สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เตรียมรื้อ2อาคารวัดกัลยาณ์

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

อธิบดีกรมศิลปากร เตรียม รื้อ 2 อาคารวัดกัลยาณ์สร้างทับที่โบราณสถานเดิม ชี้ให้เป็นบรรทัดฐานคดีทุบทำลายโดยไม่ขออนุญาต

กรมศิลปากร นายบวรเวท รุ่งรุจี อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยความคืบหน้ากรณีดำเนินคดีกับวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร หลังจากมีการทุบทำลายโบราณสถานภายในวัดโดยไม่ขออนุญาตจากกรมศิลปากร ว่า ตามที่วัดกัลยาณมิตรได้ดำเนินการรื้อถอนอาคารโบราณสถาน และก่อสร้างอาคารในเขตโบราณสถานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากร ตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปัจจุบัน มีจำนวนคดี ทั้งหมด 16 คดี อัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้อง 10 คดี ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ

อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบเอกสารต่างๆแล้ว ปรากฏว่ากรมศิลปากรได้เคยมีหนังสือแจ้งไปยังวัดกัลยาฯเมื่อวันที่ 14พ.ค.2552 ขอให้วัดรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้รับอนุญาตจากรมศิลปากรออกไปจาก เขตโบราณสถาน ซึ่งกรณีนี้วัดได้ไปร้องต่อศาลปกครองและมีการยื่นอุทธรณ์คดีต่อปลัดกระทรวง วัฒนธรรม แต่ปรากฏว่าคำอุทธรณ์ไม่เป็นผล จึงถูกยกไป ส่วนคำร้องต่อศาลปกครองที่เป็นคดีดำที่ 457/2552 ขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งห้ามให้วัดกระทำการก่อสร้างสิ่งปลูก สร้างในเขตโบราณสถาน แต่ในเวลาต่อมาปรากฏว่าคดีได้มีการยุติลง เพราะทางวัดผู้ฟ้องคดีขอถอนฟ้อง ดังนั้นศาลปกครองจึงมีคำพิพากษาให้กรมศิลปากรสามารถดำเนินการได้ตามอำนาจ หน้าที่ของกรมศิลปากรในมาตรา 7 ทวิ ตามพ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แก้ไขเพิ่มเติม 2535

“กรมศิลปากรถือว่าคดีดังกล่าวสิ้นสุดแล้ว ดังนั้นกรมศิลปากรจะมอบหมายให้นิติกรส่งหนังสือแจ้งไปยังพระพรหมกวี เจ้าอาวาสวัดกัลยา พร้อมแนบคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ห้ทราบก่อนล่วงหน้าว่ากรมศิลปากรจะเข้าทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่กรม ศิลปากรไม่ได้อนุญาต พร้อมจะกำหนดวันเวลาเข้าไปทำการรื้อถอนภายในสัปดาห์หน้าด้วย โดยการเข้ารื้อถอนโบราณสถานภายในวัดกัลยาฯในเบื้องต้นจะรื้อถอน 2 รายการก่อน ได้แก่ ศาลาเสวิกุล และศาลาทรงปั้นหยา จากทั้งหมด 15 รายการที่เป็นโบราณสถานที่ทางวัดได้ทุบทำลายของเดิม และสร้างขึ้นใหม่

ทั้งนี้เราจำเป็นต้องทำตามคำพิพากษาของศาลปกครอง เพื่อเป็นการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ซึ่งหากกรมศิลปากรไม่เข้าดำเนินการ และนิ่งเฉย ก็ยิ่งเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ดังนั้นกรมศิลปากรจำเป็นจะต้องสร้างบรรทัดฐานให้กับคดีอื่นๆ เพื่อเป็นการอนุรักษ์มรดกของชาติ ส่วนการที่อดีตอธิบดีกรมศิลปากรที่ผ่านมาไม่ดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นส่วน หนึ่งอาจเป็นผลมาจากการตัดสินคดีที่เกี่ยวข้องไม่สิ้นสุด"นายบวรเวท กล่าว

อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวต่อไปว่า ขั้นตอนหลังจากกรมศิลปากรทำการรื้อถอนอาคารเสร็จแล้ว จะต้องมาพิจารณาตามแบบอาคารโบราณสถานเดิมว่า เคยเป็นอะไรมาก่อน และต้องดูว่า ถ้าจะต้องสร้างอาคารขึ้นมาใหม่ ตามแบบโบราณสถานเดิม ก็อาจทำได้ แต่จะต้องให้ศาลอาญาพิจารณคดีให้สิ้นสุดก่อน จากนั้น กรมศิลปากร จะดำเนินการฟ้องกฎหมายแพ่ง เพื่อเรียกค่าเสียหาย ตามที่วัดได้รื้อถอนโบราณสถานเดิมไป ซึ่งทางวัด จะต้องชดใช้ค่าเสียหายการปลูกสร้างโบราณสถานเดิมด้วย เพื่อนำเงินส่วนนั้นมาสร้างอาคารขึ้นใหม่

อย่างไรก็ตามสำหรับคดีต่างๆในเวลานี้ได้รับทราบจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่า ทางเจ้าอาวาสวัดกัลยาฯยังให้ข้อมูลตอบโต้ข้อกล่าวหาของกรมศิลปากรในหลายๆ ส่วน ดังนั้นทางกรมศิลปากรจึงจำเป็นต้องเข้าไปให้การชี้แจงในทุกประเด็น จึงทำให้คดียืดเยื้อออกไป แต่บางประเด็นทราบว่าตำรวจได้สืบถึงตัวผู้รับเหมา และผู้ว่าจ้างในการทุบทำลายโบราณสถานวัดกัลยาฯแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้

- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/645256#sthash.rWU9e2QL.dpuf

