สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปราโมทย์ ยื่นหนังสือ ประยุทธ์ เลิกโครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน ชี้ไม่ช่วยแก้น้ำท่วม

ปราโมทย์” ยื่นหนังสือ “ประยุทธ์” เลิกโครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน ชี้ไม่ช่วยแก้น้ำท่วม

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

“ปราโมทย์ ไม้กลัด” ยื่นหนังสือ “ประยุทธ์” ให้ยกเลิกโครงการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ชี้ไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วม มีการทุจริต ซ้ำยังกระทบสิ่งแวดล้อม ยันการยกเลิกจะไม่กระทบสัญญาที่ทำกับเควอเตอร์ และบริษัทของจีน เพราะยังไม่มีการลงนามสัญญาว่าจ้าง
       
       วันนี้ (5 มิ.ย.) ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน และนายบัญชา ขวัญยืน ประธานคณะอนุกรรมวิศวกรรมแหล่งน้ำ ตัวแทนนักวิชาการวิศกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ วสท. ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อเสนอข้อเร่งด่วนการจัดการน้ำของประเทศในโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน และขอให้ยุบสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ หรือ สบอช. พร้อมยกเลิกแผนงาน 10 โมดูล เพราะโครงการดังกล่าวไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ รวมทั้งมีการบิดเบือนผลประโยชน์ทับซ้อน ทุจริตผิดขั้นตอน เอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนก่อสร้างในแวดวงนักการเมือง และข้าราชการ อีกทั้งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ซึ่งยากต่อการแก้ไข มีประชาชนได้รับกระทบจากโครงการและเกิดปัญหาความแตกแยก
       
       โดย นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ขอให้ คสช. จัดระบบทบทวนใหม่ โดยวางแผนเร่งด่วน เพื่อรับมือกับฤดูฝนที่จะมาถึง โดยไม่ให้นักการเมืองและข้าราชการที่รับประโยชน์มาแทรกแซง และใช้แผนบริหารจัดการน้ำที่กรมชลประทานศึกษาร่วมกับไจก้า และแนวทางที่ วสท. ศึกษาไว้ ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วม และมีส่วนตัดสินใจ ตรวจสอบบุคคลที่เข้ามาทำหน้าที่ในคณะทำงานชุดต่างๆ ไม่ให้มีส่วนเกี่ยวข้อง
       
       ทั้งนี้ บางโครงการใน 10 โมดูล ที่มีประโยชน์ เช่น โครงการอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กใน 18 แห่ง ที่กระจายในโมดูลต่างๆ ซึ่งบางจุดก็จำเป็น และยืนยันการยกเลิกโครงการจะไม่กระทบสัญญาที่ทำร่วมกับเควอร์เตอร์ และบริษัทของจีน เพราะยังไม่มีการลงนามสัญญาว่าจ้าง ส่วนเงินที่ใช้ไป 1.2 แสนล้านบาทแล้วนั้น ไม่ใช่เงินที่ใช้ในโครงการ แต่เป็นค่าบริหารจัดการรายละเอียดของโครงการมากกว่า


ยื่น"ประยุทธ์"ยุบสบอช.-ยกเลิกแผนจัดการน้ำ

จาก โพสต์ทูเดย์

นักวิชาการ วิศวกรรมสถานฯ ยื่นหนังสือถึงหัวหน้า คสช. ขอให้ยุบ "สบอช." พร้อมยกเลิกแผนบริหารจัดการน้ำ 10 โมดูล ชี้แก้น้ำท่วมไม่ได้ แถมมีการทุจริตเอื้อกลุ่มทุนก่อสร้าง

เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. นักวิชาการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) นำโดยนายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน และนายบัญชา ขวัญยืน ประธานคณะอนุกรรมวิศวกรรมแหล่งน้ำ เข้ายื่นหนังสือกับพลเอกประยุทธ จันทรโอชา หัวหน้าคสช. เพื่อยื่นหนังสือ ข้อเสนอเร่งด่วนการจัดการน้ำของประเทศ  อันเนื่องมาจากโครงการ 3.5 แสนล้าน

