สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ห้าม กากถั่ว ผลิตอาหารคน เลิกหนังสือรับรองข้าวโพด ACMECS

จากประชาชาติธุรกิจ

คณะรัฐมนตรีได้มีมติในสัปดาห์ที่ผ่านมาขอให้มีการ "ทบทวน" การนำเข้ากากถั่วเหลือง กับการออกประกาศนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สำหรับปี 2558-2560 โดยการทบทวนมติ ครม.ครั้งนี้เป็นไปตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายอาหาร ที่มี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่กำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ (ข้าวโพด-กากถั่วเหลือง-ปลาป่น) มาตั้งแต่ปี 2540

ทั้งนี้ การนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ของประเทศไทยเป็นการนำเข้าตามข้อผูกพันที่ ประเทศไทยมีพันธกรณีในการเปิดตลาดไว้กับองค์การการค้าโลก(WTO)ประกอบไปด้วย กากถั่วเหลือง กำหนดอัตราภาษีนำเข้าไว้ไม่เกินร้อยละ 10 ในขณะที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีการนำเข้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) กับโครงการ Contract Farming ตามยุทธศาสตร์ ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศลุ่มแม่น้ำอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawaddy-Chao Phraya) Mekong Economic Cooperation Strategy หรือ ACMECS) กำหนดให้มีการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้านได้ในช่วงเดือน มีนาคม-กรกฎาคมของทุกปี (ในปี 2556 เปลี่ยนเป็นให้นำเข้าในช่วงเดือนมีนาคม-สิงหาคม 2556)

ต่อมาภายหลังการเข้ายึดอำนาจของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เดือนกรกฎาคม 2557 ได้เปลี่ยนแปลงช่วงเวลาการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใหม่ โดยกำหนดให้มีการนำเข้าเป็น 2 แบบ กล่าวคือ การนำเข้าภายใต้ AFTA กับการนำเข้าภายใต้ ACMECS โดยในแบบหลังได้ทำการเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาการนำเข้าเป็นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม 2557 และเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม 2558-2560

ส่วนกากถั่วเหลือง คสช.ให้ความเห็นชอบกำหนดการนำเข้าภายใต้โควตา WTO เสียภาษีร้อยละ 20 ในปริมาณ 230,559 ตัน แต่วิธีปฏิบัติให้เสียภาษีนำเข้ากากถั่วเหลืองแค่ร้อยละ 2 เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนกากถั่วเหลืองภายในประเทศโดยไม่จำกัดปริมาณการนำ เข้าและช่วงเวลานำเข้าปรากฏ มีผู้นำเข้ากากถั่วเหลืองทั้งหมด 9 ราย ประกอบไปด้วย นิติบุคคลในรูปของสมาคมและชุมนุมสหกรณ์ โดยมีเงื่อนไขให้ผู้นำเข้าต้องรับซื้อกากถั่วเหลืองที่ผลิตจากเมล็ดถั่ว เหลืองภายในประเทศของโรงงานสกัดน้ำมันถั่วเหลืองทั้งหมดในราคาขั้นต่ำที่ กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้กำหนด

แต่การนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ตั้งแต่ปี2557เป็นต้นมาได้เกิดเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่ทำให้รัฐบาลชุดปัจจุบันต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายการนำเข้า กล่าวคือ 1) ตามเจตนารมณ์ให้มีการนำเข้ากากถั่วเหลืองเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์หรือใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆได้ แต่ไม่มีข้อห้ามในการขาย-จ่าย-โอนกากถั่วเหลืองที่นำเข้านั้นให้กับนิติบุคคลหรือผู้อื่น ซึ่งครอบคลุมการนำเข้ากากถั่วเหลืองทั้งที่นำเข้าภายใต้โควตาภาษีของ WTO (เสียภาษีในโควตาร้อยละ 2 นอกโควตาร้อยละ 119) การนำเข้าภายใต้เขตการค้าเสรี (FTA) ฉบับต่าง ๆ ที่ไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลาการนำเข้าเสียภาษีร้อยละ 0 และการนำเข้าเป็นการทั่วไปเสียภาษีร้อยละ 6 บวกค่าธรรมเนียมพิเศษ ตันละ 2,519 บาท

ผลปรากฏมีการนำเข้ากากถั่วเหลืองในโควตาภาษีร้อยละ 2 ของ WTO มาขายให้กับบริษัทโรงงานผู้ผลิตซอสและซีอิ๊ว โดยใช้ใบอนุญาตนำเข้าอาหารสัตว์แทนใบอนุญาตนำเข้าอาหารสำหรับมนุษย์ จัดเป็นอันตรายต่อการบริโภค ดังนั้นรัฐบาลจึงจำเป็นต้องแก้ไขระเบียบการนำเข้ากากถั่วเหลืองภายใต้ WTO ใหม่ด้วยการกำหนดให้นำเข้ากากถั่วเหลืองมาใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตอาหารสัตว์เท่านั้น ห้ามนำไปใช้เพื่อการบริโภคเป็นอาหารสำหรับคน

2) การได้รับข้อร้องเรียนจากรัฐบาล สปป.ลาว-กัมพูชาในระหว่างการประชุม คณะกรรมการประสานงานการดำเนินการภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (Coordinating Committee on the Implementation of the ATIGA : CCA) ในประเด็นการขอหนังสือรับรองการได้รับสิทธิ์ในการยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือบางส่วนภายใต้ความตกลง AFTA ในการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้น เป็นการเพิ่มภาระโดยไม่จำเป็นและยังแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีการใช้มาตรการควบคุมการนำเข้าทั้งในด้านภาษีและใช้มาตรการโควตาภาษี (Tariff Rate Quota หรือ TRQ)

ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงตกลงให้มีการ "ยกเลิก" หนังสือแสดงการได้รับสิทธิ์ในการยกเว้นภาษีการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตาม ความตกลง AFTA แต่ยังคงกำหนดช่วงเวลานำเข้าระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์-31 สิงหาคมของแต่ละปีเหมือนเดิม โดยจะออกเป็น ประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องการนำเข้าข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน(AFTA)สำหรับปี 2558 ถึงปี 2560 เป็นการเร่งด่วนในเร็ว ๆ นี้


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะ

Tags : ห้าม กากถั่ว ผลิตอาหารคน เลิกหนังสือรับรองข้าวโพด ACMECS

view