อธิบดีกรมศิลปากร เตรียม รื้อ 2 อาคารวัดกัลยาณ์สร้างทับที่โบราณสถานเดิม ชี้ให้เป็นบรรทัดฐานคดีทุบทำลายโดยไม่ขออนุญาต

กรมศิลปากร นายบวรเวท รุ่งรุจี อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยความคืบหน้ากรณีดำเนินคดีกับวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร หลังจากมีการทุบทำลายโบราณสถานภายในวัดโดยไม่ขออนุญาตจากกรมศิลปากร ว่า ตามที่วัดกัลยาณมิตรได้ดำเนินการรื้อถอนอาคารโบราณสถาน และก่อสร้างอาคารในเขตโบราณสถานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากร ตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปัจจุบัน มีจำนวนคดี ทั้งหมด 16 คดี อัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้อง 10 คดี ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ

อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบเอกสารต่างๆแล้ว ปรากฏว่ากรมศิลปากรได้เคยมีหนังสือแจ้งไปยังวัดกัลยาฯเมื่อวันที่ 14พ.ค.2552 ขอให้วัดรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้รับอนุญาตจากรมศิลปากรออกไปจากเขตโบราณสถาน ซึ่งกรณีนี้วัดได้ไปร้องต่อศาลปกครองและมีการยื่นอุทธรณ์คดีต่อปลัดกระทรวงวัฒนธรรม แต่ปรากฏว่าคำอุทธรณ์ไม่เป็นผล จึงถูกยกไป ส่วนคำร้องต่อศาลปกครองที่เป็นคดีดำที่ 457/2552 ขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งห้ามให้วัดกระทำการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในเขตโบราณสถาน แต่ในเวลาต่อมาปรากฏว่าคดีได้มีการยุติลง เพราะทางวัดผู้ฟ้องคดีขอถอนฟ้อง ดังนั้นศาลปกครองจึงมีคำพิพากษาให้กรมศิลปากรสามารถดำเนินการได้ตามอำนาจหน้าที่ของกรมศิลปากรในมาตรา 7 ทวิ ตามพ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แก้ไขเพิ่มเติม 2535

“กรมศิลปากรถือว่าคดีดังกล่าวสิ้นสุดแล้ว ดังนั้นกรมศิลปากรจะมอบหมายให้นิติกรส่งหนังสือแจ้งไปยังพระพรหมกวี เจ้าอาวาสวัดกัลยา พร้อมแนบคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ห้ทราบก่อนล่วงหน้าว่ากรมศิลปากรจะเข้าทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่กรมศิลปากรไม่ได้อนุญาต พร้อมจะกำหนดวันเวลาเข้าไปทำการรื้อถอนภายในสัปดาห์หน้าด้วย โดยการเข้ารื้อถอนโบราณสถานภายในวัดกัลยาฯในเบื้องต้นจะรื้อถอน 2 รายการก่อน ได้แก่ ศาลาเสวิกุล และศาลาทรงปั้นหยา จากทั้งหมด 15 รายการที่เป็นโบราณสถานที่ทางวัดได้ทุบทำลายของเดิม และสร้างขึ้นใหม่

ทั้งนี้เราจำเป็นต้องทำตามคำพิพากษาของศาลปกครอง เพื่อเป็นการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ซึ่งหากกรมศิลปากรไม่เข้าดำเนินการ และนิ่งเฉย ก็ยิ่งเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ดังนั้นกรมศิลปากรจำเป็นจะต้องสร้างบรรทัดฐานให้กับคดีอื่นๆ เพื่อเป็นการอนุรักษ์มรดกของชาติ ส่วนการที่อดีตอธิบดีกรมศิลปากรที่ผ่านมาไม่ดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการตัดสินคดีที่เกี่ยวข้องไม่สิ้นสุด"นายบวรเวท กล่าว

อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวต่อไปว่า ขั้นตอนหลังจากกรมศิลปากรทำการรื้อถอนอาคารเสร็จแล้ว จะต้องมาพิจารณาตามแบบอาคารโบราณสถานเดิมว่า เคยเป็นอะไรมาก่อน และต้องดูว่า ถ้าจะต้องสร้างอาคารขึ้นมาใหม่ ตามแบบโบราณสถานเดิม ก็อาจทำได้ แต่จะต้องให้ศาลอาญาพิจารณคดีให้สิ้นสุดก่อน จากนั้น กรมศิลปากร จะดำเนินการฟ้องกฎหมายแพ่ง เพื่อเรียกค่าเสียหาย ตามที่วัดได้รื้อถอนโบราณสถานเดิมไป ซึ่งทางวัด จะต้องชดใช้ค่าเสียหายการปลูกสร้างโบราณสถานเดิมด้วย เพื่อนำเงินส่วนนั้นมาสร้างอาคารขึ้นใหม่

อย่างไรก็ตามสำหรับคดีต่างๆในเวลานี้ได้รับทราบจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่า ทางเจ้าอาวาสวัดกัลยาฯยังให้ข้อมูลตอบโต้ข้อกล่าวหาของกรมศิลปากรในหลายๆ ส่วน ดังนั้นทางกรมศิลปากรจึงจำเป็นต้องเข้าไปให้การชี้แจงในทุกประเด็น จึงทำให้คดียืดเยื้อออกไป แต่บางประเด็นทราบว่าตำรวจได้สืบถึงตัวผู้รับเหมา และผู้ว่าจ้างในการทุบทำลายโบราณสถานวัดกัลยาฯแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้


ไร่รักษ์ไม้,Eosgear,มูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,victorinox,แปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit,ราคา,อร่อย

Tags : เตรียมรื้อ2อาคารวัดกัลยาณ์

view