สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ข่าวร้ายปี59เสี่ยงฝนทิ้งช่วงนานครึ่งปี

จาก โพสต์ทูเดย์

"เสรี" เตือน ปี 59 เสี่ยง ฝนทิ้งช่วงกว่า  5-6 เดือน เสี่ยงตายหมู่ เตือนรัฐเตรียมมาตรการรับมือ

นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวในการเสวนาเรื่อง “โลกร้อน น้ำแล้ง เกษตรกรจะรับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

จากข้อมูลการติดตามสภาพอากาศของสถาบันทั่วโลก พบว่าแนวโน้มโลกจะเผชิญกับปัญหาภัยแล้งเพิ่มขึ้น
ประเทศไทยต่อไปปัญหาน้ำท่วมเปรียบไปเหมือนโลกหัวใจ แต่ภัยแล้งจะเป็นโรคมะเร็ง ดังนั้นการบริหารน้ำต้องเปลี่ยนโดยสิ้นเชิงและไทยจากนี้ไปในช่วง100ปีจะเจอแล้งมากกว่าท่วม ทั้งนี้จากการติดตามสภาพอากาศคาดว่าในฤดูฝน พ.ค. ปี2559 ฝนจะทิ้งช่วงไปจนถึง ก.ย.ปัญหา ดังนั้นต้นเดือนพ.ค. จะมีน้ำเหลือประมาณ1,300 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) เท่านั้นหากทิ้งช่วง 5-6 เดือนรัฐต้องเตรียมมาตรการรองรับที่เข้มข้นและต้องพูดความจริงทำความเข้าใจกับประชาชนตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์จริงทั้งหมด เพราะขณะนี้แม้จะเตือนขอความร่วมมือไม่ให้ปลูกข้าวแต่ก็พบว่ายังมีการปลูกต่อเนื่อง

หลังจากนี้ไปประเทศไทยต้องให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำที่จะต้องมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเห็นว่า20ปีที่ผ่านมาการบริหารของกรมชลประทานไม่ศักดิ์สิทธิ์ และการบริหารเกินแผนการใช้น้ำตลอดคุมไม่ได้ จึงกระทบต่อการใช้น้ำในภาพรวม โดยเฉพาะการบริหารน้ำในปี 2555 หลังน้ำท่วมใหญ่ปี  2554 ที่มีการบริหารผิดพลาดทิ้งน้ำทะเลโดยไม่ได้อะไรไปประมาณ  5 พันล้านโดยไม่มีเหตุผล  ต่างจากอดีตดังจะเห็นว่าในปีน้ำมาก ปี2537  ปี 49 เกิดน้ำท่วมใหญ่ ในปีต่อมาน้ำก็ยังมากเพื่อใช้ในภาคเกษตร” นายเสรีกล่าว

ทั้งนี้ การที่เกษตรกรมักอ้างว่า อะไรก็ลงกับเกษตร และไม่รู้จะทำอะไรหากไม่ทำนา และเมื่อมีปัญหาเกษตรกรเป็นผู้รับผลกระทบ เป็นการแสดงให้เห็นว่า เกษตรกรขาดองค์ความรู้ เพราะเขาเป็นผู้ใช้น้ำ80%ของทั้งหมด จึงกลายเป็นผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมด และเมื่อต้องปรับตัวจึงไม่ยอมรับและไม่ยอมปรับตัว

นายเสรีระบุว่าประเทศไทยอนาคตปัญหาขาดแคลนน้ำมาแน่ ในขณะที่ไม่มีการบริหารที่ดีจะมีปัญหา  ดังนั้นทั้งเทคโนโลยี นวตกรรมประหยัดน้ำจะต้องมา การปลูกพืชใช้น้ำน้อย พืชทนแล้ง และการให้ความรู้กับประชาชน
คาดว่าใน5-10ปีนวตกรรมการกลั่นน้ำเค็มเป็นจืดจะเพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้ทั้งเกาะสีชัง เกาะสมุย ทำแล้ว  แม้ต้นทุนจะสูง อนาคตอาจต้องมีวอเตอร์แบงค์  มีเร็คกูเรเตอร์กำกับดูแลการใช้น้ำ และต้องสร้างระบบการปันส่วนน้ำ  ในยามวิกฤติเหมือนไต้หวัน ซึ่งเมื่อมีน้ำใช้การได้ต่ำกว่า30% จะมีมาตรการออกมาเช่น การลดแรงดันน้ำในเวลากลางคืน การจำกัดการใช้น้ำรายใหญ่ การจัดรอบการใช้น้ำเป็นต้น

นายอนุสรณ์  ธรรมใจ  รองอธิบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ม.รังสิตกล่าวว่า  การบริหารจัดการน้ำต้องมีการนำหลักเศรษฐศาสตร์มาใช้ เพราะจะทำให้มีการใช้ระมัดระวังและเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นการเก็บค่าน้ำซึ่งธนาคารโลกเคยศึกษาไว้แต่รัฐบาลไม่กล้านำมาใช้.



ไร่รักษ์ไม้,#สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : ข่าวร้ายปี59เสี่ยงฝนทิ้งช่วงนานครึ่งปี

view