ทั้งนี้ข้อเสนอเรียกร้องให้ 1.ยุบสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) 2.ยกเลิกแผนงาน 10 โมดูล เพราะโครงการดังกล่าว ไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ มีการบิดเบือนผลประโยชน์ทับซ้อน ทุจริตผิดขั้นตอน เอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนก่อสร้าง ในแวดวงนักการเมือง และข้าราชการ อีกทั้งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ซึ่งยากจะแก้ไข อีกทั้งมีประชาชนได้รับกระทบจากโครงการและเกิดปัญหาความแตกแยก

ดังนั้นจึงขอให้คสช. จัดระบบทบทวนใหม่ โดยวางแผนเร่งด่วน เพื่อรับมือกับฤดูฝนที่จะมาถึง โดยไม่ให้นักการเมืองและข้าราชการที่รับประโยชน์ มาแทรกแซง และใช้แผนบริหารจัดการน้ำ ที่กรมชลประทานศึกษาร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) และแนวทางที่วสท.ศึกษาไว้ ตลอดจนสร้างการมีส่วนการมีส่วนร่วม และมีส่วนตัดสินใจ.  ตรวจสอบบุคคลที่เข้ามาทำหน้าที่ ในคณะทำงานชุดต่างๆ ไม่ให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อน

นายปราโมทย์ กล่าวว่าบางโครงการ ใน 10 โมดูล ที่มีประโยชน์ เช่นโครงการอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ใน 18 แห่งที่กระจายในโมดูลต่างๆ ซึ่งบางจุดก็จำเป็นก็สามารถดำเนินการได้ให้ผ่านการศึกษาตามขั้นตอนที่ถูก ต้องแล้ว  ทั้งนี้เห็นว่าการยกเลิก โครงการ จะไม่กระทบสัญญาที่ทำร่วมกับ เควอร์เตอร์ และบริษัทของจีน เพราะยังไม่มีการลงนามสัญญาว่าจ้าง 


เปิดหนังสือวสท.ยื่นคสช.ล้มแผนโครงการน้ำ

จาก โพสต์ทูเดย์

เปิดหนังสือวิศวกรรมสถานยื่น หัวหน้าคสช. ให้ล้มเลิกแผนงานโครงการบริหารน้ำชี้แก้น้ำท่วมไม่ได้-บิดเบือนมีผลประโยชน์ทับซ้อน

เมื่อวันที่ 5 ม.ย. รศ.ดร.บัญชา ขวัญยืน ประธานคณะอนุกรรมการวิศวกรรมแหล่งน้ำ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้ทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.)และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่อง ข้อเสนอเร่งด่วนในการจัดการน้ำของประเทศ อัยนเนื่องมาจากโครงการ 3.5 แสนล้าน โดยเสนอให้ยุบ สำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) พร้อมกับล้มเลิกแผนงานทั้ง 10 โมดูล

สำหรับเนื้อหาของหนังสือดังกล่าวมีดังนี้

นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารประเทศ โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช .) เมื่อวันที่ 22 พ.ค.2557 ที่ผ่านมา ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้วในเชิงนโยบายและภาคปฏิบัติในหลายๆ โครงการที่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้ริเริ่มไว้ หนึ่งในนั้น คือ โครงการตามแผนการบริหารจัดการน้าและอุทกภัยแห่งชาติ ด้วยงบประมาณ 3.5 แสนล้านบาท ที่เกิดจากข้อเสนอของส้านักงานนโยบายและบริหารจัดการน้าและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.)

