สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

นักวิจัยมหิดล-ไบโอเทค และนักวิจัยจุฬาฯ คว้าทุนนักวิจัยแกนนำ สวทช. ประจำปี 2558

จากประชาชาติธุรกิจ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงานประกาศผลผู้ได้รับทุนนักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2558 จำนวน 2 ทุน ให้แก่นักวิจัยจาก ม.มหิดลและกลุ่มวิจัยไบโอเทคที่ทำวิจัยด้านโรคไข้เลืดดออกที่เกิดจากเชื้อไว รัสเด็งกี่ และนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์ฯ ที่ทำวิจัยด้านวิศวกรรมนาโนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของสารกึ่งตัวนำเพื่อ พัฒนาตัวตรวจจับแสงอินฟาเรด ด้วยระยะเวลาทุน 5 ปี จำนวนทุนละ 20 ล้าน เพื่อเป็นแกนนำผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพให้กับวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไทย พร้อมเป็นแกนหลักผลิตบุคลากรวิจัยให้กับประเทศต่อไป

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า "ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มาก ยิ่งขึ้น การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยเพื่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยกลุ่มวิจัยที่มีความเป็นเลิศ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยโครงการทุนนักวิจัยแกนนำ นับเป็นกลไกหนึ่งที่ สวทช.เล็งเห็นว่าจะสามารถสร้างแรงจูงใจให้นักวิจัยที่มีความเป็นเลิศดัง กล่าวสร้างผลงานที่เป็นประโยชน์กับประเทศในหลายมิติ ทั้งในด้านสาธารณสุข เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม ที่จะสามารถเกิดผลกระทบสูงในเชิงเศรษฐกิจและสังคมได้ พร้อมช่วยพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพให้กับประเทศด้วย"

 

ด้าน ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ เลขานุการโครงการทุนวิจัยแกนนำ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการทุนวิจัยแกนนำ ว่า "โครงการทุนนักวิจัยแกนนำมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัยที่มี คุณภาพสูง สร้างสรรค์งานโดยมีอิสระทางวิชาการพอสมควร และเป็นแกนนำให้กับวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมให้มีการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพอันจะนำไปสู่การยื่นจดสิทธิบัตร การผลิตผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ และต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพต่อการแก้ปัญหาให้กับภาคอุตสาหกรรมและภาค สังคม อีกทั้งเพื่อเป็นแกนหลักในการผลิตบุคลากรวิจัยสู่วงการวิชาการอย่างต่อ เนื่อง

 

โดยที่ผ่านมา สวทช. ได้สนับสนุนทุนนักวิจัยแกนนำตั้งแต่ปี 2552-2557 ไปแล้วทั้งสิ้น 11 โครงการ แต่ละโครงการมีผลการดำเนินงานที่ดีเยี่ยม สามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพในระดับสูง ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 22 ต้นแบบ ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติมากกว่า 459 เรื่อง สิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร 23 เรื่อง การผลิตบุคลากรในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และหลังปริญญาเอก รวม 276 คน อีกทั้งยังมีการนำผลงานวิจัยไปเผยแพร่ใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณะแล้ว"


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : นักวิจัยมหิดล-ไบโอเทค และนักวิจัยจุฬาฯ คว้าทุนนักวิจัยแกนนำ สวทช. ประจำปี 2558

view