สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

พิษโลกร้อน! นักวิทย์เตือน ฐานยิงจรวดนาซา หลายแห่งเสี่ยง จมทะเล

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

      เอเอฟพี – ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นกำลังเป็นภัยคุกคามต่อฐานยิงจรวด และศูนย์ปฏิบัติการหลายแห่งขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) ซึ่งใช้สถานที่เหล่านี้ฝึกฝนนักบินอวกาศ และปฏิบัติภารกิจสำคัญหลายต่อหลายครั้ง นักวิทยาศาสตร์เตือนวันนี้ (20)
       
       นาซา กำลังเร่งก่อสร้างกำแพงกันคลื่นในจุดเสี่ยง และเคลื่อนย้ายอาคารบางส่วนให้อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน ตั้งแต่ที่แหลมคานาเวอรัลในรัฐฟลอริดาเรื่อยไปจนถึงศูนย์ควบคุมภารกิจใน เมืองฮุสตัน
       
       ศูนย์ปฏิบัติการสำคัญ 5 ใน 7 แห่งของนาซาตั้งอยู่ริมทะเล ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระบุว่าภูมิประเทศเช่นนี้จำเป็นในด้านการขนส่งสำหรับการยิง จรวด หรือทดสอบกระสวยอวกาศ
       
       รายงานจากสหภาพนักวิทยาศาสตร์ (Union of Concerned Scientists) ระบุว่า ศูนย์ปฏิบัติการของนาซาหลายแห่งเริ่มได้รับกระทบจากการรุกคืบของน้ำทะเล, การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุเฮอริเคน
       
       ฐานยิงของนาซาซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ ศูนย์อวกาศเคนเนดี (Kennedy Space Center) ซึ่งเป็นสถานที่ปล่อยยานอพอลโลขึ้นไปปฏิบัติภารกิจสำรวจดวงจันทร์ และใช้ในการยิงกระสวยอวกาศของสหรัฐฯ หลายต่อหลายครั้งในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา
       
       “ข้อมูลจากสำนักงานวางแผนและพัฒนาของนาซา ระบุว่า ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นคือภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดสำหรับการปฏิบัติงานของ ศูนย์อวกาศเคนเนดี”
       
       รายงานชิ้นนี้ยังระบุรายชื่อสถานที่สำคัญอื่นๆ ในสหรัฐฯ ที่เสี่ยงได้รับความเสียหายจากการรุกคืบของน้ำทะเล เช่น อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพในนิวยอร์ก, ชุมชนชาวอังกฤษแห่งแรกในอเมริกาเหนือที่เกาะเจมส์ทาวน์ รัฐเวอร์จิเนีย และเมืองประวัติศาสตร์ชาร์ลสตัน รัฐเซาท์แคโรไลนา
       
       ศูนย์อำนวยการบินวัลลอปส์ (Wallops Flight Facility) ในรัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งเคยเป็นสถานที่ส่งจรวดถึง 16,000 ครั้ง ตกอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นถึง 23 เซนติเมตร จากเมื่อปี 1945 ที่ศูนย์แห่งนี้เปิดทำการ เช่นเดียวกับสถาบันวิจัยอาเมสในซานฟรานซิสโก และสถาบันวิจัยแลงลีย์ในรัฐเวอร์จิเนีย


ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view