สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จี้รัฐวางแผนระยะยาว ฟื้นตลาดข้าวไทย

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ในการเสวนา"ข้าวไทยในอาเซียน ถึงทางตันแล้วหรือ ..?" ผู้ประกอบการจี้รัฐวางแผนระยะยาว ฟื้นตลาดข้าวไทย

ล้อมกรอบ-ในการเสวนา"ข้าวไทยในอาเซียน ถึงทางตันแล้วหรือ ..?" จัดโดยศูนย์เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงข้าวร่วมแสดงความเห็น โดยผู้ส่งออกข้าวเห็นการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี ไม่ได้สนับสนุนให้การค้าข้าวดีขึ้น แต่นโยบายรัฐในการจัดการเป็นปัจจัยชี้ขาดอนาคตข้าวไทย

นายวัลลภ พิชญ์พงศา อุปนายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ในวงจรข้าวมีบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก เริ่มจากเกษตรเป็นผู้ปลูก ส่งขายให้โรงสี แปรสภาพเป็นข้าวสาร ขายออกสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยผู้ทำการค้าส่วนใหญ่เป็นผู้ส่งออก

ในช่วงที่ผ่านมาเมื่อรัฐบาลมีโครงการรับจำนำ สถานการณ์ข้าวไทย ในราคาประกันที่สูงถึง ตัน 1.5 หมื่นบาท ส่งผลให้ผู้ส่งออกแย่งซื้อข้าวไม่ได้ ข้าวส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่โครงการของรัฐ ส่งผลให้การส่งออกในช่วงปี 55-56 จึงลดลง 30-40 %

ภายหลังโครงการสิ้นสุด เมื่อวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมารัฐระบายข้าวสต็อก ราคาข้าวไทยจึงลดลง เป็นผลดีกับผู้ส่งออกสามารถเสนอขายมากขึ้น ยอดส่งออกจึงกระเตื้องขึ้น ในเดือนมี.ค. ที่ผ่านมาทำได้ประมาณ 7 แสนตัน คาดว่าในแนวโน้มต่อไปจะทำได้มากกว่านี้ ทั้งปียังคาดว่าจะได้ 8.5ล้านตัน คำสั่งซื้อยังมีเข้ามาอย่างต่อเนื่องราคาข้าว 100% อยู่ที่ตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้การส่งออกข้าวของไทยสามารถแบ่งได้เป็นข้าว 4 ประเภทคือข้าวหอมมะลิ เป็นระดับพรีเมี่ยม ชื่นชอบมากในสหรัฐฯ อียู จีน สิงคโปร์ ข้าวขาว ปลูกมากในภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ข้าวชนิดนี้ต้องแข่งขันสูงกับเวียดนาม ในขณะที่ไทยมีจุดแข็งในข้าวขาว 100%และมีสัดส่วนส่งออกข้าวนี้ 30-40% ข้าวนึ่ง ไทยผลิตเพื่อส่งออก แต่ส่งออก 100%ที่แอฟริกา ไนจีเรีย และข้าวเหนียว ที่ส่งออกน้อยมากส่วนใหญ่ใช้บริโภคในประเทศ

สำหรับตลาดในอาเซียนต้องพิจารณาก่อนว่าในกลุ่มตลาดนี้มีประเทศที่มีทั้งผู้ผลิต ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของโลก ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันจึงมีการค้าขายกันเองสูงมาก แต่ตลาดยังมีอุปสรรคเรื่องภาษีและเงื่อนไขทางการค้า เพราะข้าวในอาเซียนยังเป็นสินค้าอ่อนไหว แม้แต่สิงคโปร์ที่ไม่มีการปลูกข้าว ยังมีกฎระเบียบการสำรองข้าวขณะที่ การนำเข้าของอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ยังถูกควบคุมโดยรัฐบาล ดังนั้นการแข่งขันในตลาดนี้จึงต้องดูทั้งเรื่องราคาและคุณภาพ

นอกจากนี้การร่วมมือกับประเทศผู้ผลิตข้าวนั้นยังเป็นเรื่องยาก เพราะข้าวสามารถผลิตได้ตลอดปี แม้จะหารือในระดับนโยบาย แม้เมื่อข้าวเข้าสู่ตลาดก็มีการแข่งขันที่สูงมากอยู่ดี ความร่วมมือที่น่าจะทำได้คือความสัมพันธ์อันดี ระหว่างสมาคมฯ เนื่องจากไทยมีฐานการตลาดที่ใหญ่กว่าและตลาดให้การยอมรับเรื่องคุณภาพ ทำให้หารือร่วมกันได้ง่าย

นอกจากนี้ด้านการลงทุนน่าจะมีขึ้นได้ในอนาคตที่พม่า และลาว ในภาพรวมแล้วหลังจากเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี นั้นคาดว่าการค้าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ในขณะที่รัฐบาลไทยจะต้องกำหนดนโยบายที่ชัดเจน เพื่อให้ภาคเอกชนวางแผนการค้าได้ เช่น หากจะสนับสนุนการส่งออกเฉพาะข้าวคุณภาพสูง ทิ้งข้าวคุณภาพต่ำ เหล่านี้ต้องกำหนดเป็นแผนระยะยาวไม่เปลี่ยนไปมาตามรัฐบาล

นางมนัสนิตย์ จิรวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญ กรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า ในอาเซียนมีทั้งประเทศผู้ซื้อและผู้ขายรายใหญ่ของโลกซื้อและผู้ขาย มีตลาดข้าวทั้งคุณภาพสูง ปานกลางและต่ำในส่วนของไทย ได้พยายามผลักดันเรื่องการส่งออกข้าวคุณภาพสูง แต่ที่ผ่านมาเศรษฐกิจของโลกย่ำแย่มาก ในขณะที่ผลผลิตข้าวออกสู่ตลาดมาก ประเทศผู้นำเข้าหันมาสนับสนุนการพึ่งตนเอง เพื่อลดการนำเข้า ทำให้ตลาดหันมานิยมข้าวคุณภาพต่ำและปานกลางของเวียดนาม ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาตลาดข้าวจึงเป็นของเวียดนามทั้งหมด

โครงการรับจำนำข้าวของไทยเมื่อเจอไทม์มิ่งเหล่านี้ก็ยิ่งไปกันใหญ่ การส่งออกจึงลดลง ดังนั้นเมื่อโครงการรับจำนำจบลงรัฐพยายามระบายข้าวในสต็อก ในราคาที่ผู้ส่งออกสามารถเสนอขายได้ หากประเทศผู้นำเข้าให้ความใส่ใจเรื่องคุณภาพคาดว่าจะตัดสินใจซื้อข้าวของไทย

อย่างไรก็ตามการที่ข้าวจำนวนมากอยู่ในมือของรัฐ เป็นข้อดีของกลไกการเจรจากับต่างประเทศลักษณะจีทูจี โดยเฉพาะกับประเทศที่รัฐบาลยังคุมการนำเข้าอยู่ สามารถใช้ข้าวบาร์เตอร์เทรดเป็นความสัมพันธ์ทางการค้าและเป็นภูมิอย่างหนึ่งของรัฐบาล อย่างกรณีของอิรัก ในปีนี้ยอมให้ไทยเข้าร่วมประมูลแล้ว

ส่วนความร่วมมือกับประเทศผู้ผลิตข้าว ทั้งพม่า ลาว กัมพูชานั้น ในอนาคตคาดว่าจะความร่วมมือปลูกออแกนิกส์เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีทรัพยากรทางธรรมชาติสูง


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view