สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สุขใจบนหลังอาน ขวัญแก้ว-อรอุษา สาวแกร่งปั่นพิชิตมะเร็ง

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

      ขวัญ แก้ว - อรอุษา เลิศสุวรรณไพศาล สาวนักปั่นหัวใจแกร่ง ผู้ค้นพบว่าตัวเองกำลังเผชิญหน้าอยู่กับโรคร้ายในวัย 42 ปี แม้การรักษาทางการแพทย์คือส่วนประกอบหลักที่ช่วยให้ชีวิตเธอเคลื่อนที่ต่อไป ทว่า การเปลี่ยนมุมมองความคิดให้เป็นพลังบวกมากกว่าที่ทำให้หัวใจของเธอเต้นด้วย จังหวะแห่งความสุข การได้ลิ้มลองรสชาติความสุขรูปแบบใหม่ด้วยการปั่นจักรยานท่องเที่ยวทางไกล จึงทำให้ชีวิตของเธอเปลี่ยนไปตลอดกาล . .

สุขใจบนหลังอาน “ขวัญแก้ว-อรอุษา” สาวแกร่งปั่นพิชิตมะเร็ง!
       
       ทุกข์-สุขอยู่ที่ใจ
       
        “ไม่ มีใครมาทำให้เราดีขึ้นได้ นอกจากตัวเราเอง เราต้องทำเพื่อตัวเราเอง คิดดีเพื่อตัวเราเอง ออกกำลังกายก็เพื่อตัวเราเอง เราต้องอยู่ให้ได้ด้วยตัวเราเอง อย่าไปหวังพึ่งคนอื่น กายเราจะสุขหรือทุกข์อยู่ที่ใจเรากำหนดทั้งนั้นเลย เราต้องฝึกตรงนี้ให้ได้”
       
        คำ บอกเล่าจากปากสาวแกร่งหัวใจกล้า คุณขวัญแก้ว-อรอุษา สาวนักปั่นผู้พกพามุมมองดีๆ พิชิตโรคมะเร็งด้วยการหันมาดูแลตัวเองอย่างเต็มกำลัง เธอเชื่อว่าไม่มีใครสามารถทำให้เราดีขึ้นได้ นอกเสียจากตัวเราเอง นี่จึงเป็นพลังคิดบวกของเธอที่ทำให้เธอมีแรงใจในการก้าวต่อไปได้อย่างมีความ สุข
       
        หลัง จากพบว่ากำลังเผชิญปัญหาด้านสุขภาพ นั่นคือการตรวจพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเซลล์ในร่างกาย ทว่า หากมาช้ากว่านี้อาจสายเกินไป มันเป็นสัญญาณบอกว่าโรคร้ายที่ใครหลายคนกลัวกำลังคืบคลานเข้ามาใกล้ร่างกาย เธอเข้าให้แล้ว
       
        “ตอน นั้นตรวจเจอเซลล์ผิดปกติในระดับ 3 ที่ปากมดลูก มันเกือบจะกลายเป็นมะเร็งแล้ว แต่เราตรวจประจำปีแล้วไปเจอ รู้สึกว่านี่มะเร็งมาเฉียดตัวฉันแล้วนะ ครั้งแรกที่เจอมะเร็งมาใกล้ชีวิตใครบ้างไม่กลัว หลังจากนั้นความวิตกกังวลก็ตามมา คิดมากนอนร้องไห้ไปสารพัด
       
        คราว นี้เลยสำนึกได้ว่าจะปล่อยตัวไม่ได้แล้ว เพราะคุณหมอบอกว่าต้องออกกำลังกาย เราละเลยมานานเพราะมัวแต่ทำงาน จึงมาคิดว่าเอาไงดี อายุเราตอนนั้นประมาณ 42 คิดว่าเดินก็ไม่ไหว วิ่งก็ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ มีพี่ที่ทำงานอยู่ที่เดียวกันกับสามี เขาแนะนำให้ปั่นจักรยานเลยไปซื้อจักรยานมาปั่น”

      ลอง คิดดูแล้วหากการลงทุนซื้อจักรยานดีๆ สักคันมาปั่นเพื่อสุขภาพ คงดีกว่าการนำเงินหลักพันหลักหมื่นไปจ่ายให้กับโรงพยาบาล นอกจากเสียเงินไปกับการดูแลสุขภาพแล้ว ยังได้ความวิตกกังวลเป็นผลพวงตามมาด้วย อย่างที่คุณขวัญแก้วได้ขยายความต่อจากนี้ทำให้ทีมงานเห็นด้วยกับความคิดของ เธอ
       
        “เรา เอาเงินมาซื้อจักรยานคันไม่กี่หมื่น ดีกว่าเอาเงิน 5-6 หมื่นไปให้หมอ ทุกวันนี้ซื้อจักรยานคันใหม่ขอแบบจัดเต็ม ล้ออันไหนที่ไหลลื่นปรื้ดๆ จัดมา จักรยานที่ใช้อยู่ตอนนี้ร่วมแสนเป็นการให้รางวัลกับชีวิต ตอนซื้อจักรยานคันแรกหมื่นกว่า สามีบ่นว่ารถแพงมากซื้อมาทำไม พอทุกวันนี้เขาอนุมัติเพราะดีกว่าเอาเงินแสนไปจ่ายให้หมอที่โรงพยาบาล” (หัวเราะ)
       
       22 วันใช้ชีวิตบนหลังอาน!
       
