สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

น้ำในเขื่อนแห้งขอด เข้าสู่วิกฤต ภัยแล้ง

จากประชาชาติธุรกิจ

เข้าสู่วิกฤตการณ์ภัยแล้งของประเทศไทย ในฤดูกาลเพาะปลูกข้าวนาปี 2558/2559 อย่างเป็นทางการ

หลัง จากกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศว่า ขณะนี้ไทยได้เข้าสู่ปรากฏการณ์เอลนิโญ ฝนทิ้งช่วงในฤดูฝน ทำให้เกิดสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย น้ำไหลลงเขื่อนในปริมาณเล็กน้อย ส่งผลกับน้ำในเขื่อนที่ใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค การผลิตกระแสไฟฟ้า รวมถึงส่งผลกับเกษตรกรต่างๆ ที่กำลังเริ่มการเพาะปลูกทั่วประเทศ โดยเฉพาะเกษตรกรในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่เริ่มการเพาะปลูกข้าวนาปี ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน ระบุว่า จากสถานการณ์ฝนตกไม่สม่ำเสมอ ส่งผลให้มีน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำน้อยกว่าปกติมาก โดยในปี 2558 มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯในช่วงฤดูฝน (1 พฤษภาคม-10 มิถุนายน 2558) รวมกันเพียง 219 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติถึงร้อยละ 76 หรือประมาณ 904.56 ล้าน ลบ.ม. ถือเป็นปริมาณฝนที่ต่ำสุดในรอบหลายปี

ปริมาณ น้ำในเขื่อนบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่สำคัญทั้ง 4 ประกอบด้วย เขื่อนสิริกิติ์มีน้ำใช้การได้เหลืออยู่ 764 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนภูมิพลมีน้ำใช้การได้ ประมาณ 400 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนแควน้อย มีน้ำเหลือใช้การได้ประมาณ 87 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีน้ำเหลือใช้การได้ประมาณ 80 ล้าน ลบ.ม. รวมทั้งสิ้นประมาณ 1,400 ล้าน ลบ.ม.

 



หากกรม ชลประทานยังส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกในอัตราปกติ 62 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน จะทำให้น้ำต้นทุนสำหรับการเพาะปลูกข้าวนาปีเหลือเพียง 25 วันเท่านั้น

ขณะ ที่ นายณัฐจพนธ์ ภูมิเวียงศรี ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์อยู่ในภาวะวิกฤตน้ำแล้ง

โดยตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม-11 มิถุนายน 2558 มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนภูมิพลเพียง 4 ล้าน ลบ.ม. ถือเป็นปริมาณต่ำสุดในรอบ 51 ปี หรือตั้งแต่มีการเก็บกักน้ำมา

ขณะ ที่ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนสิริกิติ์ อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถึง 46% ซึ่งถือเป็นปริมาณลดลงในระดับวิกฤต เหลือปริมาณน้ำใช้งานได้เพียง 779 ล้าน ลบ.ม.

ส่งผลให้การระบายน้ำเพื่อการเกษตรไม่เพียงพอ ได้เฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น เนื่องจากปริมาณน้ำส่วนนี้ต้องสำรองไว้ใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศ

นอกจากผลกระทบด้านการเกษตรแล้ว นายชัยยุทธ จารุพัฒนานนท์ หัวหน้ากองจัดการทรัพยากรน้ำ กฟผ. กล่าวว่า ยังส่งผลกระทบกับการใช้น้ำผลิตไฟฟ้าอีกด้วย จึงต้องขอความร่วมมือมายังกรมชลประทานเพื่อให้กันน้ำส่วนหนึ่งไว้สำหรับการ ผลิตไฟฟ้า รวมทั้งเพื่อสำรองหากมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันหรือไฟฟ้าดับทั้งประเทศ

และ ยอมรับว่ากังวลกับสถานการณ์น้ำที่น้อยกว่าปกติ โดยตั้งสมมุติฐานไว้ว่า ปริมาณน้ำในปีนี้อาจใกล้เคียงปี 2541 โดยวันที่ 11 มิถุนายน 2558 น้ำในเขื่อนภูมิพลที่ใช้ได้ประมาณ 457 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งปริมาณน้ำปีนี้น้อยกว่าปี 2557 ถึง 376 ล้าน ลบ.ม.หรือต่ำกว่าปีก่อน 8% ส่วนเขื่อนสิริกิติ์มีน้ำใช้งานได้ 831 ล้าน ลบ.ม.

