สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

นายกสมาคมประมงฯระบุกฎ15ข้อ คุมทำประมงเกินไป

นายกสมาคมประมงฯระบุกฎ15ข้อ คุมทำประมงเกินไป

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

นายกสมาคมประมงเรือลากคู่สมุทรสงคราม ระบุ กฎ 15 ข้อที่รัฐบาลกำหนดบางส่วนไม่เกี่ยวข้องกับอียู ย้ำยากที่ชาวประมงจะปฏิบัติได้

จากการที่รัฐบาลได้มีการบังคับใช้กฎหมายประมงและออกกฎ 15 ข้อบังคับใช้กับการทประมง ทำให้เรือประมงเชิงพาณิชย์ซึ่งมีขนาดไม่ต่ำกว่า 30 ตันครอส ในจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งมีทั้งหมด 946 ลำ กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ต้องจอดอยู่กับฝั่งไม่สามารถออกหาปลาได้เพราะปัญหาเรื่องข้อ กฎหมาย และสภาพความเป็นจริงทำให้มีสามารถทำให้ถูกต้องตามกฎที่รัฐบาลกำหนด 15 ข้อ ได้ 

นายมงคล สุขเจริญคณา นายกสมาคมประมงเรือลากคู่สมุทรสงคราม กล่าวว่าสำหรับปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมงรัฐบาลไม่ต้องผ่อนผันเพราะตอน นี้เลยระยะเวลาผ่อนผันไปแล้ว แต่ต้องมาเจรจา ว่า กฎ 15 ข้อ ที่รัฐบาลออกมาชาวประมงมีปัญหาอะไร ในส่วนโจทก์ใหญ่ของอียูต้องการให้ไทยทำตาม แต่ในรายละเอียด 15 ข้อ ที่รัฐบาลกำหนดแท้จริง

ไม่เกี่ยวกับอียู เช่นบัตรประชาชนไต๋เรือ บัตรประชาชนนายท้ายเรือ บัตรประชาชนช่างเครื่อง ปัจจุบันอุตสาหกรรมประมงทะเลไม่มีคนไทย มีแต่แรงงานต่างด้าว ซึ่งไม่มีบัตรประชาชน จึงไม่สามารถมีใบอนุญาตนายท้ายเรือ ใบอนุญาตช่างเครื่องได้ จึงทำให้เกิดปัญหาว่าทำไมเรือออกไม่ได้ทั้งที่ชาวประมงอยากออกทำการประมง เพราะมีค่าใช้จ่ายวันละหลายหมื่นบาทที่ต้องจ่ายไป

งหากเรือประมงจอดยาวนาน จะมีผลกระทบโดยเฉพาะเรื่องแรงงานเนื่องจากแรงงานจะหนีหายไป ต่อไปชาวประมงจะออกเรือก็ออกไม่ได้เพราะไม่มีแรงงาน เพราะรัฐได้ปิดการรับขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวไปแล้วตั้งแต่วันที่ 29 มิ.ย.นายน ที่ผ่านมา

นายพงศ์ธร ชัยวัฒน์ นายกสมาคมประมงสมุทรสงคราม กล่าวว่าผลกระทบที่ชาวประมงหยุดทำการประมงอย่างแรกคือการขาดรายได้ ต้องเสียค่าแรงงานเฝ้าเรือ ค่าเช่าที่จอดเรือ และแรงงานเริ่มจะหนีหายเพราะเรือไม่ได้ออกไปทำประมง  นอกจากนี้อาชีพต่อเนื่องจากประมงได้รับผลกระทบไปหมด ซึ่งรัฐบาลได้ย้ำแล้วว่า ให้ออกได้เฉพาะเรือที่ถูกกฎหมาย  ทั้งที่มีหลายประเด็น อาทิใบอนุญาติจับปลาหรือาชญาบัตรหากไม่มีออกทำการประมงไม่ได้แน่นอน  ส่วนเรือประมงที่มีอาชญาบัตรก็ออกไม่ได้เพราะติดเงื่อนไขว่าจะต้องมีแรงงาน ไทยอย่างน้อย 2 คนต่อลำ ซึ่งสภาพความเป็นจริง แค่คนไทยคนเดียวก็หายากแล้ว ซึ่งแรงงานประมงทะเลในขณะนี้เกินครึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวทั้งลำ เรือประมงบางลำก็หาคนไทยไม่ได้ ติดปัญหาเรื่องประกาศนียบัตรนายท้าย และช่างเครืิ่ิอง ซึ่งต้องทำตามระเบียบของกรมเจ้าท่า ซึ่งไม่ได้ลดหย่อนให้ ต้องใช้เวลาทำ 1-2 ปี 

การที่รัฐให้เวลา 2 เดือนจึงไม่ทัน ไม่ใช้ว่าชาวประมงดื้อไม่ทำ แต่ได้ทำกันเต็มที่แล้ว แต่ติดเงื่อนไขในข้อกฎหมายและสภาพความเป็นจริง


