สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สุดเจ๋ง ! สารเคลือบคมมีดทนกว่าเดิม 100 เท่าผลงานนักวิทยาศาสตร์จีน

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

      เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ - นักวิทยาศาสตร์จีนพัฒนาเทคโนโลยีการชุบใบมีดให้มีความคมทนทานกว่าใบมีดทั่วไปถึง 100 เท่า
       
       สารต้านทานการสึกหรอนี้คิดค้นและพัฒนาโดยคณะนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีนายหวง เฟิง อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีวัสดุและวิศวกรรมหนิงโปในสังกัดของสถาบันวิทยา ศาสตร์จีนเป็นหัวหน้า
       
       นายหวงระบุว่า นอกจากนำมาเคลือบมีดทำครัวแล้ว สารเคลือบนี้ยังนำไปใช้ในการวงการอุตสาหกรรม เพื่อยืดอายุของผลิตภัณฑ์และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมหนัก ของจีนได้อีกด้วย
       
       สารเคลือบต้านทานการสึกหรอนี้ต้องถูก บดถึง 1,000 ครั้งภายใต้แรงกดบรรยากาศถึง 10,000 เท่า จึงจะทำให้ชั้นอะตอม 1 ชั้นของมันค่อย ๆ หายไป
       
       “ถ้านำมาใช้กับมีดทำครัว อายุการใช้งานของมีดก็อาจยืนยาวกว่าอายุของผู้ใช้เสียด้วยซ้ำ” คณะนักวิทยาศาสตร์ ที่คิดค้นกล่าว
       
       สารเคลือบนี้ทำขึ้นจากโลหะชนิดต่าง ๆ ซึ่งใส่ไนโตรเจนเหลว เช่น โครเมียม และวาเนเดียม มีความบางเพียงไม่กี่ไมโครเมตรและอาจนำไปเคลือบผิวเครื่องจักรได้เกือบทั้ง ทุกประเภทในอุตสาหกรรมการบินและการผลิตรถยนต์ จากในปัจจุบันที่จีนนิยมใช้สารเคลือบต้านทานการสึกหรอจากยุโรป โดยเฉพาะเยอรมนี
       
       นายหวงหวังว่า สารเคลือบที่คิดค้นพัฒนาและจดสิทธิบัตรแล้วนี้จะช่วยปรับปรุงชื่อเสียงของ “เมด อิน ไชน่า” และช่วยให้ประเทศจีนสามารถแข่งขันกับเทคโนโลยีของตะวันตกได้

สุดเจ๋ง ! สารเคลือบคมมีดทนกว่าเดิม 100 เท่าผลงานนักวิทยาศาสตร์จีน

       อย่างไรก็ตาม มีผู้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่นี้ อาทินาย หยัง ไค ผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุต้านทานการสึกหรอแห่งสถาบันเซรามิกส์เซี่ยงไฮ้ใน สังกัดสถาบันวิทยาศาสตร์จีน และเป็นผู้พัฒนาสารเคลือบสำหรับอุตสาหกรรมการบินของจีน
       
       เขากล่าวว่า ผลงานของนายหวงเป็นสิ่งที่มีคุณค่า แต่ยังต้องผ่านการทดสอบท่ามกลางสภาพแวดล้อมในการใช้งาน เช่นอุณหภูมิอากาศ และแรงกดดัน ซึ่งอาจมีผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานของสารเคลือบนี้ได้ และปัจจัยเหล่านี้อาจยังไม่มีการทดลองซ้ำ เพื่อความแน่นอนในห้องทดลองก็เป็นได้


ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view