้งแต่ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จะทำให้ยิ่งอุ่นใจขึ้นไปอีก เพราะขนาดเวลาผ่านไปแล้วเป็นเวลานานแมงมุมก็ยังไม่มีการระบาดออกไปยัง พื้นที่อื่น ฉะนั้นจึงอยากให้เรียกแมงมุมชนิดนี้ว่าเป็น สัตว์ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามา (introdused species)" ดร.ณัฐพจน์กล่าว
       
       ด้านนายนรินทร์ ชมภูพวง นิสิตปริญญาเอกผู้ค้นพบ กล่าวเสริมว่า แม้แมงมุมชนิดนี้จะมีชื่อเสียงในด้านพิษที่มีรุนแรง แต่ข้อมูลจากงานวิจัยและการเก็บสถิติเป็นเวลากว่าสิบปีในต่างประเทศ พบว่าคนที่โดนแมงมุมชนิดนี้กัด มีเพียง 10% เท่านั้น ที่จะเกิดแผลที่รุนแรงจนต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ โดยส่วนใหญ่แผลที่กัดจะเป็นเพียงตุ่มแดงคล้ายยุงกัดและหายได้ในเวลาไม่นาน
       
       ในประเทศบราซิลมีรายงานว่าอัตราการตายของคนที่ถูกแมงมุมชนิดนี้ กัดต่ำมากเพียง 0.05% หรือ 47 ราย จากทั้งหมด 91,820 ราย เนื่องจากแมงมุมชนิดนี้มีลักษณะนิสัยที่มักจะหลบซ่อนตามซอกมุมหากินกลางคืน ไม่มีนิสัยดุร้าย การโดนกัดส่วนใหญ่จะเกิดจากการสัมผัสโดยตรง หรือโดนตัวแมงมุมโดยบังเอิญจากการสวมรองเท้าหรือเสื้อผ้าที่มีแมงมุมเข้าไป อาศัย
       
       "จากการสำรวจโดยทีมนักวิจัยในขณะนี้พบว่า แมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียนมีการกระจายตัวในประเทศไทยในพื้นที่ที่แคบมาก ดังนั้นจึงไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนกมากเกินไป แต่การทราบถึงสถานะและการกระจายตัวของแมงมุมชนิดนี้ถือว่า เป็นข้อมลูที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างมากในการเฝ้าระวังและช่วยในการ วินิจฉัยอาการของแพทย์ในกรณีที่มีผ้ถูกแมงมุมกัด" นายนรินทร์กล่าว
       
       นรินทร์กล่าวว่าถ้ำที่พบแมงมุมเป็นถ้ำเล็กๆ ยาวประมาณ 25 เมตรในพื้นที่ อพสธ. พบแมงมุมชักใยเป็นเหมือนเส้นด้ายอยู่ประมาณ 500 ตัว โดยแมงมุมในสกุลลอกโซเซเลส นี้มีรายงานการพบแล้วมากกว่า 100 ชนิด แต่มีชนิดเดียวคือชนิดนี้ที่พบการกระจายตัวได้แล้วทั่วโลก ซึ่งปีที่แล้วได้พบในไทยเขาจึงดำเนินงานวิจัยเพื่อศึกษาต่อ
       
       "วินาทีแรกที่เห็นตกใจพอสมควร เพราะเคยเห็นแมงมุมมาเป็นพันๆ ตัว แต่ไม่เคยเจอแมงมุมลักษณะนี้มาก่อน เมื่อพบจึงเก็บมาเพื่อจัดจำแนกชนิดพันธุ์ด้วยการใช้อวัยวะสืบพันธุ์ จนในที่สุดทราบได้แน่ชัดว่าเป็นแมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน การรายงานครั้งนี้จะทำให้โลกเกิดการเฝ้าระวัง และจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ง่ายมากขึ้น ส่วนการตีพิมพ์ตอนนี้อยู่ระหว่างการแก้ไขขั้นตอนสุดท้าย ในการตีพิมพ์ลงวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ในอนาคตจะใช้ดีเอ็นเอศึกษาว่ามาจากทางรถไฟสายมรณะจริงหรือไม่" นรินทร์กล่าว
       
