สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ธ.ก.ส.เตรียมจ่ายเงินค่าจำนำข้าว 9 หมื่นล้านบาท คาดเสร็จในเดือน มิ.ย.นี้

ธ.ก.ส.เตรียมจ่ายเงินค่าจำนำข้าว 9 หมื่นล้านบาท คาดเสร็จในเดือน มิ.ย.นี้

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ชาวนาเฮลั่น! ธ.ก.ส.เตรียมจ่ายเงินค่าจำนำข้าว 9 หมื่นล้านบาท คาดเสร็จในเดือน มิ.ย.นี้ เผยมีผู้ที่ยังไม่ได้รับเงินอีกถึง 8.6 หมื่นราย
       
       นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.ได้ตรวจเยี่ยมความพร้อมในการจ่ายเงินรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต ปี 56/57 ให้แก่ชาวนาที่อยู่ระหว่างรอรับเงินอีกกว่า 858,538 ราย วงเงินกว่า 90,000 ล้านบาท โดยเงินดังกล่าวมาจากกองทุนช่วยเหลือชาวนา และเงินกู้ที่กระทรวงการคลังจัดหามาให้ ซึ่งคาดว่าจะจ่ายให้เกษตรกรได้เสร็จสิ้นภายในเดือน มิ.ย.นี้
       
       ทั้งนี้ ธ.ก.ส.พร้อมเร่งทยอยจ่ายเงินดังกล่าวตามคิวใบประทวนที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ตามลำดับก่อนหลังอย่างเคร่งครัดโปร่งใส ตั้งแต่วันนี้ (26 พ.ค.) ซึ่งเงินที่จะนำมาใช้หมุนเวียนจะมาจากเงินกองทุนช่วยเหลือชาวนา และเงินกู้ยืมที่กระทรวงการคลังจัดหามาให้ในวงเงินไม่เกิน 92,431 ล้านบาท
       
       โดยในระหว่างที่รอการกู้เงิน ธ.ก.ส.จะสำรองจ่ายก่อนในวงเงินไม่เกิน 40,000 ล้านบาท เพื่อให้เกษตรกรอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ การดำเนินโครงการดังกล่าวกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ค้ำประกัน และรับผิดชอบชำระคืนต้นเงิน ดอกเบี้ย ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง รวมทั้งผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานทั้งหมด
       
       สำหรับผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ณ วันที่ 23 พ.ค.57 มียอดใบประทวนรวมทั้งสิ้น 1,527,290 ราย ข้าวเปลือก 11.64 ล้านตัน จำนวนเงิน 192,950 ล้านบาท โดย ธ.ก.ส.ได้ทยอยจ่ายเงินไปแล้ว ณ ปัจจุบัน จำนวน 833,182 ราย ปริมาณข้าวเปลือก 6.29 ล้านตัน จำนวนเงิน 103,019 ล้านบาท จากยอดจัดสรรทั้งหมด 105,500 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินงบประมาณและเงินจากการระบายข้าวของกระทรวงพาณิชย์ 75,000 ล้านบาท เงินกองทุนช่วยเหลือชาวนา 10,500 ล้านบาท และงบกลางที่รัฐบาลยืมจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อีก 20,000 ล้านบาท


ย้ำพล.อ.ประยุทธ์แก้ปัญหาชาวนาทำตามที่พูด

"พล.ต.ชาติชาย"ยกพล.อ.ประยุทธ์ แก้ปัญหาจ่ายเงินจำนำข้าวให้ชาวนาเป็นการทำตามที่พูด

พล. ต. ชาติชาย อ่อนน่วม เจ้ากรมการสัตว์ทหารบก เป็นประธานในการจ่ายเงินจำนำข้าวให้กับชาวนา โดยมีนายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และเกษตรกรให้การต้อนรับทั้งนี้ที่จ.นครปฐม มียอดเงินรับจำนำข้าวที่จะต้องจ่ายให้กับชาวนา1,624 ล้านบาท รวม 9,587 ราย คาดจะสามารถจ่ายเงินค้างจำนำข้าวให้กับชาวนาได้หมดภายใน 15 วัน

พล. ต. ชาติชาย กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.เคยพูดไว้ในที่ประชุมหน่วยขึ้นตรงกองทัพบกว่า หากมีอำนาจจะแก้ไขปัญหาให้กับชาวนาเป็นอันดับแรก และสิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือการที่ได้ทำตามที่พูด