        “ทริ ปที่ยาวที่สุดในชีวิตคือ ปั่นจากสุราษฎร์ธานีขึ้นมาเชียงใหม่ ประมาณ 22 วัน คิดว่าเป็นทริปที่โหดที่สุดในชีวิต เพราะไม่เคยปั่นไกลนานเกือบเดือนขนาดนี้เลย” เธอเปรยให้ฟังถึงประสบการณ์สุดโหดบนหลังอานที่ได้ทุ่มเทแรงกายและแรงใจเพื่อ เติมเต็มความฝัน ด้วยการปั่นจักรยานบนเส้นทางกว่า 2,000 กิโลเมตร ใน 22 วัน ถือว่าเป็นงานยากอยู่พอตัวสำหรับมือใหม่
       
        “มัน ทรมานสำหรับคนที่ไม่เคย แต่พวกรุ่นพี่ที่ชวนปั่น เขาปั่นกัน 4-5 เดือน อันนั้นคือเขาขั้นเทพ ระดับจอมยุทธ์แล้ว เรานี่ 10 วันก็เหนื่อยแล้ว แต่พอผ่านด่าน 22 วันมาได้มันรู้สึกเลยว่าฉันเจ๋ง มีน้ำตาเล็ด น้ำตาซึมบ้างเหมือนกัน
       
        ทริ ปนั้นตกประมาณ 2,000 กว่าโล เพราะเราไม่ได้ปั่นตรง เราต้องปั่นอ้อมไปขึ้นภูทับเบิกที่เพชรบูรณ์ ไปภูหินร่องกล้า และวกมาที่สุโขทัยเข้ามาพิษณุโลก ทริปนั้นตั้งชื่อให้ว่าทริป 1,500 ไมล์ ปั่นท่องเที่ยวทางไกลตามใจฝัน ตั้งชื่ออย่างหรู แต่ต้องล่มสลายเพราะหมดแรงเสียก่อน” (หัวเราะ)
       
        แม้ ทริปการปั่นจักรยานทางไกลที่ผ่านมาจะไม่ได้ดั่งใจที่หวังไว้ แต่เชื่อเลยว่าเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างทางนั้นสำคัญกว่า มิตรภาพ ความสามัคคี ความสุขที่เกิดขึ้นระหว่างเส้นทาง หลอมรวมไว้เป็นความภูมิใจ

       “ทริ ปนั้นก็ถือว่าไม่สำเร็จตามที่ฝันไว้ เป้าหมายมันใกล้เคียงอย่างน้อยเราก็ไปถึงเชียงใหม่ได้ มันภูมิใจ เพราะเป็นการเดินทางด้วยเท้าและขาสองขาของเรา มันภูมิใจมากแค่เห็นป้ายยินดีต้อนรับสู่ลำปาง ตะโกนลั่นถนนเลยมาถึงลำปางแล้ว มันคือความปลื้มปิติ ดีใจที่ผ่านด่านมาได้และมาถึงภาคเหนือ”
       
        เรียก ได้ว่าเป็นเรื่องไม่ธรรมดาสำหรับมือใหม่ที่หัดปั่นออกทางไกล จากภาคใต้มาสู่เหนือด้วยสองขาบนพาหนะสองล้อ โดยไม่มีรถยนต์ขับตาม ไม่มีเซอร์วิสใดๆ พวกเขาใช้ความสามัคคีและมิตรภาพประคับประคองกันมาตลอดเส้นทาง หรือนี่อาจเป็นรสชาติของการเดินทางปั่นจักรยานท่องเที่ยวทางไกลก็ว่าได้
       
        “ตอนนี้เริ่มหลงใหลการท่องเที่ยวเก็บภาพสวยๆ ชอบปั่นในเส้นทางที่ผ่านวิถีชีวิตชุมชน ถนนสายเล็กๆ การ เดินทางท่องเที่ยวทางไกลมันได้ประสบการณ์หลากหลาย ได้วิธีคิดใหม่ ได้มุมมองใหม่ ได้เพื่อนใหม่ๆ ชอบตรงที่ว่าเราไปออกทริปกับคนที่เราไม่รู้จักมาก่อนเลย มันทำให้เราพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ๆ ลืมไปเลยเรื่องที่เคยป่วย เดี๋ยวนี้พอไปตรวจก็รักษาแค่นั้น ไม่ต้องไปกลัวมันเพราะถ้าเรากลัวมันจะยิ่งทำให้ป่วยทรุดลงไปอีก”
       
