สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สภาการยางเล็งฟ้องศาลระงับขายยางในสต๊อก

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

สภาการยางฯเล็งยื่นฟ้องศาลปกครองระงับเทขายยางในสต๊อกวันที่16 พ.ค.นี้ หวั่นสร้างความหวั่นไหวต่อเสถียรภาพยางพาราไทยราคาดิ่งเหวซ้ำเติมเกษตรกร

นายอุทัยสอนหลักทรัพย์ ประธานสภาการยางพาราแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตัวแทนชาวสวนยาง ได้เตรียมเอกสารเพื่อยื่นฟ้องฉุกเฉินต่อศาลปกครองเพื่อระงับการขายยางในสต๊อกในวันที่ 16 พ.ค. 57 เนื่องจากสร้างความหวั่นไหวต่อเสถียรภาพราคายางในประเทศทำให้ดำดิ่งลงซ้ำเติมเกษตรกรชาวสวนยาง แนะให้รัฐบาลนำยางออกไปนอกระบบสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยนำไปสร้างถนนหรือให้ประโยชน์ภายในประเทศ

ทั้งนี้จากการที่บริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ IRCO ที่ผู้บริหารได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ต่างประเทศเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2557 ส่งผลให้ในวันต่อมา 21 เมษายน ราคายางลดลงทันที 3 บาทต่อกก. และลดลงอย่างต่อเนื่อง 2.42 บาทต่อกก. และ 0.46 บาทต่อกก.ในวันที่ 22-23 เมษายน ตามลำดับ และราคาลดต่ำลงอีกอย่างต่อเนื่องเมื่อนายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้มีการประชุมคณะกรรมการองค์การสวนยาง เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 57 มีมติให้ตั้งกรรมการขายยางในสต๊อก 2.1 แสนตัน จึงส่งผลให้ตลาดยางดิ่งตัวลงอีก โดยวันที่ 6 พ.ค. ราคายางลดลงกก.ละ 1.37 บาทต่อกก.วันที่ 7 พ.ค. ลดลงอีก กก.ละ 2.63 บาทต่อกก.วันที่ 8 ลดลง 0.43 บาทต่อกก. จนเหลือราคากก.ละ 57.21 บาทต่อกก. ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนการผลิตที่สำนักเศรษฐกิจการเกษตรกำหนดต้นทุนราคายางแผ่นดิบที่ 64.19 บาทต่อกก. ซึ่งทำให้เกษตรกรขาดทุนในวันนั้นทันที 7.07บาทต่อกก.

โดยรัฐบาลนอกจากจะไม่ช่วยเหลือเกษตรกรแล้วยังซ้ำเติมเกษตรกรชาวสวนยางอีก เพราะการที่รัฐบาลมีแนวคิดที่จะเทขายยางในสต๊อกขณะที่ราคายางกำลังลดอยู่ทั้งที่ได้มีข้อมูลสรุปจากการประชุมสัมมนาพร้อมกับได้มีการประชุมเครือข่ายยางทั่วประเทศได้มีมติถึงมาตรการเชิงรุก เชิงรับสินค้าเกษตรยางพารากับการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการปฏิรูปเศรษฐกิจภาคการเกษตรส่วนอุตสาหกรรมยางพารา ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยนเมื่อวันที่ 30 เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการอภิปรายในเรื่องสต๊อกยาง2.1 แสนตันของรัฐบาลที่ไม่ควรนำยางในสต๊อกออกไปขายในตลาดเพราะจะทำให้ยางราคาตกลง โดยได้มีการเสนอแนวทางให้รัฐบาลนำยางไปใช้นอกระบบ

ซึ่งสอดคล้องกับมติการประชุมกรรมการบริหารจัดการสต๊อกยางที่องค์การสวนยางเสนอข้อคิดเห็นที่ประชุม ในส่วนของการบริหารจัดการยางในประเทศตอนนี้ดีกว่าการระบายยางออกไป ควรเน้นการใช้ยางในสต๊อกภายในประเทศ เช่น การนำไปทำเป็นตัวหนอนปูพื้นใช้ในโรงพยาบาลหรือสนามเด็กเล่น การนำยางพารา 5 %ผสมยางมะตอยไปลาดถนน ซึ่งจะเกิดประโยชน์มากกว่าเพราะมีความคงทนเพิ่ม 2.9 เท่าตามที่นักวิชาการได้วิจัยไว้ในที่ประชุมมีมติเห็นชอบแล้ว

