สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เทรนด์ บ้านผู้สูงวัย อยู่สบาย ลดอุบัติเหตุภายในบ้าน

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ ฟรีสไตล์เรื่องบ้าน-บ้าน
โดย เมตตา ทับทิม misstubtim@yahoo.com
นสพ.มติชนรายวัน




ประเทศไทยกำลังนับถอยหลังเข้าสู่การเป็นสังคมประชากรผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ภายในปี 2567 เพราะสัดส่วนประชากรผู้สูงวัยที่อายุมากกว่า 60 ปีจะมี 20% แถมให้อีกนิดว่าภายในปี 2572 จะเพิ่มเป็นสัดส่วน 25%

การเตรียมตัวด้านที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมสำหรับการใช้ชีวิตของผู้สูงวัย จึงเป็นเรื่องที่ต้องเอาใจใส่กันตั้งแต่วันนี้

ชุดข้อมูลที่นำมาบอกต่อ เป็นของ SCG (บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด มหาชน) เขาเพิ่งจัดอีเวนต์ใหญ่ประจำปี นำเสนอผลงานวิจัยและพัฒนาสินค้านวัตกรรม 5 ด้าน แน่นอนว่าหนึ่งในนั้นก็คือนวัตกรรมเอลเดอร์แคร์นี่เอง

เรามาเริ่มต้นกันด้วย "การทำความเข้าใจผู้สูงอายุ" แบ่งได้ 3 ระดับตามกายภาพและสมรรถนะทางร่างกาย ดังนี้ 1.ผู้สูงอายุที่แข็งแรง สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ 2.ผู้สูงอายุที่เริ่มมีการเสื่อมถอยของร่างกาย อาจมีปัญหาสุขภาพเล็กน้อยแต่ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และ 3.ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ หรือเจ็บป่วย การใช้ชีวิตประจำวันมีความสะดวกน้อยลง บางรายไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในบางกิจกรรม

ทั้งนี้ ผู้สูงอายุในครอบครัวเรานอกจากจะมี 3 ระดับดังกล่าวแล้ว มีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจต่อไปอีกว่า ยังมีปัญหาเรื่องความเสื่อมถอยของร่างกายอีก 4 ด้าน คือ "การมองเห็น-การเคลื่อนไหวร่างกาย-ความไม่สมดุลของฮอร์โมนและอารมณ์-การได้ยิน"

ข้อมูลเริ่มเข้มข้นขึ้นมาแล้วนะคะเมื่อเราได้โจทย์เบื้องต้นมาแล้วนำไปสู่การ เตรียมความพร้อมที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงวัยโดยเฉพาะ

กลุ่มแรก 1
.ผู้สูงอายุที่แข็งแรง สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดี การออกแบบสถานที่จึงเน้นด้านการป้องกันเป็นหลัก รวมทั้งเพื่อส่งเสริมสุขภาวะที่ดี

ข้อคำนึงมี 4 ข้อค่ะ เริ่มจากต้องไม่มีพื้นที่ต่างระดับหรือธรณีประตู เป็นการเตรียมตัวไว้รองรับผู้สูงวัยที่ต้องใช้ไม้เท้าหรือนั่งรถเข็น (วีลแชร์) ในอนาคต, พื้นห้องน้ำมีผิวสัมผัสค่อนข้างหยาบ ไม่ลื่น เพื่อความปลอดภัย, ระบบระบายอากาศต้องดีและแสงสว่างเพียงพอ เหตุผลเพราะผู้สูงวัยต้องการความสว่างมากเป็น 2-3 เท่าของคนทั่วไป สุดท้ายคือจัดให้มีพื้นที่กิจกรรมที่ใช้ร่วมกันทั้งครอบครัวได้

กลุ่มที่ 2 ผู้สูงอายุที่เริ่มมีปัญหาสุขภาพเล็กน้อยแต่ยังช่วยตัวเองได้ การออกแบบจึงต้องเน้นทำยังไงให้สามารถใช้ชีวิตได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น

ข้อคำนึงมี 3 ข้อค่ะ เริ่มจาก ใช้สีที่ตัดกันหรือแตกต่างกัน เช่น พื้นกับผนัง บัวเชิงผนัง และพื้นต่างระดับอย่างบันได, ไม่ควรมีพื้นต่างระดับ ที่สำคัญต้องไม่ให้มีสิ่งกีดขวางตลอดทางเดินเพื่อลดการสะดุดหกล้ม กับสิ่งที่ควรทำคือติดตั้ง "ราวจับ" เพื่อช่วยพยุงตัวบริเวณสุขภัณฑ์ อ่างล้างมือ โดยให้เลือกขนาดที่เหมาะสม-ถนัดมือสำหรับผู้สูงวัยแต่ละคน

กลุ่มที่ 3 ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพค่อนข้างมาก โฟกัสง่าย ๆ ก็คือผู้สูงอายุที่นั่งวีลแชร์ก็ได้ บางกิจกรรมต้องการพี่เลี้ยงเข้ามาช่วย แนวทางออกแบบให้เน้นการป้องกันและลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น

ข้อคำนึงมี 5 ด้านค่ะ เริ่มจาก ความสูงของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโถสุขภัณฑ์ อ่างล้างหน้า เคาน์เตอร์ ปลั๊กไฟ สวิตช์ ติดตั้งยังไงให้นั่งวีลแชร์แล้วใช้งานได้สะดวก, ความกว้างของทางเดินหรือประตูต้องเป็นไซซ์พิเศษให้รถวีลแชร์เข้า-ออกได้ง่าย

การออกแบบให้พื้นลาด หรือไม่มีพื้นต่างระดับ, อุปกรณ์เปิด-ปิด เช่น ประตู ก๊อกน้ำ ดีที่สุดควรเป็นแบบก้านปัดหรือก้านโยกและระดับหน้าต่าง ขอบล่างควรสูงจากพื้น 50 ซม.ก็พอ เหตุผลเพื่อให้ผู้สูงอายุนั่งวีลแชร์มองเห็นวิวภายนอกได้

ยกตัวอย่างพอเป็นน้ำจิ้ม ระดับความสูงของอ่างล่างหน้าที่เหมาะกับความสูงของผู้สูงวัย เขาบอกว่าอยู่ที่ 75-80 ซม., ราวจับที่ติดตั้งเพิ่มสำหรับพยุงตัวในการใช้โถสุขภัณฑ์ควรสูง 65-70 ซม., ที่นั่งอาบน้ำควรมีความสูง 45-50 ซม., ราวจับสำหรับประคองตัวในการเดินเคลื่อนไหวในบ้านควรสูง 80-90 ซม. เป็นต้น


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : เทรนด์ บ้านผู้สูงวัย อยู่สบาย ลดอุบัติเหตุภายในบ้าน

view