ทั้งนี้คณะอนุกรรมการวิศวกรรมแหล่งน้ำ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจากสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง และมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคมด้านวิชาการเมื่อเกิดมหาอุทกภัยในปี พ.ศ. 2554 มีความห่วงใยอย่างยิ่งต่อกระแสข่าวว่า คสช. ประสงค์จะสานต่อโครงการดังกล่าว

เนื่องจากหลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมา รัฐบาลได้กำหนดนโยบายในการบริหารจัดการน้ำ และภัยพิบัติขึ้นเป็น 2 ระยะ โดยในระยะเร่งด่วน รัฐบาลได้ใช้จ่ายงบประมาณไปแล้วเป็นเงินทั้งสิ้น 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งถึงบัดนี้ ยังไม่มีการรายงานผลการใช้จ่ายว่ามีความคุ้มค่าและบรรลุเป้าหมายหรือไม่ อย่างไร ขณะที่มีการเตรียมใช้จ่ายงบประมาณอีก 3.5 แสนล้านบาท ตามแผนงานทั้ง 10 โมดูลของ สบอช. ซึ่งได้รับการต่อต้านจากประชาชนผู้อาจได้รับผลกระทบอย่างกว้างขวาง จนกระทั่ง มีการนำเรื่องสู่ศาลปกครอง และศาลฯ มีคำสั่งให้ผู้ดำเนินโครงการต้องทำรายงานศึกษาโครงการและเผยแพร่ข้อมูล โครงการ ตามกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ทั่วถึงเสียก่อน ซึ่งนับถึงปัจจุบัน ขั้นตอนดังกล่าวนี้ยังมิได้รับการปฏิบัติให้ลุล่วงและค้างคาอยู่

อีกประการหนึ่ง จากการศึกษาของคณะอนุกรรมการวิศวกรรมแหล่งน้ำฯ เห็นว่าแผนงานดังกล่าวมีจุดบกพร่องที่สำคัญที่ไม่อาจละเลยได้หลายประการ เป็นต้นว่า ขาดการศึกษาความเป็นไปได้ในระดับยุทธศาสตร์ ขาดการศึกษาความเป็นไปได้ของแต่ละโครงการย่อย ขาดการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และขาดการศึกษาความสัมพันธ์ของทุกโครงการที่บรรจุในแผนในทุกมิติ หากมีการดำเนินการตามแผนงานนี้ ไม่ว่าจะเป็นเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด อาจก่อให้เกิดผลร้ายต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศอย่างยากจะเยียวยา โดยไม่สามารถแก้ไขปัญหาภัยพิบัติได้จริง คณะอนุกรรมการวิศวกรรมแหล่งน้ำฯ จึงได้ออกแถลงการณ์และข้อเสนอต่อรัฐบาลเป็นระยะๆ ตลอดเกือบหนึ่งปีที่ผ่านมาฃ

พร้อมกันนี้ คณะอนุกรรมการวิศวกรรมแหล่งน้ำฯ ใคร่ขอให้ คสช. พิจารณาข้อเสนออันเป็นประโยชน์ต่อการจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ ดังต่อไปนี้ คือ

ข้อเสนอที่ 1 ยุบหน่วยงานที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ คือ สำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้าและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) พร้อมกับล้มเลิกแผนงานทั้ง 10 โมดูล ด้วยเหตุผลสำคัญ 4 ประการ ดังนี้

1.บิดเบือนและมีผลประโยชน์ทับซ้อน
แผน งานที่ สอบช. เสนอเป็นแผนงานที่บิดเบือนหลักวิชาการในการบริหารจัดการน้ำและภัยพิบัติ ด้วยนักวิชาการที่เกี่ยวข้องหลายคนมีผลประโยชนทับซ้อน ไม่มีความจริงใจในการแก้ปัญหาภัยพิบัติของชาติอย่างแท้จริง

2.ทุจริตผิดขั้นตอน
กระบวนการ และขั้นตอนที่ได้ดำเนินการไปแล้วส่อทุจริต / คอร์รัปชั่น มีการเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนก่อสร้าง ทั้งบริษัทคนไทยและต่างชาติที่เกาะเกี่ยวโยงใยในแวดวงนักการเมืองและข้า ราชการบางคน

