สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สนช.อนุมัติพรก.ประมง แก้ไขใบเหลืองอียู

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

สนช.อนุมัติ พ.ร.ก.ประมง แก้ไขใบเหลืองอียู "รมว.เกษตรฯ"ยันกฏหมายให้ความเป็นธรรมผู้ประกอบการ เตรียมชี้แจงอีกรอบ 21 ธ.ค.นี้

ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช.เป็นประธานในการประชุม ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องด่วนพระราชกำหนด (พ.ร.ก.)การประมง พ.ศ. 2558 ที่ครม.เสนอ โดยพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้ ชี้แจงหลักการและเหตุผล ว่า สหภาพยุโรปหรืออียูได้ประกาศให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่อาจะไม่ให้ ความร่วมมือในการป้องกันและขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดรายงานและไร้การควบคุม ในวันที่ 21 เม.ย.58 ที่ผ่านมา หรือให้ใบเหลืองไทย สาเหตุที่สำคัญคือกฎหมายว่าด้วยการประมงของไทยที่ใช้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการ ทำประมงที่ผิดกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและขจัดการทำ ประมงที่ผิดกฎหมาย

แม้ว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะเห็นชอบในการออกพ.ร.บ.การประมงพ.ศ.2558 เมื่อต้นปีก็ตาม แต่บทบัญญัติในพ.ร.บ.การประมงดังกล่าวยังมีบทบัญญัติต่างๆ ที่ไม่เพียงพอในการที่จะป้องกันและขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ได้มีความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในชั้นกรรมาธิการก็ตาม ก็ไม่สามารถปรับปรุงได้ทั้งหมด เนื่องจากกรอบโครงสร้างของร่างกฎหมายและระยะเวลาจำกัด คณะรัฐมนตรีจึงได้ยกร่างกฎหมายขึ้นใหม่ โดยนำเสนอเป็นพ.ร.ก. เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ หากประเทศไทยได้รับใบแดงก็จะทำให้การส่งสินค้าประมงไปยังสหภาพยุโรปได้รับผล กระทบและส่งผลกระทบต่อประเทศโดยรวม ซึ่งพ.ร.บ.ดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วในวันที่ 13 พ.ย.58มีผลบังคับใช้แล้ว              

พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า พ.ร.บ.การประมง พ.ศ. 2558 ยังขาดมาตรการในการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวังการทำประมงในน่านน้ำไทยและนอกน่าน้ำไทย เพื่อป้องกันมิให้มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งยังขาดการบริหารจัดการการทำประมงให้สอดคล้องกับการผลิตสูงสุดของ ธรรมชาติเพื่อให้สามารถทำการประมงได้อย่างยั่งยืนและหากไม่มีการแก้ไขปัญหา อย่างเร่งด่วน อาจมีผลกระทบต่อการประมงของประเทศไทย ดังนั้นเพื่อเพิ่มมาตรการในการควบคุม เฝ้าระวัง สืบค้น และตรวจสอบการประมง อันเป็นการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และกำหนดแนวทางในการอนุรักษ์และการบริหารจัดการแหล่งทรัพยากรประมงและสัตว์ น้ำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนโดยการดำเนินการดังกล่าวต้องกระทำ ให้แล้วเสร็จโดยรวดเร็ว เพื่อไม่ให้กระทบต่อการส่งออกสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของประเทศไทย ซึ่งเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ในอันที่ จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศจึงจำเป็นต้องตรา พ.ร.ก.นี้โดยมีจำนวน 176 มาตรา และ พ.ร.ก.นี้ประกาศในรากิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2558 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วัดถัดจากวันประกาศในรากิจจานุเบกษาเป็นต้นไป            

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกแสดงความเห็นด้วยกับพ.ร.ก.ฉบับดังกล่าวแต่มีข้อท้วงติงและข้อสังเกต ทั้งในเรื่องบทลงโทษ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทั้งเรื่องแรงงานต่างด้าว การค้ามนุษย์ การเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ อาทิ น.พ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สนช. อภิปรายว่า ปัญหาประมงเป็นปัญหาที่หมักหมมมานานหลายปี การออกพ.ร.ก.จึงมีความจำเป็นแม้ว่าสนช.จะผ่านพ.ร.บ.ประมง พ.ศ.2558 ไปแล้วก็ตามแต่ตนยังเห็นว่า การแก้ไขเรื่องนี้ก็น่าจะนำพ.ร.บ.ประมง พ.ศ.2558 มาแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้สมาชิกได้พิจารณาปรับปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมใน ประเด็นที่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้ยังเห็นว่า ในพ.ร.ก.อาจปัญหาในแนวทางปฏิบัติเช่น ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติที่ให้รมว.เกษตรและสหกรณ์เป็นผู้รักษาการเพียง คนเดียว ทั้งๆที่น่าจะมีผู้รักษาการร่วมเนื่องว่า ปัญหาประมงเกี่ยวข้องกับหลายกระทรวง ทั้งกระทรวงแรงงาน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงคมนาคม เป็นต้น นอกจากนี้บทลงโทษในพ.ร.ก.นี้ได้มีการปรับมีความรุนแรงมากขึ้นซึ่งอาจเป็น เพราะต้องการให้อียูเห็นว่า เรามีความตั้งใจในการแก้ไขปัญหา อย่างไรก็ตามรัฐต้องมีมาตราเยียวยาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากพ.ร.ก. ฉบับนี้      

นายวิทยา ฉายสุวรรณ สนช. อภิปรายว่า หากเป็นรัฐบาลปกติการออกพ.ร.ก.ฉบับนี้คงไม่เกิดขึ้น แต่ตนก็ไม่แน่ใจว่า พ.ร.ก.ฉบับนี้จะตอบโจทย์การทำประมงที่ผิดกฎหมายได้หรือไม่ เนื่องจากออกรวดเร็วและกระชั้นชิด ทั้งที่ปัญหานี้มีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน อีกทั้งในส่วนของบทลงโทษรุนแรง โทษปรับก็สูงขึ้นถึง 10 ล้านบาท ซึ่งตนเห็นว่า ในส่วนของประมงพื้นบ้านหรือประมงที่ทำเพื่อหาเช้ากินค่ำ เช่น ตกปลาในหนองน้ำหรือแม่น้ำ จะมีข้อยกเว้นหรือไม่ ซึ่งควรกำหนดว่าประเภทใดจะโดนปรับเท่าไร      

ด้านพล.อ.ฉัตรชัย ยืนยันว่า พ.ร.ก.นี้จะสร้างความเป็นธรรมกับผู้ประกอบกิจการประมงและผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อกังวลได้มีการทำเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วและในวันที่ 21 ธ.ค.นี้จะมีการประชุมเจ้าของกิจการประมง ภาคเอกชน ฯ เพื่อชี้แจงรายละเอียดและทำความเข้าใจเกี่ยวกับพ.ร.ก.นี้อีกครั้ง ส่วนเรื่องการเยียวยานั้นมีกระบวนการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องการปรับปรุงเรื่องกฎหมาย ระเบียบ ส่วนผู้ที่ต้องการปรับให้ถูกต้องตามกฎหมายรัฐ และเลิกกิจการรัฐก็มีงบประมาณและมาตรการช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามข้อท้วงติงทั้งหมดตนขอรับไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป    

จากนั้นที่ประชุมสนช.ได้ลงมติอนุมัติพ.ร.ก.การประมง พ.ศ.... ด้วยคะแนน 172 ไม่เห็นด้วย 1 งดออกเสียง 5 เสียง


ไร่รักษ์ไม้,#สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : สนช.อนุมัติพรก.ประมง แก้ไขใบเหลืองอียู

view