สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ชาวนาขอนแก่นอีกร้อยละ70ยังรอเงินจำนำข้าว

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ชาวนาขอนแก่น 34,201รายหรืออีก70% ยังรอเงินจำนำข้าว รวมค้างจ่าย 1,936 ล้านบาท ธ.ก.ส.ช่วยเหลือเลื่อนเบี้ยปรับไปจนกว่าจะได้เงินจากโครงการ

จากกรณีที่เกษตรกรยังไม่ได้รับเงินในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ส่งผลให้เกษตรกรทุกจังหวัดเดือดร้อนกันอย่างหนัก ตามข่าวที่ได้เสนอไปก่อนหน้านี้นั้น เรื่องนี้นางมรกต เบญจวรรณ อิ่มวิเศษ การค้าภายในจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า สำหรับเกษตรกรใน จ.ขอนแก่นที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวกับรัฐบาล ได้ออกใบประทวนสะสมทั้งหมด 63,126 ฉบับ ปริมาณข้าวเปลือกรับจำนำสะสม 156,224.908 ตัน แยกเป็น ข้าวเปลือกเจ้า 25 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 3,284.108 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลิ 96,071.082 ตัน และข้าวเปลือกเหนียว 10 เปอร์เซ็นต์เมล็ดยาว 56,869.718 ตัน มูลค่าการรับจำนำทั้งสิ้น 2,802,069,754.80 บาท และจากข้อมูล ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ขอนแก่นได้งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร 875,000,000 บาทเพื่อจ่ายเงินค่าจำนำข้าวให้กับเกษตรกรที่เข้าโครงการ

แต่ทำสัญญาและจ่ายเงินแล้ว จำนวน 13,212 ราย 16,604 สัญญา ในประทวน 18,235 ฉบับ ปริมาณ 47,995.557 ตัน ค้างจ่ายเงินจำนวนใบประทวน 44,891 ฉบับ คิดจ่ายเงินจำนวนใบประทวน 44,891 ฉบับ คิดเป็นเงินที่ค้างจ่าย1,936,086,667.36 บาท โดยข้าวเปลือกได้มีการสีแปรสภาพและส่งมอบข้าวสารเข้าคลังสินค้ากลาง ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ โดยสีแปรสภาพแล้ว 148,725.912 ตัน เป็นข้าวสารที่ต้องส่งมอบ 73,129.345 ตัน คงเหลือข้าวที่ยังไม่ได้สีแปรสภาพ 5,317.210 ตัน โดยข้าวเปลือกของโรงสีต่างภาคไม่ได้สั่งสีแปรในจังหวัด 2,181.786 ตัน ได้ส่งมอบข้าวสารเข้าคลังสินค้ากลางแล้ว 9,989.050 ตัน หักค่าชดเชย 262.583 ตัน ขายตรงให้กับคู่ค้า 14,718.577 ตัน คงเหลือข้าวสารที่ยังไม่ส่งมอบ 48,159.135 ตัน

โดยเกษตรกรทำนาที่ได้เข้าโครงการรับจำนำข้าวปีนี้เป็นเพียง18 เปอร์เซ็นต์ของเกษตรกรที่ทำนาทั้งหมด และมีเพียง 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่ได้รับเงินจากโครงการแล้ว ดังนั้นจึงเหลือเกษตรกรอีก 70 เปอร์เซ็นต์ที่ยังไม่ได้รับเงิน ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนที่สูง ดังนั้นจังหวัดขอนแก่น โดยคณะอนุกรรมการ ฯ ระดับจังหวัด ได้มีการหารือกันและมีมติเมื่อวันที่ 21 มกราคม 57 เสนอแนวทางการช่วยเหลือชาวนา ดังต่อไปนี้ คือ ให้ ธ.ก.ส. จ่ายเงินจำนำข้าวให้ชาวนา 100 เปอร์เซ็นต์ โดยให้ธ.ก.ส. สำรองจ่ายให้เกษตรกรก่อนและรัฐบาลคืนเงินให้ ธ.ก.ส. ต่อไป

