สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

FTA Watch ชี้ต้นตอไทยถูกตัดสิทธิ์จีเอสพีเหตุเจรจารวบรัด ตำหนิ ยิ่งลักษณ์ อ้างการเมือง

จากประชาชาติธุรกิจ

กลุ่ม FTA Watch ชี้กรณีไทยถูกสหภาพยุโรปตัดสิทธิ์จีเอสพี เพราะไทยมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น ทั้งที่สิทธิให้เฉพาะอุตสาหกรรมในประเทศด้อยพัฒนา แถมเร่งเจรจารวบรัด ไม่รอบคอบ เพียงเพื่อหวังให้ได้ต่อสิทธิจีเอสพีทำให้ไทยเสียประโยชน์ไม่ต่ำกว่า 1.9 แสนล้าน ตำหนินายกฯ หยิบเรื่องการเมืองมาอ้าง ชี้รัฐบาลจากการเลือกตั้งต้องคำนึงประโยชน์ของทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ไม่ใช่เอื้อพวกพ้องได้ประโยชน์
       
       วันนี้ (6 มี.ค.) กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) ซึ่งเป็นเครือข่ายภาคประชาสังคมที่ติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศมา อย่างต่อเนื่อง มีข้อสังเกตต่อการโพสต์นายกฯยิ่งลักษณ์เรื่องไทยจะถูกสหภาพยุโรปตัด GSP เมื่อวานนี้ ดังเนื้อหาด้านล่าง ซึ่งได้เผยแพร่ผ่านเพจของทางกลุ่มฯ ระบุว่า ตามที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ค ระบุว่า “เป็นที่น่าเสียดายที่ทางสหภาพยุโรปได้ระงับการเจรจาเอฟทีเอกับไทยเนื่องจาก เหตุการณ์ทางการเมืองและความไม่แน่นอนในการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือก ตั้ง ซึ่งจะทำให้การเจรจาล่าช้าออกไป มีแนวโน้มที่จะไม่ทันการถูกตัดสิทธิ GSP ของไทยในปี 2558 ซึ่งนอกจากจะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลงเนื่องจากราคาสินค้าที่ เพิ่มขึ้นเนื่องจากอัตราภาษีนำเข้าแล้ว ยังอาจส่งผลให้บรรษัทข้ามชาติย้ายฐานการผลิต หรือตัดสินใจลงทุนในประเทศที่มีสิทธิพิเศษทางการค้าไม่ว่าจะเป็น GSP หรือ FTA แทนที่จะลงทุน หรือทำธุรกิจต่อเนื่องในประเทศไทย”
       
       กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) ซึ่งเป็นเครือข่ายภาคประชาสังคมที่ติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศมา อย่างต่อเนื่อง มีข้อสังเกตดังต่อไปนี้
       
       1. การที่สิทธิพิเศษทางการค้า (Generalized System of Preferences: GSP) ที่ผู้ส่งออกไทยเคยได้รับอยู่และมีโอกาสจะถูกตัดสิทธินี้ในปลายปีหน้านั้น เป็นเพราะสิทธิพิเศษของประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วย เหลืออุตสาหกรรมในประเทศด้อยพัฒนา แต่ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานั้น ประเทศไทยมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น รายได้เฉลี่ยต่อหัวของไทยขึ้นเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง 3 ปีติดต่อกัน และสินค้าที่จะถูกตัดสิทธิพิเศษนั้นมีส่วนแบ่งการตลาดเกิน 17.5% ไปแล้ว
       
       นอกจากนี้ ข้อมูลจากศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ระบุว่า แม้จะถูกตัดสิทธิ GSP ทั้งหมดจะส่งผลกระทบกับการสูญเสียรายได้จากการถูกแย่งตลาด ประมาณ 2,562 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 79,422 ล้านบาท) ไม่ใช่ทั้งหมดของมูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยที่ใช้สิทธิจีเอสพี มีมูลค่ากว่า 2.97 แสนล้านบาทแต่อย่างใด
       
       อย่างไรก็ตาม จากงานศึกษาชิ้นล่าสุดของคณะผู้แทนถาวรไทยในองค์การการค้าโลก เผยแพร่เมื่อ 9 ก.ค.55 ประเมิน ว่า ผลกระทบของการปฏิรูป GSP ของสหภาพยุโรปต่อการส่งออกของไทยอยู่ที่ 1,080 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 34,560 ล้านบาท) เท่านั้น
       
       ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่จะได้ผลกระทบ ได้แก่ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์, เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิค และ กุ้งแช่แข็งและแปรรูป
       
       2. การเจรจาเอฟทีเอระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปซึ่งเจรจาไปแล้ว 3 รอบนั้น ถูกกำหนดโดยฝ่ายนโยบายให้เป็นไปด้วยความเร่งรีบเพื่อสามารถต่อสิทธิ GSP ได้ทันต้นปี 2559 จึงกำหนดร่วมกับทางสหภาพยุโรปให้เจรจาให้เสร็จเพียง 7 รอบ ใช้เวลาทั้งสิ้นปีเศษๆเท่านั้น ทั้งที่เป็นเอฟทีเอที่มีเนื้อหาครอบคลุมกว้างขวางมากที่สุดเท่าที่ไทยเคย เจรจามา และมีหลายหัวข้อที่ไทยไม่เคยเปิดเจรจาในความตกลงอื่นมาก่อน เช่น ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับยา และความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และการคุ้มครองการลงทุน
       
       การเร่งเจรจาเพียงเพื่อหวังให้ได้ต่อสิทธิ GSP ทำให้ผู้เจรจาฝ่ายไทยตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบอย่างมาก และอาจถูกกดดันให้ต้องยอมตามประเด็นอ่อนไหวข้างต้น ซึ่งจะมีผลกระทบเสียหายยาวนานข้ามรัฐบาลและข้ามชั่วอายุคน ซึ่งจากการศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพของทีมวิชาการโดยความร่วมมือของสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
       
       ในส่วนผลกระทบด้านเศรษฐกิจนั้นพบว่า หากไทยต้องยอมตามข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรปให้มีการผูกขาดข้อมูลทางยา (Data Exclusivity) ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องที่มากเกินกว่าความตกลงทริปส์และเป็นประเด็นที่ สหภาพยุโรปต้องการมากที่สุด พบว่าในปีที่ห้า (พ.ศ. 2556 โดยคำนวนจากปี พ.ศ.2550 ที่เป็นปีที่ทำการศึกษา) ถ้ามีการผูกขาดข้อมูลยา ค่าใช้จ่ายด้านยาของไทยจะสูงขึ้นอีก 81,356 ล้านบาท/ปี และหากต้องยอมการขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรยาเพิ่มขึ้นอีก 5 ปี ซึ่งมีผลทำให้ค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่มขึ้นอีกเป็น 27,883 ล้านบาท/ปี
       
       ในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ หากไทยต้องยอมไปเป็นภาคีคุ้มครองปรับปรุงพันธุ์ (UPOV 1991) จะมีผลให้เกษตรกรต้องจ่ายพันธุ์พืช ในราคาที่แพงขึ้น จากงานวิจัยพบว่า ราคาพันธุ์พืชจะขึ้นอย่างต่ำ 2-3 เท่าจนถึง 6 เท่าตัว ตอนนี้มูลค่า 28,000 ล้านบาทจะเพิ่มเป็นอย่างต่ำ 84,000 ล้านบาท และอาจถึง 143,000 ล้านบาทต่อปี
       
       ดังนั้น การเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรปที่รวบรัด ไม่รอบคอบ อาจทำให้ไทยเสียประโยชน์อย่างมหาศาล ไม่ต่ำกว่าปีละ 193,239 ล้านบาทเทียบไม่ได้กับการได้ต่อสิทธิ GSP ที่ทางการไทยประเมินว่าจะสูญเสียแค่ 34,560 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น
       
       3. การแก้ปัญหาการเมือง และการได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้ประเทศ ไทยหลุดพ้นจากการถูกฉุดรั้งทางการเมืองดังที่ท่านนายกรัฐมนตรีกล่าวไว้จริง แต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นพึงตระหนักว่า การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ต้องประกอบด้วยการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนอย่างมีความหมาย และคำนึงประโยชน์ของทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม มิใช่เมินเฉยต่อข้อเท็จจริงและความห่วงใยของภาคส่วนต่างๆ และมุ่งดำเนินนโยบายเพื่อสนับสนุนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งให้ได้ประโยชน์ โดยที่คนจำนวนมากต้องแบกรับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายที่ไม่เป็นธรรมทาง เศรษฐกิจ
       
       ดังนั้น รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยจึงต้องให้ความสำคัญอย่าง ยิ่งยวดต่อคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย ดำเนินการเจรจาอย่างอย่างรอบคอบเฉพาะอย่างยิ่งให้ความสำคัญกับผลกระทบทางลบ ที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนผู้มีรายได้น้อย เจรจาด้วยข้อมูลความรู้ มิใช่อาศัยเพียงการวิ่งเต้นของกลุ่มทุน และที่สำคัญต้องยืนหยัดเจรจาที่จะนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดของประเทศที่ครอบ คลุมคนทุกกลุ่ม


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : FTA Watch , ชี้ต้นตอไทย , ถูกตัดสิทธิ์จีเอสพี , เจรจารวบรัด , ตำหนิ , ยิ่งลักษณ์ , การเมือง

view