"ขณะนี้ กฟผ.กังวลเรื่องวิกฤตแล้ง เพราะตามสมมุติฐานแล้ว น้ำในเขื่อนหากเหลือใช้ได้ 511 ล้าน ลบ.ม. สามารถระบายน้ำเพื่อการเกษตรได้ แต่ปัจจุบันน้ำในเขื่อนโดยเฉพาะเขื่อนภูมิพลเหลือเพียง 457 ล้าน ลบ.ม. จะเข้าสู่วิกฤตแล้งระดับ 2 ซึ่งหากกรมชลประทานยังมีการระบายน้ำออกจากเขื่อนต่อเนื่องจะกระทบกับน้ำที่ ใช้ในช่วงมิถุนายน-กรกฎาคมที่เป็นช่วงวิกฤตน้ำน้อยที่สุดในแต่ละปี และหากยังไม่ปรับสมดุล บริหารจัดการน้ำ จะทำให้เหลือน้ำเพียงผลิตกระแสไฟฟ้าเท่านั้น"

นายชัยยุทธกล่าวว่า จากสถานการณ์ทำให้ตอนนี้เขื่อนภูมิพลมีการปรับลดการระบายน้ำจากวันละ 22 ล้าน ลบ.ม. ลงเหลือวันละ 10 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนสิริกิติ์มีการปรับลดการระบายน้ำจากวันละ 33 ล้าน ลบ.ม. ลงเหลือวันละ 22 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งสถานการณ์น้ำของเขื่อนทั้ง 2 นับว่าอยู่ในขั้นวิกฤต ทั้งในแง่ของปริมาณน้ำในอ่างฯ และปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ

จากวิกฤตภัยแล้งที่ยังไม่มีทีท่าจะดีขึ้น ทำให้นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการน้ำลุ่มเจ้าพระยา เปิดเผยว่า กรมชลประทานเตรียมปรับแผนการบริหารจัดการน้ำใหม่ ด้วยการลดการส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปีให้น้อยลงจากเดิมที่ส่งน้ำ เฉลี่ย 62 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน ให้เหลือเพียง 30-35 ล้านลบ.ม.ต่อวัน เพื่อประคองน้ำในเขื่อนต่างๆ ให้เพียงพออยู่ได้ถึง 40 วัน จากเดิมมีน้ำเพียงพอ 25 วันเท่านั้น โดยการส่งน้ำให้น้อยลงก็เพื่อรอให้ถึงช่วงเวลาที่ฝนตกอย่างสม่ำเสมอในช่วง เดือนกรกฎาคมตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์

นอกจากนี้เพื่อการ ประหยัดน้ำ ยังออกประกาศขอให้เกษตรกรชะลอการปลูกข้าวนาปีในลุ่มน้ำเจ้าพระยาออกไปก่อน เฉพาะในส่วนของเกษตรกรที่ยังไม่ได้เพาะปลูกอีกประมาณ 4.61 ล้านไร่ จนกว่าจะถึงช่วงฝนตกชุกตามฤดูกาล จากการวางแผนปลูกข้าวนาปีทั้งหมด 7.45 ล้านไร่ โดยขณะนี้มีเกษตรกรได้เพาะปลูกข้าวแล้ว 2.84 ล้านไร่

"ขณะ นี้กรมชลประทานได้ประกาศส่งน้ำทำนาปีน้อยลงและขอให้เกษตรกรชะลอการเพาะปลูก ข้าวไปก่อนจนถึงเดือนกรกฎาคมที่น่าจะเป็นเดือนที่ฝนกลับมาตกตามปกติ โดยขอยืนยันว่า กรมชลประทานได้แบ่งจัดสรรน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค การผลิตกระแสไฟฟ้า และการเพาะปลูกข้าวนาปีไว้แล้ว และเชื่อมั่นว่าจะมีปริมาณฝนเพียงพอในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายนแน่ นอน โดยยังไม่มีนโยบายประกาศหยุดส่งน้ำทำนาปี เพราะต้นทุนน้ำในเขื่อนต่างๆ ยังไม่วิกฤตเช่นปี 2541 ที่ทำให้ต้องหยุดส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกและส่งน้ำเฉพาะการอุปโภคบริโภคเท่า นั้น"

ต้องติดตามว่าในวันจันทร์ที่ 15 มิถุนายนนี้ นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ จะแถลงถึงสถานการณ์ภัยแล้งและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างไร

เป็นศึกหนักอีกครั้งของรัฐบาล


ไร่รักษ์ไม้,Eosgear,มูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,victorinox,แปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit,ราคา,อร่อย

Tags : น้ำในเขื่อนแห้งขอด เข้าสู่วิกฤต ภัยแล้ง

view