สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ชำแหละ อีเอชไอเอ ท่าเทียบเรือถ่านหินกระบี่

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"กรีนพีช"ชำแหละรายงาน"อีเอชไอเอ"ท่าเทียบเรือถ่านหิน-โรงไฟฟ้ากระบี่ ชี้เมินพื้นที่ชุ่มน้ำโลก ปากแม่น้ำกระบี่ สุสานหอย แหล่งหญ้าทะเล2หมื่นไร่

น.ส.จริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ กรีนพีชเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า จากการตรวจสอบรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) โครงการท่าเทียบเรือถ่านหินบ้านคลองรั้ว และโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ขนาด 870 เมกกะวัตต์ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งเตรียมเปิดเวทีรับฟังทบทวนรายงานอีเอชไอเอฉบับนี้รอบสุดท้ายในวันที่ 9 มี.ค.นี้ก่อนที่บริษัทที่ปรึกษาจะส่งให้กฟผ.นำเสนอรายงานไปยังสำนัก งานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)และคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนก็จะเดินหน้าก่อสร้างได้ทันที ทั้งนี้พบว่ารายงานอีเอชไอเอดังกล่าว มีการประเมินผลกระทบที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเมินชนิดพันธ์ุของสิ่งมีชีวิตได้ไม่ครบถ้วน เช่น กลุ่มนกในพื้นที่โครงการ 5 กม.มีแค่ 91 ชนิดแต่ในพื้นที่ชุ่มน้ำกระบี่ มีถึง 221 นอกจากนี้ยังขาดการกระบวนการมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่อีกด้วย

"เราสำรวจพบว่าจุดท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว ที่จะใช้เป็นจุดจอดเรือขนถ่านหิน เพื่อขนไปยังโรงไฟฟ้าถ่านหินมากกว่า 2.5 ล้านตันต่อปีนั้น บริษัทที่ปรึกษาศึกษาผลกระทบในรัศมีแค่ 5 กม.เท่านั้น แต่ตลอดเส้นทางขนถ่านหินนั้นต้องผ่านเกาะปอดะ เกาะลันตา เกาะศรีบอยา รวมระยะทาง 8.4กม.มีแหล่งทรัพยากรสำคัญอยู่มากมาย ทั้งป่าชายเลนผืนใหญ่"

และอยู่ในขอบเขตของพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติปากน้ำกระบี่ ที่ขึ้นทะเบียนของโลกในปี 2554 ซึ่งทางกลุ่มท้องถิ่นในกระบี่ได้ทำหนังสือแสดงความกังวลถึงผลกระทบดังกล่าวไปยังสกนักงานเลขาธิการแรมซ่าร์แล้ว นอกจากนี้บริเวณเกาะศรีบอยา ยัง มีแหล่งหญ้าทะเลแปลงใหญ่ 2 หมื่นไร่ที่เป็นอาหารของพะยูนที่เหลือเพียง 12 ตัว และสัตว์น้ำอื่นๆที่มีความอ่อนไหวต่อการขุ่นของน้ำจากตะกอนถ่ายหิน รวมทั้งแหล่งสุสานหอยล้านปี ซึ่งทั้งหมดนี้จะได้รับผลกระทบทางตรงและทางอ้อมจากโครง การนี้ทั้งในระหว่างการขนส่งทีมีเรือขนาดใหญ่ขนถ่านหินเข้ามาที่อาจจะมีทั้งถ่านหินที่ตกลงทะเล และฝุ่นที่ทำให้เกิดตะกอนแขวนลอยจนกระทบกับแหล่งหญ้าทะเล แต่กลับไม่ปรากฎเนื้อหาในรายงานอีเอชไอเอ"น.ส.จริยา ระบุ

นอกจากนี้ น.ส.จิรยา ยังเทียบจากกรณีของโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่ก่อสร้างยื่นลงในทะเล ซึ่งมีการศึกษาผลกระทบจากอนุภาคสารแขวนลอยของถ่านหินที่ฟุ้งกระจายลงในทะเลแล้ว รวมทั้งยังมีการขขายตัวโรงงานเพิ่ม ทั้งที่ก่อนหน้าประกาศว่าจะไม่ขยายโรงงานก็ตาม จุดนี้จึงทำให้ชี้ชัดว่าหากมีโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งแรกที่กระบี่ในปี 2562 ตามแผนที่กฟผ.กำหนดไว้แล้ว ในอนาคตจะมีโรงไฟฟ้าแห่งที่ 2,3 ตามมาอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้คนกระบี่ และคนไทยร่วมกันต้านโครงการที่สร้างผลกระทบดังกล่าว เหมือนกับที่คนกระบี่เคยหยุดผลการขุดลอกคลองศรีบอยามาแล้วรอบหนึ่ง


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : ชำแหละ , อีเอชไอเอ , ท่าเทียบเรือถ่านหิน , กระบี่

view