สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

น้ำเขื่อนหมดงดทำนาปรังรอบ2

จาก โพสต์ทูเดย์

กรมชลประทานคาดเดือน พ.ค. หากฝนไม่ตกเหลือน้ำใช้ทำนาเพียงเดือนเดียวหมด

นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ผลจากการทำนาปรังในลุ่มเจ้าพระยารอบแรกจำนวน 8.5 ล้านไร่ เกินจากแผนที่วางไว้เพียง 4.7 ล้านไร่ เกินกว่า 85% ของเป้าหมาย และขณะนี้ได้ระบายน้ำตาม|แผนงานการบริหารจัดการในช่วงฤดูแล้ง (30 พ.ย. 2556-30 เม.ย. 2557) ในลุ่มเจ้าพระยาจำนวน 5,300 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ไว้จนหมดแล้ว

ดังนั้น ทำให้ขณะนี้ต้องใช้น้ำต้นทุนที่เก็บไว้สำหรับรองรับการทำการเกษตรในฤดูฝนที่จะเริ่มวันที่ 1 พ.ค.เป็นต้นไป เพื่อช่วยเหลือการเกษตรเพิ่มขึ้น คาดว่าจะใช้เดือนละประมาณ 1,400 ล้าน ลบ.ม. ไปจนถึงวันที่ 30 เม.ย.นี้

ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่า อาจจะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงในระหว่างปลายเดือน พ.ค.ถึงกลางเดือน มิ.ย. ซึ่งหากฝนไม่ตกเลย กรมชลประทานคาดว่าเมื่อถึงวันที่ 1 พ.ค. จะมีน้ำเหลือประมาณ 3,000 ล้าน ลบ.ม. ดังนั้นขอร้องเกษตรกรงดทำนาปรังรอบที่ 2 อย่างเด็ดขาด

นายสุเทพ กล่าวอีกว่า หากมีการทำนาปรังรอบที่ 2 ซึ่งขณะนี้เริ่มทำกันบ้างแล้ว จะทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนที่สำรองไว้สำหรับการทำนาในฤดูฝนที่จะเริ่มกลางเดือน พ.ค. กรมชลประทานอาจต้องประกาศให้ชะลอออกไปอีกเพื่อรอฝน ซึ่งจะทำให้เกษตรกรทั่วไปที่รอทำนาปีเสียโอกาสและคนทำนาปรังรอบ 2 ก็จะเสี่ยงต่อความเสียหายและรัฐจะไม่รับผิดชอบความเสียหายนั้น

“การที่กรมต้องระบายน้ำเพื่อช่วยเหลือนาปรังรอบแรก เป็นไปตามสัญญากับเกษตรกร ที่กระทรวงเกษตรฯ ได้ขอความร่วมมือให้ชาวนาเลื่อนทำนาปีในช่วงเดือน พ.ค. 2556 ออกไป และสัญญาว่าจะดูแลนาปรังรอบแรกอย่างเต็มที่ ประกอบกับราคาจำนำทำให้เกษตรกรทำนาปรังรอบแรก คือ ปลายปี 2556 กันเต็มที่จนตัวเลขทะลุถึง 8.5 ล้านไร่ จากปริมาณน้ำที่มีเพียง 4.5 ล้านไร่”นายสุเทพ กล่าว

ทั้งนี้ ผลจากการระบายน้ำทำให้มีน้ำต้นทุนเดือนละ 1,400 ล้าน ลบ.ม. ต่อเดือนไปอีก 1 เดือนครึ่ง กรมชลประทานคาดว่าจะทำให้ ณ วันที่ 1 พ.ค. มีน้ำประมาณ 3,000 ล้าน ลบ.ม. นอกจากเพื่อไว้รองรับการอุปโภค บริโภค การรักษาระบบนิเวศแล้ว หากเกษตรกรเริ่มทำนาปีในเดือนดังกล่าว คาดว่าจะทำให้มีการใช้น้ำประมาณ 1,800-2,000 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน จะทำให้น้ำในเขื่อนเหลือประมาณ 1,000 ล้าน ลบ.ม.ในเดือน มิ.ย. ซึ่งหากฝนทิ้งช่วงจะส่งผลกระทบซ้ำต่อระบบน้ำประปาใน กทม.


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view