หรือไม่ก็เพิ่มวงเงินตามมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรของ ธ.ก.ส. โดยจ่ายเงินจำนำข้าวให้ชาวนา ไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่คิดดอกเบี้ยหรือรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้กับ ธ.ก.ส. ถ้ารัฐบาลไม่สามารถจ่ายเงินให้กับชาวนาได้ ให้ ธ.ก.ส. พิจารณาให้ชาวนาเลื่อนการชำระหนี้เกี่ยวกับข้าวงวดเดือนมีนาคมออกไป 1 ปี หรือ จนกว่าจะได้รับเงินจำนำข้าวครบ โดยไม่คิดดอกเบี้ยปรับกับชาวนา (เนื่องจากชาวนาจะเสียประวัติในการชำระหนี้กับ ธ.ก.ส.) ถ้าไม่เช่นนั้นให้ทางโรงสีซื้อข้าวเปลือกที่เกษตรกรจำนำไว้ในราคาตลาด และรัฐบาลจ่ายค่าชดเชยส่วนต่างเพิ่มให้กับชาวนา ตามมูลค่าใบประทวน หรือโรงสีจ่ายเงินค่าข้าวเปลือกให้ชาวนาตามมูลค่าในใบประทวนทั้งหมด แล้วรัฐบาลจ่ายเงินคืนให้โรงสีต่อไป

หรือขอจ่ายจากเงินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ชาวนา สุดท้ายเสนอให้ชาวนานำใบประทวนเป็นหลักประกันไปกู้เงินกับธนาคารของรัฐและธนาคารพาณิชย์ ในวงเงิน 50 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าข้าวในใบประทวน เมื่อรัฐมีเงินจ่ายขอให้นำมาชำระแทนชาวนาพร้อมดอกเบี้ย ทั้งนี้รัฐบาลต้องทำความตกลงกับธนาคารพาณิชย์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ชาวนาสามารถมีเงินจับจ่ายใช้สอยและชำระเงินระยะสั้นเฉพาะหน้าได้

"อย่างไรก็ตามสำหรับแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับเงินล่าช้า เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ธ.ก.ส. จ.ขอนแก่น แจ้งมาตรการช่วยเหลือ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นได้กำหนดให้ เกษตรกรกู้เงินได้ร้อยละ 20 ของมูลค่าตามใบประทวน ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้ชาวนาลูกค้าออกไปไม่เกิน 12 เดือน ให้สินเชื่อเพื่อค่าใช้จ่ายในการผลิตทางการเกษตรฤดูการผลิตรอบใหม่ เพื่อให้ชาวนากู้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่จำเป็นระหว่างรอรับเงินจากโครงการรับจำนำข้าว ทั้งนี้ จ.ขอนแก่นได้ขอความร่วมมือนายอำเภอทุกอำเภอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจกับเกษตรกร"นางมรกต กล่าว

ด้านนายพงษ์พันธ์ สุขสำราญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ธ.ก.ส. สำนักงาน จ.ขอนแก่น กล่าวว่า สำหรับเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับเงินจากการจำนำข้าว ทั้งหมดประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ โดยทาง ธ.ก.ส.เองได้เรียงลำดับกับเกษตรกรในการทำสัญญารอเพียงเงินที่ทางรัฐบาลโอนเข้ามาให้เท่านั้น ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้พึ่งได้รับเงินอีกก้อนหนึ่งจำนวน 51ล้านบาทโดยได้จัดสรรไปให้ในแต่ละอำเภอ และคำนวณสัดส่วนตามจำนวนใบประทวนของแต่ละพื้นที่ที่ค้างเงินไว้อยู่ คือถ้าเหลือเงินมาก งบประมาณก็จะส่งไปมาก โดยทาง ธ.ก.ส.ได้มีมาตรการในการช่วยเหลือเกษตรกรมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนเบี้ยปรับกับเกษตรกรไปจนกว่าจะได้รับเงินจากการจำนำข้าว หรือแม้แต่ให้สินเชื่อเพื่อค่าใช้จ่ายในการผลิตทางการเกษตรฤดูการผลิตรอบใหม่ เพื่อให้ชาวนากู้เป็นเงินทุน รายละไม่เกิน 100,000 บาท โดยไม่ต้องใช้หลักประกัน ดอกเบี้ย 0.58 ซึ่งนับว่าเป็นดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุดในระบบธนาคาร เกษตรกรสามารถติดต่อกับ ธ.ก.ส.ได้ทุกสาขา.


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view