สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ยรรยง แจง ป.ป.ช. ยันจำนำข้าวหมื่นห้าไม่เวอร์ ลั่นยกเลิกไม่ได้หวั่นขัด รธน.

“ยรรยง” แจง ป.ป.ช. ยันจำนำข้าวหมื่นห้าไม่เวอร์ ลั่นยกเลิกไม่ได้หวั่นขัด รธน.

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

รักษาการ รมช.พาณิชย์ พอใจ ป.ป.ช. ที่ให้โอกาสรัฐบาลมาชี้แจง ยืนยันโครงการรับจำนำข้าวทำมาทุกรัฐบาล 1.5 หมื่นไม่เวอร์ อ้างนายกฯ ปราบโกงต่อเนื่อง ไม่ได้ละเว้น ยันเลิกจำนำข้าวไม่ได้ เพราะรัฐบาลหาเสียงไว้ ถ้าไม่ทำขัด รธน. อีกด้านเผยแจงตัวเลขขาดทุนเทคนิคที่ยาก ปิดปีต่อปีไม่ได้
       
       วันนี้ (9 เม.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี เมื่อเวลา 13.30 น. นายยรรยง พวงราช รักษาการ รมช.พาณิชย์ ได้เข้าให้ถ้อยคำเป็นพยานในคดีจำนำข้าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม โดยใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง
       
       จากนั้นเวลา 16.30 น. นายยรรยง ให้สัมภาษณ์ว่า ตนเดินทางมาให้ข้อมูลเชิงลึกต่อ ป.ป.ช. และพอใจที่ ป.ป.ช.ให้โอกาสรัฐบาลมาชี้แจง เนื่องจากปัจจุบันมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อโครงการรับจำนำข้าว ตนทำโครงการรับจำนำข้าวมาทุกรัฐบาลตั้งแต่รัฐบาลนายชวน หลีกภัย มาจนถึงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยกเว้นรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ทำโครงการประกันราคา ทั้งนี้ ยืนยันว่าโครงการรับจำนำข้าวของน .ส.ยิ่งลักษณ์ไม่ใช่โครงการใหม่ แต่มีการดำเนินการต่อเนื่องมาทุกรัฐบาล เพียงแต่มีการปรับราคาจำนำให้สูงขึ้นมาเท่านั้น ส่วนประเด็นที่ ป.ป.ช. ได้สอบถามมี 2 ประเด็นหลัก คือ 1. ทำไมให้ราคาจำนำข้าวสูงถึง 1.5 หมื่นบาทต่อตัน และรับจำนำทุกเม็ด ซึ่งได้ชี้แจงว่าเพราะรายได้ครัวเรือนของชาวนาสูงขึ้น ต้นทุนในผลิต 8,000-9,000 บาท เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนาให้ดีขึ้น คิดว่าประเด็นนี้ ป.ป.ช. มีความเข้าใจ ยืนยันว่าราคาจำนำ 1.5 หมื่นบาท ไม่ใช่ราคาที่สูงเกินไป ถ้าเป็นภาษาจิ๊กโก๋เรียกว่า “มันไม่เวอร์หรอก”
       
       นายยรรยงกล่าวว่า และ 2. ทำไมนายกรัฐมนตรีละเลยเพิกเฉยไม่ระงับโครงการทั้งที่สังคมมองว่าทำให้เกิด ความเสียหายอย่างมาก ตนได้ชี้แจงว่านโยบายรับจำนำข้าวเป็นนโยบายที่รัฐบาลใช้หาเสียง ซึ่งเป็นสัญญาประชาคมหากรัฐบาลไม่ทำก็จะมีความผิดตามกฎหมาย นโยบายนี้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 84(8) ที่กำหนดไว้ว่ารัฐบาลทุกรัฐบาลมีหน้าที่ให้เกษตรกรมีรายได้สูงสุดเท่าที่จะ เป็นไปได้ และได้ชี้แจงว่ารัฐบาลพยายามป้องกันและติดตามตรวจสอบปราบปรามการทุจริต รวมทั้งตนได้อธิบายว่าการระงับโครงการทำไม่ได้เพราะอะไร และหากมีข้อบกพร่องจะดำเนินการอย่างไร โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีผู้เกี่ยวข้องและใช้งบประมาณ จำนวนมาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว ได้ดำเนินการป้องกัน ตรวจสอบ และปราบปรามทุจริตอย่างต่อเนื่องจึงไม่ได้ละเว้นหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ไม่เกิดความเสียหายตามที่กล่าวหาแต่อย่างใด
       