3.แก้ปัญหาไม่ได้
ด้วยเหตุผลใน ข้อ 1 และการดำเนินการที่ขาดการศึกษาอย่างรอบคอบ ทำให้แผนงานของ สบอช. ทั้ง 10 โมดูล ไม่สามารถแก้ไขปัญหาภัยพิบัติของประเทศได้ หากมีการดำเนินงานต่อไป นอกจากจะเป็นการสูญเปล่าทางงบประมาณแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในระยะยาวอย่างยากจะแก้ไขอีกด้วย

4.เบียดเบียนประชาชน
ประชาชนนับ ล้านครอบครัวจะได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามแผนงานของ สบอช. และเดือดร้อนแสนสาหัส จะเกิดความแตกแยก เกิดแรงต่อต้านประท้วง ซึ่งอาจนำไปสู่การยุติโครงการกลางคัน ก่อให้เกิดความสูญเสียทางงบประมาณ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างใหญ่หลวง

ข้อเสนอที่ 2 จัดระบบ-ทบทวนใหม่ โดยดำเนินการดังต่อไปนี้

1.วางแผนเร่งด่วนอย่างรัดกุม เพื่อรับมือกับฤดูฝนที่ก้าลังจะมาถึง โดยไม่มีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองเก่าและข้าราชการที่ได้รับประโยชน์จากการ จัดการภัยพิบัติทางน้ำ

2.คิดใหม่ด้วยข้อมูลที่ไม่บิดเบือน ทบทวน พิจารณาและปรับใช้แผนการบริหารจัดการน้ำที่กรมชลประทานได้ศึกษาและน้าเสนอ ร่วมกับ JICA (Japan International Cooperation Agency) รวมทั้งแนวคิดที่ วสท. ได้นำเสนอไว้ในเอกสาร “แนวทางที่ถูกต้องในการบริหารจัดการอุทกภัย ลุ่มน้าเจ้าพระยา ฉบับ วสท.” อย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและด้าเนินการตามหลักวิชาการอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้

3.สร้างการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน รับฟังความคิดเห็นและเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีโอกาสร่วม ตัดสินใจอย่างเต็มที่ ทั่วถึงและเป็นธรรม

4.ตรวจสอบบุคคลหรือกลุ่มบุคคลผู้เข้าไปทำหน้าที่ในคณะกรรมการชุด ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการและการบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งเครือญาติและพวกพ้อง ต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งทางตรงและทางอ้อมในการดำเนินโครงการ

5.กรณีที่โครงการใดๆ ยังไม่ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ หรือการศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน จะต้องกำหนดให้มีการศึกษาและจัดทำรายงานตามหลักวิชาการก่อนดำเนินโครงการ ซึ่งหากศึกษาแล้วพบว่าอาจก่อให้เกิดผลกระทบในระดับสูงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง ได้ สมควรต้องพิจารณายกเลิกโครงการได้

โครงการใดๆ ที่มีผลการศึกษาในประเด็นต่างๆ อย่างชัดเจนแล้วแต่ทำไว้เป็นเวลานาน ไม่ได้ดำเนินโครงการด้วยสาเหตุใดก็ตาม ควรต้องมีการทบทวนการศึกษาอีกครั้ง ตามสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจมองไม่เห็น (Unforeseen Problem) แต่อาจเกิดขึ้นได้ต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชน

โครงการใดๆ ที่ได้มีการศึกษาในประเด็นต่างๆ อย่างชัดเจนรอบด้าน เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างเป็นรูปธรรม และหน่วยงานผู้รับผิดชอบโดยตรงมีความพร้อมที่จะดำเนินการอยู่แล้ว อาจพิจารณาให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรับผิดชอบด้าเนินโครงการด้วยความโปร่ง ใสตรวจสอบได้