       หากโดนแมงมุมชนิดนี้กัดนายนรินทร์กล่าวว่าแพทย์จะรักษาตามอาการ เหมือนแผลอักเสบ เพราะขณะนี้ไม่มีเซรุ่มใดๆ ที่รักษาพิษแมงมุม นอกจากนี้เขายังเผยด้วยว่าไม่อยากให้ประชาชนทั่วไปตื่นตระหนก หรือทำลายแมงมุมทุกชนิดเพราะแมงมุมเป็นผู้สำคัญในระบบนิเวศ และเป็นผู้ควบคุมประชากรแมลงในระบบนิเวศ
       
       ส่วนโอกาสหลุดรอดมาสู่ชุมชนเมืองนั้น พล.ต.ณัฐพัชร สกุลรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการสำนักงานทหารพัฒนา หน่วยบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย กล่าวว่าเป็นไปได้ยาก เพราะถ้ำดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ของกองทัพ ซึ่งมีทหารดูแลเป็นอย่างดี นอกจากนี้นายนรินทร์ยังเผยอีกว่า ด้วยอุปนิสัยรักสงบ หากินกลางคืน และอยู่ประจำถิ่นของแมงมุมชนิดนี้ทำให้ความเป็นไปได้ที่จะอพยพไปนอกถ้ำมี น้อยลง
       
       ***ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับแมงมุมสันโดษเมดิตอร์เรเนียน***
       
       แมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียนส่วนใหญ่จะมีสีเหลืองน้ำตาล ลำตัวของแมงมุมชนิดนี้บางตัวจะมีสีน้ำตาลเข้มมองแล้วคล้ายกับไวโอลิน จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แมงมุมไวโอลิน แต่บางตัวจะมีสีซีดทำให้มองเห็น ลักษณะไวโอลินได้ไม่ชัดเจน ขนาดตัวประมาณ 7–7.5 มิลลิเมตร (จากส่วนฐานของเขี้ยวถึงปลายท้อง) ลำตัวมีลักษณะแบนเรียวลู่ คล้ายลูกศร ในบริเวณส่วนบนที่เป็นที่ตั้งของตา แมงมมุชนิดนีมีตา 3 คู่รวม 6 ตา (1คู่อยู่ด้านบน อีก 2 คู่อยู่ขนานกันด้านล่าง) ขามี 4 คู่ เรียวและยาวไปทางด้านข้าง ส่วนท้องมีลักษณะรีมีขนกระจายทั่วท้อง ซึ่งการระบุและจำแนกชนิดของแมงมุมอย่างชัดเจน จำเป็นต้องศึกษาลักษณะของอวัยวะสืบพันธุ์ของตัวผู้หรือตัวเมีย
       
       อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยย้ำว่าการพบเจอแมงมุมสีน้ำตาลทั่วไปในบ้านเรือนที่มีลักษณะภายนอก ที่ใกล้เคียงกับลักษณะที่บรรยายมา ไม่ได้เป็นการยืนยันอย่างแน่นอนว่าแมงมุมที่พบเป็นแมงมุมสันโดษเมดิเตอร์ เรเนียน ฉะนั้นหากประชาชนท่านใดพบและสงสัยว่าเป็นแมงมุมชนิดนี้สามารถส่งตัวอย่างมา เพื่อตรวจสอบและยืนยันได้ที่
       
       "ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกีฏวิทยาฯ คณะวิทยาศาสตร์จฬุาลงกรณ์มหาวิทยาลยั แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330”

พบ แมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน แมงมุมพิษร้ายแรงในถ้ำเขตทหาร จ.กาญจนบุรี

แมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียนเพศเมีย

พบ แมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน แมงมุมพิษร้ายแรงในถ้ำเขตทหาร จ.กาญจนบุรี

พบ แมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน แมงมุมพิษร้ายแรงในถ้ำเขตทหาร จ.กาญจนบุรี

พบ แมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน แมงมุมพิษร้ายแรงในถ้ำเขตทหาร จ.กาญจนบุรี

พบ แมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน แมงมุมพิษร้ายแรงในถ้ำเขตทหาร จ.กาญจนบุรี

นายนรินทร์ ชมภูพวง นิสิตระกับปริญญาเอก ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พบ แมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน แมงมุมพิษร้ายแรงในถ้ำเขตทหาร จ.กาญจนบุรี

ดร.ณัฐพจน์ วาฤทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  

ลักษณะอาการตายเฉพาะส่วนของเนื้อเยื่อบริเวณที่ถูกกัด

 

ลักษณะแผลทั่วไปเมื่อถูกกัดโดยแมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน



ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : พบ แมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน แมงมุมพิษร้ายแรงในถ้ำเขตทหาร จ.กาญจนบุรี

view