"ขอพวกเราอย่าไปหลงเชื่อการปลุกระดม หรือการกระทำผิดกฎหมาย รวมถึงการออกไปชุมนุมประท้วงต่างๆ พร้อมขอโอกาสให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ทำงานตามภารกิจ แก้ปัญหาให้กับประเทศชาติ หลังเสร็จสิ้นภารกิจ ทุกอย่างเข้าสู่ภาวะปกติ "พล.ต.ชาติชาย กล่าว


ชงเช็กบิลโกงจำนำข้าว

จาก โพสต์ทูเดย์

อนุสรณ์ เสนอ คสช.เอาผิดผู้ทุจริตในโครงการจำนำข้าว ทบทวนว่าควรเลิกโครงการหรือไม่

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ในฐานะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกรรมการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า กลุ่มนักวิชาการและนักธุรกิจภายใต้เครือข่ายติดตามผลกระทบของรัฐประหารทาง เศรษฐกิจได้หารือกันและมีข้อเสนอต่อ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สนับสนุนการเร่งกู้เงินเพื่อไปชำระหนี้ค่าจำนำข้าวให้ชาวนาที่เหลืออีก 8 แสนราย แต่ขอให้ คสช.ดำเนินการเอาผิดกับผู้ที่ทุจริตคอร์รัปชันในโครงการจำนำข้าวอย่างเด็ด ขาด ภายใต้กระบวนการยุติธรรมที่โปร่งใส

ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า คสช. และหน่วยงานรวมทั้งกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ต้องบริหารจัดการระบายข้าวในสต๊อกของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส เพื่อให้ได้สภาพคล่องมาชำระหนี้ชาวนาและทำให้เกิดภาระทางการคลังให้น้อยที่ สุด

ขณะเดียวกันต้องสร้างความมั่นใจต่อระบบสถาบันการเงินเพื่อปล่อยกู้หรือ ชำระเงินให้ชาวนาที่ถือใบประทวน โดยสถาบันการเงินสามารถนำใบประทวนซึ่งเป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกันมารับ เงินจากรัฐบาลได้ต่อไป

นายอนุสรณ์ กล่าวว่า นโยบายแทรกแซงราคา ไม่ว่าจะเป็นนโยบายรับจำนำ นโยบายประกันราคาก็ตาม รัฐบาลควรนำมาใช้เพียงระยะสั้นๆเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวนาหรือ เกษตรกรเมื่อราคาพืชผลตกต่ำและผันผวนเท่านั้น

“การแทรกแซงราคาที่ฝืนกลไกตลาดไม่สามารถทำได้ในระยะเวลานานๆ เพราะจะส่งผลเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ระบบตลาด ระบบการผลิตและฐานะทางการคลังของรัฐบาล และไม่สามารถสร้างรายได้หรือชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนาหรือเกษตรกรให้ดีขึ้น อย่างยั่งยืนได้ จะต้องปฏิรูปภาคเกษตรกรรมเท่านั้น” นายอนุสรณ์ กล่าว 

นอกจากนี้ ต้องปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร เริ่มต้นตั้งแต่ปฏิรูประบบข้อมูลที่ดินเพื่อการเกษตร กำหนดเพดานการถือครองที่ดินอย่างเหมาะสม กำหนดเขตการใช้ที่ดินและแผนการใช้ที่ดิน จัดตั้งกองทุนที่ดินเพื่อเกษตรกร

ไทยต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนต่อไตรลักษณะของภาคเกษตรกรรมของไทย อันประกอบด้วย เกษตรดั้งเดิม เกษตรอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เกษตรอินทรีย์ทางเลือก ในขณะที่โลกเผชิญความท้าทายทางด้านความมั่นคงอาหารและพลังงาน ใช้เทคโนโลยี การบริหารจัดการความรู้ เพื่อ เพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูปสินค้าเกษตร (ข้าวหรือสินค้าเกษตรอื่นๆ)

นอกจากนี้ คสช.ต้องเร่งรัดให้จัดทำงบประมาณปี 2558 ให้ทันต่อความจำเป็นในการใช้จ่ายของประเทศในด้านต่างๆ ควรมีการดำเนินนโยบายทางการเงินและนโยบายการคลังผ่อนคลายเพิ่มเติมในช่วง เวลานี้เนื่องจากเศรษฐกิจไทยได้เข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างชัดเจน

“ขอให้มีมาตรการรับมือกับความผันผวนในตลาดการเงินและกระแสเงินทุนไหลออก ที่จะส่งผลต่อการอ่อนตัวของค่าเงินบาทอย่างรุนแรง มีมาตรการในการดูแลความมั่นคงของสถาบันการเงินและระบบการชำระ เงิน”นายอนุสรณ์ กล่าว

