สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ชี้ทางรอด กาแฟอราบิก้าไทย หลังเปิดAEC เพิ่มผลผลิตต่อไร่-บุกออร์แกนิก

จากประชาชาติธุรกิจ

แม้ความต้องการกาแฟอราบิก้าในภาคเหนือมีแนวโน้มเพิ่ม ขึ้นแต่ชาวสวนกาแฟไทยก็ยังต้องตระหนักและเตรียมรับมือกาแฟจากกลุ่มอาเซียน ทะลักหลังเปิดเออีซีเช่นกัน


ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ นายกสมาคมกาแฟอราบิก้าภาคเหนือให้ข้อมูลว่า กาแฟอราบิก้ามีพื้นที่ปลูกหลักอยู่ในภาคเหนือ ในปี 2557 พื้นที่ให้ผลผลิตรวม 53,127 ไร่ ปริมาณผลผลิต 8,500-9,000 ตัน ปลูกอยู่ใน 8 จังหวัดคือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน ลำปาง ตาก แพร่ และอุตรดิตถ์ โดยจังหวัดเชียงรายมีพื้นที่ปลูกมากเป็นอันดับหนึ่ง จำนวน 24,305 ไร่ รองลงมาคือเชียงใหม่ 17,113 ไร่ ซึ่งเป็น 2 จังหวัดที่มีพื้นที่การปลูกมากที่สุด ซึ่งความต้องการกาแฟอราบิก้าในภาคเหนือมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทั้งผลิตภัณฑ์กาแฟคั่วบดและธุรกิจกาแฟชงสดที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างมาก

ทั้งนี้ ผลผลิตกาแฟอราบิก้าที่ผลิตได้ทั้งหมดแบ่งเป็นการบริโภคภายในประเทศราว 50% และส่งออกราว 50% ซึ่งปริมาณผลผลิตที่ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ การขยายพื้นที่เพาะปลูกทำได้ค่อนข้างยาก เพราะส่วนใหญ่ปลูกบนพื้นที่สูง มีความลาดชันสูงซึ่งทำให้กระบวนการปลูกและทำงานในพื้นที่ทำได้ยากยิ่งขึ้น จึงมีข้อจำกัดเรื่องการขยายพื้นที่

ขณะที่ในอนาคตการผลิตกาแฟอราบิก้าของไทย อาจมีข้อเสียเปรียบทางการแข่งขันกับประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งไทยมีผลผลิตต่อไร่ต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน ขณะที่ต้นทุนการผลิตของไทยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับหลายประเทศ ทั้งค่าจ้างแรงงานที่ค่อนข้างสูง ค่าใช้จ่ายต่อไร่สูง หลายประเทศมีพื้นที่ปลูกและผลผลิตมากกว่า อาทิ ลาวมีพื้นที่ปลูกกาแฟอราบิก้า 15,300 ไร่ มีผลผลิตต่อปี 17,678 ตัน





ด้านเวียดนามมีพื้นที่ปลูกกาแฟอราบิก้า 38,000 ไร่ ผลผลิตต่อปี 57,000 ตัน ขณะที่อินโดนีเซียมีพื้นที่ปลูกกาแฟทุกชนิด 1,240,744 ไร่ มีผลผลิตกาแฟอราบิก้าปีละ 162,658 ตัน ซึ่งหากเปิด AEC คาดว่าผลผลิตกาแฟอราบิก้าในหลาย ๆประเทศของอาเซียนจะถูกนำเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น และหากไม่มีภาษีก็อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตกาแฟอราบิก้าทางภาคเหนือ

ดังนั้นภาครัฐและเกษตรกรต้องเร่งพัฒนากาแฟอราบิก้าให้มีคุณภาพที่สูง ขึ้นโดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นลดต้น ทุนการผลิตลงและพัฒนาการผลิตให้ได้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice : GAP) หรือมุ่งพัฒนากาแฟอราบิก้าให้เป็นกาแฟอินทรีย์หรือออร์แกนิก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศในกลุ่มอาเซียนในอนาคต


ไร่รักษ์ไม้,Eosgear,มูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,victorinox,แปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit,ราคา,อร่อย

Tags : ชี้ทางรอด กาแฟอราบิก้าไทย หลังเปิดAEC เพิ่มผลผลิตต่อไร่-บุกออร์แกนิก

view