หลังจากนั้นวันที่ 6 พ.ย. ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ซึ่งมีมติมอบหมายให้องค์การสวนยางเป็นผู้รับผิดชอบหลักการในการบริหารจัดการสต๊อกยางและระบายยางให้เป็นไปตามนโยบายยางนายกรัฐมนตรี ตามมติคณะรัญมนตรี และมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ โดยเน้นให้มีการใช้ยางพาราภายในประเทศ โดยจะไม่ขายยางในสต๊อก

นายอุทัย กล่าวเพิ่มเติมว่า จากกรรมการบริหารจัดการสต๊อกยางและกรรมการกนย.โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ขายยางในสต๊อกแต่จากการประชุมคณะกรรมการอสย. เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 57 กลับทำตรงกันข้ามกับนโยบายกนย.จึงทำให้ราคายางลดลงอีก โดยเพียง 3 วันราคายางตกลง4.43 บาทต่อกก.ขายได้เพียงกก.ละ 57.21 บาทต่อกก. ซึ่งประมาณการแล้วขายต่ำกว่าต้นทุน 7.07 บาทต่อกก.(จากราคาต้นทุนที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรประเมิน 64.19 บาทต่อกก.) ซึ่งทำให้เกษตรกรขายต่ำกว่าทุน 84 บาทต่อกก.ต่อวัน ซึ่งถ้าคิดใน 1 ปี ปริมาณยาง 4 ล้านตันเกษตรกรจะขายต่ำกว่าต้นทุนคิดเป็นมูลค่า 33,600 ล้านบาทต่อปี ซึ่งจากการที่ประชุมคณะกรรมการอสย. แล้วขายยางโดยไม่ผ่านมติของกนย.และครม. จึงทำให้เกษตรกรชาวสวนยาง มีความเคลือบแคลงสงสัยว่ารัฐบาลให้ความสำคัญต่อเกษตรกรหรือไม่ ซึ่งเท่ากับว่าไม่สนับสนุนเกษตรกรแล้วยังกลับซ้ำเติมอีกด้วย

"เป็นความจำเป็นที่ต้องฟ้องต่อศาลเพื่อไต่สวนฉุกเฉินจริงๆ รัฐบาลคงไม่เข้าใจถึงความเดือดร้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังการขายยางในสต๊อกหรืออาจมีนัยสำคัญทางการเมืองจึงเร่งขายโดยไม่ฟังความเดือนร้อนรอบข้างของชาวสวนยางผู้ได้รับความเดือดร้อน ดังนั้นการที่ตัวแทนคณะกรรมการสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย และตัวแทนครือข่ายยางพาราแห่งประเทศไทย รวมทั้งชุมตัวแทนชุมนุมสหกรณ์อุตสาหกรรมยางพาราแห่งประเทศไทย จำกัด ต้องออกมาครั้งนี้เพื่อเป็นการปกป้องพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง โดยจะเดินหน้าอย่างเต็มที่โดยจะยื่นฟ้องร้องฉุกเฉินเต่อศาลปกครองเพื่อระงับการขายยางในสต๊อกในครั้งนี้" นายอุทัยกล่าวและว่า

จากการที่นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหารจาก IRCO ได้ยื่นหนังสือถึงนายยุคล ลิ้มแหลมทอง รมว.เกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 57และส่งมาให้ที่บ้านทราบโดยได้ระบุถึงสถานการณ์ราคายางจะลดลงอีกอย่างต่อเนื่องลงไปอีก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในภาวะชลอตัว โดยเฉพาะประเทศจีนที่ใช้ยางมากที่สุดในโลกมีอัตราการใช้ยางที่น้อยลงกว่าการผลิต และนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจโลก ประกอบกับได้รับการติดต่อจากประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย กังวลเรื่องราคายางพาราที่จะปรับตัวลดลงไปอีก หากทั้งสามประเทศไม่ร่วมมือกันระบายยางพาราออกสู่ตลาดโลกในระดับที่เหมาะสมตามช่วงเวลา และได้ขอความร่วมมือให้ทางรัฐบาลไทยได้พิจารณาเรื่องการระบายยางพาราออกสู่ในตลาดโลกในช่วงเวลานี้ ซึ่งทางบริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด จะได้ประสานงานเพื่อจัดประชุมผู้แทนยางพาราทั้งสามประเทศต่อไป


ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view