       นายยรรยงกล่าวอีกว่า ส่วนตัวเลขการขาดทุนที่ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำสินค้าเกษตรได้ระบุไว้นั้น ป.ป.ช. ได้สอบถาม ตนยืนยันไปว่าตัวเลขดังกล่าวยังไม่ยุติ ตัวเลขขาดทุนที่ น.ส.สุภาได้สรุปไว้นั้น อนุกรรมการฯดังกล่าว นายกรัฐมนตรีเป็นคนแต่งตั้ง เราตั้งข้อสังเกตว่าความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ มีจุดอ่อนอยู่มาก จึงขอโอกาสให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลังเป็นผู้ชี้แจง ทั้งนี้หลักการปิดบัญชี และความเสียหายมีเท่าไร ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของนักบัญชีรัฐบาลต้องการนำนักบัญชีคือนายพิชัย ชุณหวชิร นายกสภาวิชาชีพบัญชีแห่งประเทศไทยมาชี้แจง เนื่องจากการปิดบัญชีเป็นเรื่องเทคนิคที่ยาก จะปิดปีต่อปีไม่ได้
       
       เมื่อถามถึงกรณีที่คณะกรรมการสรรหามีมติเลือก น.ส.สุภา เป็น ป.ป.ช. นั้น นายยรรยง กล่าวว่า ไม่หนักใจอะไร ทุกคนทำหน้าที่ของตัวเอง ท่านจะได้รับบทบาทที่กว้างขึ้น และเป็นคนละส่วนกัน


'ยรรยง'แจงปปช.ยันราคาจำนำหมื่นห้าไม่สูง

"ยรรยง" แจงป.ป.ช.กว่า 3 ชั่วโมง เผย 2 ประเด็นใหญ่ ยันราคาจำนำหมื่นห้าไม่สูง ย้ำ “ยิ่งลักษณ์” ไม่ปล่อยโกง ชี้ ยกเลิกโครงการไม่ได้

ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายยรรยง พวงราช รมช.พาณิชย์ ได้เข้าให้ถ้อยคำเป็นพยานในคดีจำนำข้าวของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง

นายยรรยง ให้สัมภาษณ์ว่า ตนเดินทางมาให้ข้อมูลเชิงลึกต่อป.ป.ช.และพอใจที่ ป.ป.ช.ให้โอกาสรัฐบาลมาชี้แจง เนื่องจากปัจจุบันมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อโครงการรับจำนำข้าว ตนทำโครงการรับจำนำข้าวมาทุกรัฐบาลตั้งแต่รัฐบาลนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี มาจนถึงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยกเว้นรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ทำโครงการประกันราคาและยืนยันว่าโครงการรับจำนำข้าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ใช่โครงการใหม่ แต่มีการดำเนินการต่อเนื่องมาทุกรัฐบาล เพียงแต่มีการปรับราคาจำนำให้สูงขึ้นมาเท่านั้น

ส่วนประเด็นที่ ป.ป.ช.ได้สอบถามมี 2 ประเด็นหลัก 1.ทำไมให้ราคาจำนำข้าวสูงถึง 1.5 หมื่นบาทต่อตัน และรับจำนำทุกเม็ด ซึ่งตนได้ชี้แจงว่า เพราะรายได้ครัวเรือนของชาวนาสูงขึ้น ต้นทุนในผลิต 8,000-9,000 บาท จึงยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนาให้ดีขึ้น ซึ่งคิดว่าประเด็นนี้ ป.ป.ช.มีความเข้าใจ และยืนยันว่าราคาจำนำ 1.5 หมื่นบาท ไม่ใช่ราคาที่สูงเกินไป ถ้าเป็นภาษาจิ๊กโก๋เรียกว่า “มันไม่เว่อร์หรอก”

นายยรรยง กล่าวต่อว่า 2.ทำไมนายกรัฐมนตรีละเลย เพิกเฉย ไม่ระงับ ยับยั้งโครงการ ทั้งที่สังคมมองว่าทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก ตนได้ชี้แจงว่านโยบายรับจำนำข้าวเป็นนโยบายที่รัฐบาลใช้หาเสียง ซึ่งเป็นสัญญาประชาคมหากรัฐบาลไม่ทำก็จะมีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งนโยบายนี้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 84 (8) ที่กำหนดไว้ว่ารัฐบาลทุกรัฐบาลมีหน้าที่ทำให้เกษตรกรมีรายได้สูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และได้ชี้แจงว่ารัฐบาลพยายามป้องกันและติดตามตรวจสอบปราบปรามการทุจริต รวมทั้งตนได้อธิบายว่าการระงับโครงการทำไม่ได้เพราะอะไร และหากมีข้อบกพร่องจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีผู้เกี่ยวข้องและใช้งบประมาณจำนวนมาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว ได้ดำเนินการป้องกัน ตรวจสอบ และปราบปรามทุจริตอย่างต่อเนื่องจึงไม่ได้ละเว้นหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ไม่เกิดความเสียหายตามที่กล่าวหาแต่อย่างใด