ข้อเสนอที่ 3 ทบทวนตรวจสอบผลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และข้าราชการที่เกี่ยวข้องต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ผ่านมา

เนื่องจากในการจัดการภัยพิบัติน้ำหลายครั้งที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นมหาอุทกภัยในปี พ.ศ.2554 และในปี พ.ศ. 2556 ที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมจังหวัดปราจีนบุรี ได้ปรากฏเป็นที่ชัดเจนว่า การบริหารจัดการน้าไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ท้าให้อุทกภัยที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงเกินความคาดหมาย ดังนั้น จึงควรมีการทบทวนตรวจสอบผลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่ รับผิดชอบโดยตรง หากผู้มีอำนาจกำกับดูแลไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ หรือมีการสั่งการที่ผิดพลาด หรือแฝงผลประโยชน์จากกลุ่มการเมือง หรือหวังประโยชน์อื่นใดที่ไม่ถูกต้อง สมควรต้องมีการแสดงความรับผิดชอบและมีการปรับเปลี่ยนบุคลากรที่มีความเหมาะ สม มีความรู้ความสามารถ ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาด้าเนินการรับผิดชอบต่อไป


ขอคสช.ยุบ'สบอช.'ยกเลิกแผนบริหารจัดการน้ำ

นักวิชาการวิศกรรม ในนาม "วสท." ยื่นหนังสือให้ คสช. ยุบ สบอช. ยกเลิกแผนบริหารจัดการน้ำ

ที่บริเวณด้านหน้ากองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ถ.ราชดำเนิน นักวิชาการวิศกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ วสท. นำโดยนายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน และนายบัญชา ขวัญยืน ประธานคณะอนุกรรมวิศวกรรมแหล่งน้ำ เข้ายื่นหนังสือต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. เพื่อเสนอข้อเร่งด่วนการจัดการน้ำของประเทศ ในโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน และขอให้ยุบสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ หรือสบอช. พร้อมยกเลิกแผนงาน 10 โมดูล เพราะโครงการดังกล่าวไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ รวมทั้งมีการบิดเบือนผลประโยชน์ทับซ้อน ทุจริตผิดขั้นตอน เอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนก่อสร้างในแวดวงนักการเมือง และข้าราชการ อีกทั้งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ซึ่งยากต่อการแก้ไข มีประชาชนได้รับกระทบจากโครงการและเกิดปัญหาความแตกแยก

นายปราโมทย์ กล่าวว่า ขอให้คสช. จัดระบบทบทวนใหม่ โดยวางแผนเร่งด่วน เพื่อรับมือกับฤดูฝนที่จะมาถึง โดยไม่ให้นักการเมืองและข้าราชการที่รับประโยชน์มาแทรกแซง และใช้แผนบริหารจัดการน้ำ ทึ่กรมชลประทานศึกษาร่วมกับไจก้า และแนวทางที่วสท.ศึกษาไว้ ตลอดจนสร้างการมีส่วนการมีส่วนร่วม และมีส่วนตัดสินใจ ตรวจสอบบุคคลที่เข้ามาทำหนัาที่ในคณะทำงานชุดต่างๆ ไม่ให้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ทั้งนี้บางโครงการใน 10 โมดูล ที่มีประโยชน์ เช่นโครงการอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กใน 18 แห่งที่กระจายในโมดูลต่างๆ ซึ่งบางจุดก็จำเป็น และยืนยันการยกเลิก โครงการ จะไม่กระทบสัญญาที่ทำร่วมกับเควอร์เตอร์ และบริษัทของจีน เพราะยังไม่มีการลงนามสัญญาว่าจ้าง ส่วนเงินที่ใช้ไป 1.2 แสนล้านบาทแล้วนั้น ไม่ใช่เงินที่ใช้ในโครงการ แต่เป็นค่าบริหารจัดการรายละเอียดของโครงการมากกว่า


ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view