อย่างไรก็ดี ในที่สุดแล้ว คสช.ควรเร่งรัดให้มีการปฏิรูปเศรษฐกิจ แต่การปฏิรูปเศรษฐกิจและการปฏิรูปด้านต่างๆไม่สามารถดำเนินได้อย่างมี ประสิทธิภาพหากไม่สามารถดึงการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายซึ่งต้องทำให้บ้าน เมืองอยู่ในบรรยากาศประชาธิปไตย

“คสช. ควรรีบประกาศคืนอำนาจให้ประชาชนและประกาศเป้าหมายและเงื่อนเวลาในการจัดการ เลือกตั้งให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่องบประมาณความช่วยเหลือระหว่างประเทศและข้อตกลงทาง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ”นายอนุสรณ์ กล่าว


จ่ายเงินจำนำข้าวสร้างความหวังชาวไร่ 2 แสนคนได้รับเงินเพิ่มค่าอ้อย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

ชาวไร่อ้อย 2 แสนรายยังไม่สิ้นหวังหลังเห็นชาวนาเริ่มจะได้รับเงินจำนำข้าว ลุ้น “คสช.” ช่วยเหลือเพิ่มค่าอ้อยขั้นต้นอีกตันละ 160 บาทโดยการกู้เงินจาก ธ.ก.ส. 1.6 หมื่นล้านบาท
       
       นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ชาวไร่อ้อยทั่วประเทศประมาณ 2 แสนรายมีความคาดหมายที่จะได้รับการพิจารณาเพิ่มค่าอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 56/57 จากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในอัตราเพิ่มอีกตันละ 160 บาทจากประกาศเดิมให้ตันละ 900 บาทซึ่งไม่คุ้มต้นทุนการผลิต โดยแนวทางการสนับสนุนแหล่งเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ผ่านให้กับกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย วงเงินประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท
       
       “ที่ผ่านมามีการลงนามความเห็นชอบของกระทรวงที่เกี่ยวข้องทั้งพาณิชย์ เกษตรฯ อุตสาหกรรม และคลังแล้ว และนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ก็ได้ลงนามในการนำเสนอเรื่องเงินกู้ดังกล่าวให้กับนายประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรม ในการนำเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีได้ในวันที่ 27 พ.ค. แต่เมื่อเกิดรัฐประหารไปเสียก่อนเรื่องดังกล่าวจึงไม่สามารถดำเนินการได้ แต่เมื่อ คสช.เข้ามาบริหารและเห็นว่าได้เร่งแก้ไขปัญหาเงินจำนำข้าวให้กับชาวนาเลยคาด หวังว่าชาวไร่อ้อยจะได้รับการดูแลด้วยซึ่งเป็นเงินกู้ไม่ได้ใช้งบประมาณใดๆ เลย” นายธีระชัยกล่าว
       
       ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาราคาอ้อยโดยการกู้นั้นแม้ว่าหลายฝ่ายอาจมองว่าไม่ใช่คำตอบแต่ ระยะสั้นนี้มีความจำเป็นอย่างมากเพราะไทยไม่ได้ปล่อยให้ราคาน้ำตาลทราย บริโภคในประเทศสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง และที่ผ่านมาราคาอ้อยเมื่อตกต่ำก็ใช้วิธีการกู้เงินและมีอัตราดอกเบี้ยไม่ ได้ใช้งบประมาณแต่อย่างใด ซึ่งหากได้ค่าอ้อยมาชาวไร่อ้อยก็จะได้นำเงินไปเสริมสภาพคล่องที่ขณะนี้เป็น ช่วงฤดูปลูกใหม่ต้องนำเงินไปหาพันธุ์อ้อยรวมถึงไปบำรุงอ้อยตอ เนื่องจากขณะนี้เกรงปัญหาภัยแล้งหลายพื้นที่ต้องดูแลระบบน้ำให้ดีขึ้นไม่ เช่นนั้นผลผลิตจะตกต่ำได้
       
       แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า กองทุนอ้อยฯ ได้จัดทำประมาณการรายได้และรายจ่ายเพื่อประกอบการขอกู้เงินเพิ่มค่าอ้อยใน การเสนอ ธ.ก.ส.แล้ว คาดว่าจะต้องกู้ประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท โดยนำรายได้จากการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 5 บาทต่อ กก.ที่ต้องส่งเข้ากองทุนฯ เดือนละ 1,000 ล้านบาทชำระหนี้ คาดว่าจะชำระหนี้หมดใน 17 เดือน หลังจากที่หนี้เก่าที่ยังค้าง ธ.ก.ส.อีก 2,000 กว่าล้านจะชำระหมดในเดือน ก.ค.นี้


ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view