ทั้งนี้ตัวเลขการขาดทุนที่ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำสินค้าเกษตรได้ระบุไว้นั้น ป.ป.ช.ได้สอบถาม ซึ่งยืนยันไปว่า ตัวเลขดังกล่าวยังไม่ยุติ ตัวเลขขาดทุนที่น.ส.สุภา ได้สรุปไว้นั้น ตนได้อธิบายกับป.ป.ช.ว่าอนุกรรมการฯดังกล่าว นายกฯเป็นคนแต่งตั้ง เราตั้งข้อสังเกตว่าความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ มีจุดอ่อนอยู่มาก จึงขอโอกาสให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลังเป็นผู้ชี้แจง ทั้งนี้หลักการปิดบัญชี และความเสียหายมีเท่าไร ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของนักบัญชีรัฐบาลต้องการนำนักบัญชีคือนายพิชัย ชุณหวชิรนายกสภาวิชาชีพบัญชีแห่งประเทศไทยมาชี้แจง เนื่องจากการปิดบัญชีเป็นเรื่องเทคนิคที่ยาก จะปิดปีต่อปีไม่ได้

เมื่อถามถึงกรณีที่คณะกรรมการสรรหาป.ป.ช.มีมติเลือก น.ส.สุภา เป็น ป.ป.ช. นายยรรยง กล่าวว่า ไม่หนักใจอะไร ทุกคนทำหน้าที่ของตัวเอง ท่านจะได้รับบทบาทที่กว้างขึ้น และเป็นคนละส่วนกัน


'ปชป.'ชี้'นิวัฒน์ธำรง'สารภาพไม่ลงบัญชีข้าว

"ปชป." ชี้ "นิวัฒน์ธำรง" สารภาพไม่ลงบัญชีข้าวสองล้านตัน มัดโกงจำนำข้าว หวังสุภาได้รับเลือกเป็น "ป.ป.ช." เชื่อช่วยปราบโกงข้าวได้

นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการเข้าให้ปากคำของนายยรรยง พวงราช รมช.พาณิชย์ต่อป.ป.ช.ในคดีทุจริตจำนำข้าวว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์พยายามหลีกเลี่ยงการให้ความร่วมมือและพยายามเสนอพยานเพิ่มเติมเพื่อถ่วงเวลาไม่ให้นางสาวยิ่งลักษณ์ไปชี้แจงต่อ ป.ป.ช.ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตามการที่นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกและรมว.พาณิชย์ ตอบโต้นายวิชา มหาคุณ ป.ป.ช.ว่า ข้าวสองล้านตันไม่ได้หายแต่ไม่ได้ลงบัญชี มัดว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริงโดยไม่มีการลงบัญชีจึงเป็นกระบวนการเปิดโอกาสให้มีการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างร้ายแรงจากโครงการจำนำข้าว

อย่างไรก็ตาม หากมีการคัดเลือกนางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง อดีตประธานคณะอนุกรรมปิดบัญชีโครงการจำนำข้าวเป็น ป.ป.ช.จะทำให้คดีนี้คลี่คลายได้อย่างรวดเร็ว เพราะเป็นผู้ที่รับทราบข้อมูลเป็นอย่างดี


'ยรรยง'ปัดจำนำข้าวบิดเบือนกลไกตลาด

"ยรรยง" เปิด 3 ประเด็นโต้ ป.ป.ช.เอาผิดจำนำข้าว แจงเปล่าบิดเบือนกลไกตลาด พร้อมแจงระบายข้าวฉลุยมั่นใจคืนหนี้ 2 หมื่นล้านตามกำหนด

นายยรรงยง พวงราช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า วานนี้ (9 เม.ย.) ได้เข้าให้ปากคำกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ต่อการพิจารณานางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ดำเนินโครงการรับจำนำข้าวว่า การตั้งสมมติฐานต่อต่อกรณีดังกล่าวมีความไม่ถูกต้อง 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1.การเชื่อว่ากลไกตลาดข้าวเป็นกลไกที่สมบูรณ์ทั้งตลาดในประเทศและตลาดโลก เพราะฉะนั้นรัฐบาลจึงไม่ควรบิดเบือนกลไกตลาดนั้น ในความเป็นจริงสินค้าข้าวไม่มีกลไกตลาดที่สมบูรณ์ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาตกต่ำมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อรายได้ของชาวนา โดยโครงการรับจำนำถือว่าการสร้างสมดุลของกลไกตลาด โดยราคาข้าวช่วง 2543-2550 ราคาเฉลี่ยที่ตันละ 4,200-6,200 บาท เท่านั้น

