สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

Housing Asia′s Booming Population

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ CSR Talk โดย ดวงกมล สมสินสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิที่อยู่อาศัย ประเทศไทย

ปลายปี 2014 จะมีการเลือกตั้งขึ้นในหลายประเทศ อาทิ บังกลาเทศ, อินโดนีเซีย, อินเดีย, ญี่ปุ่น และหวังว่าจะเกิดขึ้นในประเทศไทยด้วย ตอนนี้ทั่วเอเชียจะมีผู้นำใหม่ ๆ ที่พร้อมจะเข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ หนึ่งในความท้าทายสำคัญคือ จะจัดสรรบ้านให้กับประชากรที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นได้อย่างไร ? และที่ไหน ?

เพราะตอนนี้ประชากรโลกทะลุ 7 พันล้านคนไปเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันกว่าครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในเอเชีย แต่มีประชากร 500 ล้านคนอาศัยอยู่ในสลัม


ในฐานะภูมิภาคที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด สหประชาชาติจึงคาดการณ์ว่าประชากรของเอเชียจะขึ้นไปถึง 5 พันล้านคนภายในปี 2050 ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยในทวีปนี้จึงจำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเสียแต่ตอนนี้ เพราะไม่เช่นนั้น จะแก้ยากยิ่งขึ้น

การทำให้ครอบครัวอยู่ในที่พักอาศัยที่ปลอดภัยและเหมาะสม จะช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนได้ เพราะจากงานวิจัยชี้ให้เห็นถึงผลเชิงบวกของที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมที่มีต่อปัจเจกบุคคล รวมไปถึงห้องที่แออัดยัดเยียด พื้นสกปรก อากาศถ่ายเทไม่ดี และสภาพความเป็นอยู่ที่ขาดสุขอนามัย ย่อมนำไปสู่สุขภาพที่ย่ำแย่

ดังนั้น การมีสถานที่ที่มีแสงสว่างพอเพียง เงียบสงบและมั่นคง จึงส่งผลต่อการเรียนที่โรงเรียน ทั้งยังช่วยเพิ่มพูนรายได้ประชากรที่อาศัยในบ้านที่เหมาะสม จะมีผลิตผลที่มากกว่าสร้างชุมชนที่เจริญกว่า รวมทั้งยังช่วยสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่า

นอกจากรัฐบาลใหม่ในเอเชียแล้ว อีกไม่ช้าเราจะยังมีการทวนซ้ำใหม่ของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปี 2015 ตามมาด้วยเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน เนื่องจากเรื่องนี้จะเป็นรากฐานสำหรับวาระการพัฒนาของโลกสำหรับ 15 ปีต่อไป

Habitat for Humanity และองค์การอื่น ๆ จึงได้รณรงค์เพื่อให้แน่ใจได้ว่าเมืองที่ยั่งยืนปลอดภัย และไม่ถูกทอดทิ้ง รวมทั้งการลงหลักปักฐานของมนุษย์จะถูกบรรจุในวาระด้วย

กลุ่มงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (The United Nations Open Working Group on Sustainable Development) จึงได้นำเสนอร่างข้อเสนอฉบับแรกต่อสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (The United Nations General Assembly) ซึ่งประกอบด้วยข้อเรียกร้องให้คนทั่วโลกสามารถมีบ้านที่พอเพียงและเหมาะสมได้ รวมถึงบริการขั้นพื้นฐานอื่น ๆ และการขจัดสภาพแบบสลัมในทุก ๆ ที่

รวมถึงประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย เช่น การถือครองที่ดิน, บริการด้านการเงิน และการเยียวยาภัยพิบัติ ก็ได้รับการบรรจุในวาระนั้นด้วย

ในขณะที่กระบวนการพิจารณาใกล้จะสิ้นสุดแล้วนั้น หลาย ๆ คนในแวดวงงานด้านพัฒนารู้สึกกังวลว่าวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยจะถูกนำไปไว้ในหัวข้ออื่น ๆ ซึ่งนั่นจะเป็นเหมือนกับกรณีของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ 2015 ที่หันความสนใจไปจากที่อยู่อาศัย จนพลาดโอกาสทองที่จะช่วยครอบครัวนับล้าน ๆ คนให้หลุดพ้นจากความยากจน

เพราะการขจัดความยากจนจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไร้ซึ่งการขจัดปัญหาที่อยู่อาศัยที่ไม่ได้มาตรฐาน

ในช่วงของการเปลี่ยนถ่ายรัฐบาล และวาระการพัฒนาใหม่นี้ เอเชียจึงอยู่ในจุดที่เด่นชัดอย่างยิ่งในการนำด้านการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยที่ขัดสน เพราะฉะนั้น รัฐบาลใหม่ในเอเชียจึงจำเป็นต้องให้น้ำหนักด้านที่อยู่อาศัยสูงสุดในวาระหลังปี 2015 เพราะการทำเช่นนี้จะช่วยให้แน่ใจได้ว่าที่อยู่อาศัยที่พอเพียง อันเป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของมนุษย์จะเป็นจริงได้สำหรับคนนับล้าน

ตอนนี้โลกได้จับตาเอเชียเพื่อทดลองและเลียนแบบการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและแนวคิดนวัตกรรมของทวีปนี้อยู่แล้ว ดังนั้น ภูมิภาคเอเชียจะมีโอกาสที่จะนำทิศทางการแก้ปัญหาเชิงพัฒนาเพื่อมอบที่อยู่อาศัยแก่ประชากรที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะจะเป็นภารกิจที่จะเกิดขึ้นในเอเชีย ทั้งยังจะเป็นประโยชน์แก่ครอบครัวทั่วโลก และมีผลต่อชนรุ่นหลังต่อไป

อย่าให้ต้องรอไปอีก 15 ปีข้างหน้าถึงจะเริ่มลงมือเลย


ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view