สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ยักษ์ค้าข้าวถูก ป.ป.ช สอบ GtoG ไล่บี้ทุจริตแคชเชียร์เช็คสั่งจ่าย คต.-มัดสยามอินดิก้า

จากประชาชาติธุรกิจ

ป.ป.ช.เรียกสอบเพิ่มเติมกรณีทุจริตขายข้าว G to G อีก 89 ราย ส่งผลสะเทือนเลื่อนลั่นวงการค้าข้าว เชื่อหวังผลกล่าวโทษผู้มีอำนาจอนุมัติระบายข้าว G to G เอาผิดถึงตัวการใหญ่ บีบ "สยามอินดิก้า" เรียกสอบถึงบริษัทลูกสาว "สิราลัย" ทำอสังหาริมทรัพย์พันแคชเชียร์เช็คจ่ายเงินค่าข้าวกับกรมการค้าต่างประเทศ อย่างไร สุดท้ายพบกระบวนการซื้อข้าว G to G มี 2 แบบ ผ่าน "คนกลาง" กับ "ไม่ผ่านคนกลาง" ส่งผลผู้ส่งออกข้าวบางรายหลุดโผถูก ป.ป.ช.เรียกสอบหวุดหวิด

หลังจากที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงกล่าวหานายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมพวกทุจริตโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าว ไม่มีการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือ G to G ให้กับรัฐบาลจีน แต่กลับนำข้าวมาจำหน่ายภายในประเทศนั้น

ล่าสุด ป.ป.ช.ได้สั่งให้ไต่สวนเพิ่มเติมบุคคลที่มิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐอีก 89 ราย ว่ามีส่วนร่วมในการกระทำผิดด้วยหรือไม่ โดยบุคคลเหล่านี้ประกอบไปด้วย บริษัทผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่สุดของประเทศ บริษัทผู้ส่งออกมันสำปะหลัง และลูกจ้างบริษัทเหล่านี้ (ตารางประกอบรายงาน) เนื่องจาก ป.ป.ช.พบว่ามีการสั่งจ่ายแคชเชียร์เช็คหรือเป็นเจ้าของบัญชีที่นำเงินไปซื้อ แคชเชียร์เช็คจ่ายให้กับกรมการค้าต่างประเทศ เป็นค่าข้าวที่อ้างว่ามีการส่งมอบแบบ G to G

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ได้สอบถามไปยังผู้มีรายชื่อบางส่วนที่ติดอยู่ในบัญชี 89 ราย ซึ่งมีทั้งกรรมการผู้มีอำนาจและผู้ที่ไม่ใช่กรรมการต่างตั้งข้อสังเกตว่า 1) ป.ป.ช.ต้องการหว่านแหให้บุคคลเหล่านี้ออกมาเปิดเผยหลักฐาน-ข้อมูลในกระบวน การระบายข้าวแบบ G to G ที่ดำเนินการในสมัยของนายบุญทรง โดยมีเป้าหมายที่จะนำไปสู่การเอาผิดผู้ที่มีอำนาจสั่งการให้ระบายข้าวสูงสุด

2) มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่า ทำไมมีบริษัทผู้ส่งออกข้าวบางรายที่ร่วมกระบวนการซื้อข้าว G to G กลับไม่มีรายชื่อติดอยู่ในบัญชี 89 รายของ ป.ป.ช. ซึ่งตามปกติการซื้อข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลด้วยการอ้าง G to G ที่ผ่านมาจะดำเนินการอยู่ 2 แบบ คือ แบบผ่านคนกลาง กับไม่ผ่านคนกลาง

 

โดยผู้ที่ซื้อผ่านคนกลางจะซื้อผ่าน "บริษัทสยามอินดิก้า" หรือพรรคพวกของบริษัทนี้ต้องการข้าวสารมาจำหน่ายภายในประเทศหรือจำหน่ายต่อ เพื่อส่งออก จึงจ่ายเช็คให้กับ "คนกลาง" ไม่ได้จ่ายให้กับกรมการค้าต่างประเทศโดยตรง ส่วนคนกลางจะไปจ่ายค่าข้าวอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ผลก็คือ บุคคลในกลุ่มนี้จึงไม่มีรายชื่ออยู่ในบัญชี 89 ราย ทั้ง ๆ ที่ร่วมกระบวนการ G to G เหมือนกัน มีเพียงบริษัทสยามอินดิก้าและผู้ใกล้ชิดเท่านั้นที่ถูก ป.ป.ช.เรียกไต่สวน