2.เชื่อว่ามาตรการรับจำนำเป็นมาตรการประชานิยมซึ่งรัฐบาลคิดขึ้นเพื่อเปิดช่องการทุจริตและหาเสียงนั้น โครงการรับจำนำได้เคยดำเนินมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลชุดก่อนหน้านี้ ยกเว้นรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น แต่โครงการับจำนของนางยิ่งลักษณ์ถือเป็นการใช้ยาแรงที่มีการยกระดับทั้งปริมาณและราคา เพื่อเป้าหมายการลดความเหลื่อมล้ำรายได้ของชาวนา ไม่ใช่ความตั้งใจเพื่อการทุจริตตามที่กล่าวอ้าง

3.เชื่อว่ามาตรการรับจำนำข้าวของรัฐบาลเป็นการทำธุรกิจการค้าที่เสียหาย เพราะมีแต่ขาดทุนเพียงอย่างเดียวนั้น นโยบายรับจำนำเป็นสิ่งที่นายกรัฐมนตรีไม่สามารถระงับ ยับยั้ง หรือยกเลิกได้ เพราะเป็นโครงการที่รัฐบาลได้หาเสียงไว้ในการเลือกตั้งอย่างชัดเจน และได้แถลงต่อรัฐสภาไว้แล้ว หาไม่ดำเนินการเหมือนหลอกลวงประชาชน

“ผมจะบอกกับ ปปช.ใน 3 ประเด็นสำคัญ ซึ่งว่าด้วยเรื่องการตั้งสมมติฐานในการสอบสวนนั้นต้องให้เป็นไปอย่างถูกต้องหากสมมติฐานผิดก็จะทำให้ผลการพิจารณาผิดไปด้วย ผมมีเอกชน 40 หน้า เป็นประเด็นของผมชี้แจง 24 หน้า ส่วนที่เหลือเป็นการเติมประเด็นที่นายกรัฐมนตรีได้ส่งเอกสารชี้แจงไปก่อนหน้านี้” นายยรรยง กล่าว

ส่วนประเด็นการชี้แจงอื่น จะย้ำถึงมาตรการป้องกรันการสวมสิทธิ์ และไม่ให้การปลอมปน การกำหนดมาตรฐานข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการที่ต้องเป็นข้าวเต็มเม็ด 100% เท่านั้น จึงจะได้ตามราคาที่ประกาศไว้คือตันละ 1.5 หมื่นบาท ส่วนการกล่าวหาว่าโครงการขาดทุนโดยยึดข้อมูลจากคณะกรรมการปิดบัญชี และสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)นั้นเป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้ข้อยุติเนื่องจากโครงการได้ไม่สิ้นสุด

นายยรรยง กล่าวถึงสถานการณ์ราคาข้าวว่า การที่ราคาข้าวในตลาดลดต่ำลง โดยราคาข้าวเปลือกเจ้าเฉลี่ยที่ ตันละ 7,000 บาท (ความชื้น5%) และตันละ 5,000-6,000 บาท(ความชื้น 25-30%) ซึ่งใกล้เคียงกับต้นทุนของชาวนาที่เฉลี่ยตันละ 5,000-5,900 บาท ชี้ให้เห็นว่าชาวนากำลังมีปัญหารายได้ลดลง โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาข้าวลดลงมาจากปัญหาการเมืองที่ทำให้ไม่มีรัฐบาลถาวรและไม่สามารถกำหนดมาตรการดูแลราคาข้าวในที่สุด

ส่วนการระบายข้าวของรัฐบาลนั้น ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ราคาข้าวตกต่ำ เพราะเป็นการระบายข้าวอย่างมียุทธศาสตร์และเป็นข้าวเก่าซึ่งเป็นคนละตลาดกับผลผลิตในขณะนี้ ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศได้ส่งเงินคืนคลังไปแล้ว รวม 10,700 ล้านบาท ซึ่งเหลืออีกเพียง 9,300 ล้านบาท จึงจะครบ 20,000 ล้านบาทที่ได้ยืมมาจากงบกลางและมั่นใจว่าจะสามารถจ่ายคืนให้ทันกำหนดสิ้น พ.ค.นี้ได้อย่างแน่นอน โดยเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา สามารถระบายข้าวได้รวม 1 ล้านตัน สำหรับการระบายทั่วไป และการระบายผ่านตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าจะระบายได้ 1 ล้านตัน มูลค่ารวม หมื่นล้านบาท จะทำให้มีเงินส่งคืนคลังได้อย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามแผนที่ได้ขอไว้กับคณะกรรมการข้าวแห่งชาติ (กขช.)


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view