นักวิชาการแนะวิธีจับปลาทะเล ต้องใช้เครื่องมือถูกหลัก

โดย :

นักวิชาการแนะวิธีจับปลาทะเลอย่างไรให้ยั่งยืน ระบุต้องใช้เครื่องมือให้ถูกหลัก และต้องรู้จักระบบนิเวศ

ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล ศาสตราจารย์ ดร.เสาวภา อังสุภานิช อดีตรองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการแถลงข่าวการมอบรางวัล บุคคล หน่วยงานดีเด่น และโครงการดีเด่นของชาติ ประจำพุทธศักราช 2557 กล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหาการประมง หลังศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ได้ออกคำสั่งดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดต่อการประมงที่ผิดกฎหมาย(ไอยู ยู) ทำให้เรือประมงขนาดใหญ่หลายร้อยลำไม่สามารถออกทะเลได้ ว่า เราต้องดูก่อนว่าเรามีปัญหาอะไร ทำผิดอะไร จึงทำให้สหภาพยุโรป(อียู)ไม่ยอมรับเรา ส่วนตัวคิดว่าหากเราสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างถูกวิธี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยเครื่องมือประมงต่างๆที่ถูกหลักก็จะไม่มีปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าเรายอมรับได้หรือไม่ว่าการทำประมงที่ไม่ถูกกฎหมาย ระดับที่ถือว่าไม่ถูกต้อง เราต้องทำความชัดเจนกับประเทศเราเองเสียก่อน และเรื่องเรือผิดกฎหมายหรือถูกกฎหมายก็ต้องกลับมาดูว่าต้นเหตุคืออะไร  

อดีตรองคณบดีฯ กล่าวต่อว่า สิ่งที่สำคัญคือหากเราเข้าใจธรรมชาติ เช่น เรารู้ว่าสัตว์น้ำออกลูกอย่างไร ไข่ปลาเราไม่ควรกินใช่ไหม เพราะถ้าเรากินทั้งแม่ทั้งลูกเขาก็ไม่สามารถออกลูกให้เราได้ ดังนั้นสิ่งที่ตนศึกษาคือสัตว์เล็กน้อยก็เป็นอาหารของกุ้งของปลาที่อาศัย อยู่ตามหน้าดิน ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้สัตว์น้ำไม่มีอาหารกิน และก็ต้องคิดต่อว่าสัตว์น้ำเหล่านี้ต้องการที่อยู่แบบไหน หากมีขยะเขาจะอยู่ได้หรือไม่ ดินเลนเกินไปหรือมีสารอินทรีย์มากเกินไปเขาจะตายไหม ถ้าเรามีความรู้ตรงนั้นก็จะทำให้สัตว์อยู่ได้  

“หากวันนี้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับทะเลอย่างแท้จริง มีนักวิจัยทำวิจัยดีๆให้อ่าน หรือคนทั่วไปมาลองทำวิจัยดูว่าสิ่งที่เรากินทุกวันว่าเขามีการดำรงค์ชีวิต อย่างไร ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นอาหารของเรา เราก็ต้องรักษาให้เขาอยู่ได้จนโตให้เรากิน ประเทศเรามีทะเลสองฝั่งซึ่งประเทศอื่นไม่มี เรามีทรัพยากรชายฝั่งมากมาย เราไม่จำเป็นต้องเลี้ยงและเรามีหน้าที่จับเพียงอย่างเดียว แต่จะจับอย่างไรเพื่อที่จะสามารถจับได้เรื่อยๆ ดังนั้นเราก็ต้องดูแลบ้านของเขาให้เขาอยู่สบาย เราจะจับเขามากินบ้างก็คงไม่เป็นอะไร เพราะมันเป็นห่วงโซ่อาหาร ถ้าเราไม่กิน เขาก็ต้องแก่ตาย แต่ถ้าเขายังเด็กก็ไม่ควรจับมากิน” ศาสตราจารย์ดร.เสาวภา กล่าว  

ศจ.ดร.เสาวภา กล่าวอีกว่า อยากให้คนไทยเรียนเกี่ยวกับระบบนิเวศวิทยาชายฝั่งกันทุกจังหวัดไม่ว่าจะอยู่ ภาคไหนก็ตาม จะได้รู้ว่าจะต้องดูแลระบบนิเวศอย่างไร และตนคาดหวังว่าอยากให้เยาวชนให้ศึกษาเรื่องนี้ตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อปลูก ฝังให้เป็นคนรักสัตว์ตั้งแต่ยังเด็ก และอยากให้ทุกคนช่วยกันดูแลทะเลเพราะเชื่อว่าอย่างไรทะเลทั้งสองฝั่งก็เป็น ของเรา


ไร่รักษ์ไม้,Eosgear,มูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,victorinox,แปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit,ราคา,อร่อย

Tags : นายกสมาคมประมงฯระบุกฎ15ข้อ คุมทำประมงเกินไป

view