สำหรับผู้ซื้อแบบไม่ผ่านคนกลาง จะเป็นการซื้อขาย G to G กับผู้มีอำนาจในการสั่งขายข้าวโดยตรง เนื่องจากไม่มั่นใจการซื้อข้าวผ่านคนกลาง ประกอบกับกลุ่มคนเหล่านี้มีสายสัมพันธ์อันแนบแน่นกับฝ่ายการเมืองจึงสามารถ เข้าถึงสต๊อกข้าวของรัฐบาลได้ เมื่อการซื้อข้าวกับกรมการค้าต่างประเทศโดยตรง โดยไม่รับรู้ว่าข้าวที่ซื้อมานั้นเป็นข้าว G to G หรือไม่ กรมการค้าต่างประเทศย่อมต้องออก "ใบเสร็จ" รับเงินค่าข้าว บริษัทเหล่านี้จึงนำไปเป็นหลักฐานการชำระภาษี สุดท้ายหลักฐานจึงไปปรากฏอยู่ที่ ป.ป.ช.กลายเป็น 1 ใน 89 รายที่ถูกเรียกสอบว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริตระบายข้าว G to G อย่างไร

อย่าง ไรก็ตาม เฉพาะในส่วนของบริษัทสยามอินดิก้าที่ถูกเรียกสอบเพิ่มเติมครั้งนี้ ปรากฏชื่อของเครือข่ายที่เป็นลูกจ้างของบริษัท น้องเขย และบุตร ไม่ว่าจะเป็น น.ส.รัตนา แซ่เฮ้ง กรรมการ บริษัทสยามอินดิก้า, น.ส.เรืองวัน เลิศศลารักษ์ กรรมการ บริษัทสยามอินดิก้า, น.ส.สุธิดา จันทะเอ กรรมการ บริษัทสยามอินดิก้า, นายสมยศ คุณจักร, นายกฤษณะ สุระมนต์,น.ส.ธันยพร จันทร์สกุลพร และตัวนายอภิชาติ จันทร์สกุลพรเอง

โดยบุคคลเหล่านี้ใน อดีตเกี่ยวข้องกับบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง ที่ถูกธนาคารเจ้าหนี้และหน่วยงานของรัฐ (องค์การคลังสินค้า-องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร-กรมการค้าต่างประเทศ) ฟ้องดำเนินคดีผิดนัดชำระหนี้ค่าข้าวที่ซื้อขายกันในสมัยของนายวัฒนา เมืองสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในสมัยนั้น กลายเป็นที่มาว่าบริษัทสยามอินดิก้าก็คือเครือข่ายเดียวกันกับบริษัท เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง เพียงแต่เปลี่ยนตัวผู้มีอำนาจเต็ม หรือใช้วิธีมอบอำนาจกลับมาซื้อข้าว G to G กับรัฐบาลที่มาจากพรรคเพื่อไทยได้อีกครั้ง

มีข้อน่าสังเกตว่า บุคคลทั้ง 89 รายที่ถูกเรียกสอบเพิ่มนั้นมีหลายรายที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจค้าข้าว แต่มีสายสัมพันธ์อันดีกับ "คนกลาง" ในการขายข้าว G to G ในสต๊อกรัฐบาล บุคคลเหล่านี้จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่เป็นเครือญาติกับ นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร ได้แก่ น.ส.ธันยพร จันทร์สกุลพรกรรมการ บริษัท สิราลัย จำกัด ซึ่งเป็นลูกสาวของนายอภิชาติ จันทร์สกุลพรโดยบริษัทนี้ตั้งอยู่ที่เดียวกับบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง เลขที่ 48/7-8ซอยรัชดาภิเษก 20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 เพิ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2555 ทุนจดทะเบียน 2,200,000,000 บาท ประกอบธุรกิจการให้เช่า การขาย การซื้อและการดำเนินงานด้านอสังหาริมทรัพย์ และศาสตราจารย์ น.พ.สมยศ คุณจักร ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่ง เลเซอร์ และศาสตร์ชะลอวัย ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการยศการคลินิค ซึ่งในวงการทราบกันดีว่าเป็นน้องเขยของนายอภิชาติ