       รถแพงแต่แรงไม่มี = ไร้ประโยชน์
       
        ด้วย ความหลงใหลในการปั่นจักรยานอย่างถอนตัวไม่ขึ้น ทำให้เธอก้าวเข้าสู่วงการปั่นจักรยานอย่างเต็มตัว พร้อมกันกับฝากเทคนิคไว้เป็นตัวเลือกในการตัดสินใจให้กับมือใหม่หัดปั่นอีก ด้วย เธอได้แนะวิธีการเลือกจักรยานสำหรับคนเพิ่งเริ่มสนใจอยากปั่นจักรยาน ด้วยการหาไลฟ์สไตล์การใช้จักรยานของตัวเองให้พบ
       
        “ถ้า เริ่มต้นต้องถามใจตัวเองว่าชอบแนวไหน ถ้าชอบความเร็วก็จักรยานเสือหมอบไปแล้วกัน แต่ถ้าชอบขาลุยหน่อย ชอบเข้าป่า มันขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของคนด้วยว่า ชอบเที่ยวแบบไหน หรือปั่นออกกำลังกายต้องเป็นเสือภูเขา หรือว่าเบาๆ สบายๆ ไม่ได้คิดมากอะไร เน้นพกพาสะดวกก็เป็นรถพับ”
        อย่าง ที่หลายคนทราบกันว่าจักรยานคันดีๆ ราคาแตะครึ่งแสนเลยก็ว่าได้ แต่สำหรับมือใหม่นั้นการเลือกจักรยานคันแรกไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงเสมอไป ทว่า มือใหม่ควรเลือกจักรยานที่เหมาะกับตัวเองเพื่อให้ได้ลองผิดลองถูกจะมี ประโยชน์มากกว่าการซื้อคันแพงๆ

สุขใจบนหลังอาน “ขวัญแก้ว-อรอุษา” สาวแกร่งปั่นพิชิตมะเร็ง!

       “ส่วน ราคาเริ่มต้นก็ไม่ต้องไปเริ่มแพง เพราะความชอบมันเปลี่ยนกันได้ ให้เริ่มต้นที่ราคาเบาๆ ก่อน เพราะเริ่มต้นไม่มีใครไปซื้อหรอกเป็นแสน เอาสัก 4-5 พันก่อน ทุกวันนี้รถจักรยานตลาดการแข่งขันมันสูงมาก ลดราคาต่ำลงเยอะเลย 4-5 พันก็ได้รถจักรยานมาซ้อมปั่นแล้ว บางคนซื้อรถคันแพงๆ แรงไม่มีเจอรถคัน 4-5 พันแซงนี่เศร้าเลย รถแพงแต่แรงไม่มีมันก็ไม่มีประโยชน์”
       
        การ ซื้อจักรยานสำหรับมือใหม่นอกจากจะดูที่ความชอบและไลฟ์สไตล์ผู้ปั่นแล้ว ควรเลือกจักรยานที่เหมาะกับสรีระร่างกายผู้ปั่นเองด้วยเช่นกัน คุณขวัญแก้วยังเล่าให้ฟังแกมตลกอีกว่าการซื้อจักรยานคันแรกนั้น หากไม่ต้องการให้ขาดทุนหรือเกิดความรู้สึกใช้งานไม่คุ้มที่ซื้อมา นักปั่นควรปั่นด้วยระยะทางให้เท่ากับจำนวนราคาจักรยาน
       
        “การ ซื้อรถมือใหม่ซื้อไม่กี่พัน เอาที่มันพอดีไปค่อมแล้วนั่งไม่ให้เมื่อยหลัง ให้มันพอดีกับตัวไม่ใช่ยืดขาจนเกินไป ลองซ้อมตรงนั้นผ่านด่าน 30กิโลเมตรให้ได้ก่อนว่า ขี่ได้ต่อเนื่อง 3-4 เดือนแล้วจะเปลี่ยนคันใหม่ก็ไม่ว่ากัน อันดับแรกเอาแบบนี้ไปก่อนลองปั่นให้รู้ก่อนว่าชอบไหม ซื้อคันแรก 4-5 พันถือว่าไม่ขาดทุน อย่างน้อยก็ได้ 30 กิโลเมตรมาแล้ว ปั่นให้มันได้ 3000 กิโลเมตรตามราคารถก็ได้ กิโลเมตรละบาทมันก็คุ้มแล้ว”
        ขอบคุณรูปภาพจากเฟซบุก Onusa Loetsuwanphaisan
       
       ข่าวโดย : ทีมข่าว MGR Feel Good
       เรื่อง : พิมพรรณ มีชัยศรี

ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : สุขใจบนหลังอาน ขวัญแก้ว-อรอุษา สาวแกร่งปั่นพิชิตมะเร็ง

view