สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปั่นสู้โรค กระชากวัยด้วยจักรยาน

จากประชาชาติธุรกิจ

ระแสการปั่นจักรยานในปัจจุบันมีมากขึ้นและกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มคนรักสุขภาพทุกเพศ

นอกจากจะให้ประโยชน์ในด้านการออกกำลังกาย การปั่นจักรยานยังช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคได้หลายๆ โรค อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ หัวใจและหลอดเลือดอุดตัน ภูมิแพ้ ไมเกรน แม้กระทั่งโรคข้อเข่าเสื่อม

ในเทศกาลที่ครบเครื่องทุกเรื่องจักรยาน เพื่อเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนไทยให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกายและใช้ ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉงที่ โคคา-โคลา ร่วมกับ โรงพยาบาลเทพธารินทร์ จัดเวทีสุขภาพ อติกานต์ เกนี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกาย โรงพยาบาลเทพธารินทร์ เล่าถึงประโยชน์ของการ "ปั่นสู้โรค" ว่า

"การปั่นจักรยานคือการออกกำลังกายแบบแอโรบิกชนิดหนึ่ง เปิดโอกาสให้กล้ามเนื้อหัวใจได้ทำงานมากกว่าขณะพัก ช่วยให้เกิดการสูบฉีดและระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น เป็นการเพิ่มสมรรถภาพให้กับอวัยวะต่างๆ ในร่างกายแข็งแรงและฟิตขึ้น (Cardiovascular function)

เช่น เพิ่มการสูบฉีดเลือดไปยังหัวใจ สมอง ปอด ข้อต่อต่างๆ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า และกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย รวมถึงช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคภูมิแพ้ โรคไมเกรน และข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น แท้ที่จริงแล้วการปั่นจักรยานไม่สามารถสร้างกล้ามเนื้อได้โดยตรง แต่เป็นการเผาผลาญพลังงานต่างๆ ของร่างกายออกไป"

ปั่นจักรยานสู้โรคอะไรได้บ้าง?

อติกานต์อธิบายว่า ปั่นจักรยานจึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยเผาผลาญพลังงานและไขมันสะสมในร่างกาย น้ำหนักก็จะลดลง ทั้งยังช่วยให้ร่างกายใช้อินซูลินในการดึงน้ำตาลในเลือดไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังทั้งหลายได้ เช่น เบาหวาน ความดันสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ หัวใจและหลอดเลือดอุดตัน

รวมทั้งโรคภูมิแพ้ เพราะการปั่นจักรยานช่วยให้ความไวต่อสิ่งกระตุ้นภูมิแพ้ลดลง จึงเกิดอาการแพ้ช้าและน้อยลง ขณะปั่นร่างกายจะเผาผลาญพลังงานและเกิดความร้อนขึ้น ช่วยให้เหงื่อออก ซึ่งดีต่ออาการภูมิแพ้

กับโรคไมเกรน อติกานต์บอกว่า การปั่นจักรยานมีส่วนช่วยลดและป้องกันอาการปวดศีรษะแบบไมเกรนดี และช่วยเสริมผลการรักษาด้วยยา เพราะช่วยให้เกิดการหลั่งของสาร "เอนดอร์ฟิน" ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความสุข ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น อาการเครียดคลายลง

แม้แต่โรคข้อเข่าเสื่อม ที่เป็นเหตุผู้ป่วยไม่น้อยออกกำลังขาน้อยลง ในทางตรงกันข้าม การปั่นจักรยานนับเป็นการบริหารกล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อต่อให้มีการเคลื่อนไหว สร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่นส่งผลให้ข้อเข่าแข็งแรง สามารถดูดซับแรงกระแทกได้ดีขึ้น ลดโอกาสการบาดเจ็บจากการทำกิจกรรมประจำวันได้ นอกจากนั้นยังช่วยให้เลือดในร่างกายมีการหมุนเวียนมากขึ้น สารอาหารและออกซิเจนสามารถเดินทางไปบำรุงข้อต่อได้มากขึ้น ช่วยให้ข้อเข่าเสื่อมช้าลง

"การรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับการปั่นจักรยานก็เป็นเรื่องสำคัญ นักปั่นควรรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ได้แก่ อาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ซึ่งร่างกายจะดึงออกมาใช้เป็นแหล่งพลังงานอันดับแรก ดังนั้น หนึ่งชั่วโมงก่อนการปั่น ควรกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงเพื่อเตรียมพลังงานเข้าสู่ร่างกาย

หากปั่นเกินหนึ่งชั่วโมงควรหยุดพัก เพื่อเติมอาหารที่ให้พลังงานเสริมเข้าไป เช่น กล้วย เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือเกลือแร่ หรือพวก energy bar ต่างๆ และเมื่อปั่นเสร็จภายใน 30 นาที ควรรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนเพื่อช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อ เพราะช่วง 30 นาทีหลังการปั่นนั้นคือช่วงเวลาที่กล้ามเนื้อสามารถดูดซึมสารอาหารได้ดีที่สุด" อติกานต์กล่าว

การปั่นจักรยาน นอกจากจะเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังสู้โรคได้อีกด้วย ที่สำคัญอย่าลืมว่าไม่ว่าจะบริโภคแคลอรีเข้าไปมากขนาดไหน เพียงแค่คุณออกกำลังกายหรือใช้ชีวิตที่แอคทีฟเพื่อเผาผลาญพลังงานออกไป แค่นี้ก็จะมีสุขภาพที่ดี ห่างไกลโรคอ้วนหรือเบาหวานมากวนใจอย่างแท้จริง



ที่มา นสพ.มติชน


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view