กลุ่มที่ไม่ใช่ ธุรกิจค้าข้าว อาทิ บริษัท เอลัช (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท พี.เอส.ซี.สตาร์ช โปรดักส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ส่งออกมันเส้น/แป้งมัน โดยบริษัทเหล่านี้ต่างก็ซื้อมันเส้น/แป้งมันด้วยวิธีการอ้าง G to G กับรัฐบาลจีน แต่ที่ติดอยู่ในบัญชี 89 รายน่าจะเป็นเพราะมีแคชเชียร์เช็คที่สั่งจ่ายโดยบริษัทเหล่านี้ไปอยู่ใน บัญชีการขายข้าวของกรมการค้าต่างประเทศ

ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่าทำไม เช็คเหล่านี้จึงเข้าบัญชีข้าว แทนที่จะเป็นบัญชีมันสำปะหลัง จนมีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่าเป็นการ "จงใจ" ที่จะเอาเงินชำระค่ามันเส้น/แป้งมันไปเข้าบัญชีระบายข้าว เนื่องจากกรมการค้าต่างประเทศมีปัญหาไม่สามารถนำเงินส่งคืนให้กับธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มาจ่ายเงินจำนำข้าวให้กับชาวนาใช่หรือไม่

ด้านนายฑิฆัมพร นาทวรทัต รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในข้าราชการระดับสูงของกรมการค้าต่างประเทศ ที่ถูก ป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหาทุจริตโครงการรับจำนำข้าวร่วมกับนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงกรณี ป.ป.ช.เรียกบุคคลไต่สวนเพิ่มเติมอีก 89 รายว่า "ยังสับสนและสงสัยอยู่" ส่วนกรณีการให้ข้อมูลของตนยังเป็นไปตามกระบวนการปกติ โดยล่าสุดได้เข้าไปให้ข้อมูลเพิ่มกับทางคณะกรรมการ ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา ในกรณีการซื้อขายข้าวที่ตนเกี่ยวข้องและพร้อมที่จะเข้าไปให้ข้อมูลกับ ป.ป.ช.เพิ่มเติมอย่างเต็มที่
นายสมบัติ เฉลิมวุฒินันท์ ประธาน บริษัท เอเซีย โกลเด้น ไรซ์ จำกัด ซึ่งเป็น 1 ใน 89 รายชื่อที่ ป.ป.ช.เรียกสอบเพิ่มเติมกล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปชี้แจงต่อคณะอนุกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งคงเป็นข้อมูลตามที่ได้เคยถูกเรียกไปให้ข้อมูลก่อนหน้านี้

"ผมก็ หนักใจว่าอาจจะกระทบต่อการทำธุรกิจ แต่ก็เข้าใจกระบวนการตรวจสอบของอนุกรรมการ ป.ป.ช. ก็จะเตรียมข้อมูลไปชี้แจง ซึ่งคงไม่ต่างจากตอนที่ไปให้ข้อมูลในครั้งก่อนที่รัฐบาลจำนำข้าวทุกเมล็ด ทำให้ไม่สามารถหาข้าวจากตลาดปกติได้ ผู้ส่งออกจำเป็นต้องหาซื้อข้าวด้วยวิธีนี้ แต่เราก็พยายามทำอย่างเปิดเผย เราซื้อข้าวกับกรมการค้าต่างประเทศโดยตรงไม่ผ่านคนอื่น ไม่รู้ว่าจะมีการเชื่อมโยงกับการขายข้าวแบบ G to G เราซื้อไปแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นก็หยุดซื้อ แต่หลังจากที่รัฐบาลระบายสต๊อกโดยเปลี่ยนแปลงวิธีการขาย ไม่ว่าจะเป็นวิธีไหนเราก็เข้าไปซื้อทุกวิธี ทั้งประมูลทั่วไป ยื่นซื้อ ประมูลผ่านตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า หรือประมูลระดับจังหวัด" นายสมบัติกล่าว


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view