สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ถอดรหัส ประปานครหลวง รับมือวิกฤตน้ำเค็มหนุนสูงรอบ 100 ปี

จากประชาชาติธุรกิจ

8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เหมือนไม่มีปี่มีขลุ่ยกับภาวะน้ำทะเลหนุนสูงกินลึกเข้าไปถึงช่วงบางไทร ไกลออกไปจากเดิมและอยู่เหนือแหล่งสูบน้ำดิบสำแลที่เป็นน้ำต้นทุนสำหรับผลิต น้ำประปาป้อนผู้ใช้น้ำ 10 ล้านรายใน 3 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ ส่งผลให้ภาวะน้ำประปามีรสเค็มจนรู้สึกได้ นับเป็นภาวะปัญหารุนแรงในรอบ 100 ปีก็ว่าได้

"ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์พิเศษ "ธนศักดิ์ วัฒนะฐานะ" ผู้ว่าการ "กปน.-การประปานครหลวง" ถึงที่มาที่ไปของปัญหาและแนวทางรับมือ เพราะมีแนวโน้มว่าภาวะวิกฤตน้ำประปามีรสเค็มจะยาวนานจนกว่าจะเข้าหน้าฝน

- วิกฤตน้ำทะเลหนุนสูงปีนี้

ปัญหา น้ำเค็มหนุนสูง ปกติจะเกิดขึ้นช่วงสั้น ๆ ในเดือนเมษายน จากนั้นปัญหาจะคลี่คลายเมื่อเข้าหน้าฝนภายในพฤษภาคม-มิถุนายน แต่ปี"57 มาเร็วกว่าปกติคือเจอตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์สภาพปัญหาคือปริมาณน้ำในเขื่อน ภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เหลือน้อยกว่าปกติ นั่นคือปีนี้ภัยแล้งมาเร็วและมีการใช้น้ำกันมาก ทำให้น้ำเค็มขึ้นมาสูงตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ และวันที่ 9 กุมภาพันธ์ประปาตั้งศูนย์ฉุกเฉินรับมือทันที มีการบริหารจัดการผันน้ำมาช่วยระบาย ทำให้น้ำเค็มลดลง

แต่พอน้ำทะเล หนุนเข้ามามาก ชาวนาสูบน้ำดิบไปใช้ในภาคเกษตรทำให้ปัญหาน้ำเค็มสูงขึ้นมาอีก ปริมาณที่ตรวจวัดได้สูงสุดเมื่อ 15-16 ก.พ.ที่ผ่านมา ปกติการวัดน้ำที่มีค่าความเค็มหรือคลอไรด์ต้องไม่เกิน 250 มิลลิกรัม/ลิตร หรือ 0.25 กรัมเกลือ/ลิตร แต่วันที่ 8 ก.พ.วัดค่าได้ 800 มก./ลิตร และยิ่งวันที่ 15-16 ก.พ.ค่าคลอไรด์ขึ้นมาสูง 1,800-1,900 มก./ลิตรเลย กรณีปกติค่าคลอไรด์ 250 มก.จะไม่รู้สึกอะไร แต่ถ้าถึง 500 มก./ลิตร จึงจะเริ่มรู้สึกเค็มหมายความว่าทุกปีมีการสูบจ่ายน้ำเหมือน ๆ กันจากเขื่อนภูมิพลกับเขื่อนสิริกิติ์ แต่ปีนี้น้ำลงมาน้อยกว่าปกติ ปัญหาน้ำเค็มหนุนสูง ก็เลยก่อตัวเร็วกว่าปกติเช่นกัน

การ แก้ไขเร่งด่วน ทางกรมชลประทานก็ดีมาก ช่วยผันน้ำจากเขื่อนป่าสัก มาบางไทร 9 ลบ.ม./วินาที ทำให้น้ำเจือจางลง และรับจากเขื่อนแม่กลอง ต้นทางปล่อยมา 50 ลบ.ม./วินาที มาถึงคลองระบายน้ำเหลือ 20-30 ลบ.ม./วินาที มาลงเจ้าพระยา 13 ลบ.ม./วินาที นั่นคือมีการดึงน้ำจากเขื่อนแม่กลองเพิ่มเรื่อย ๆ อีกส่วนคือนำน้ำดิบผ่านคลองประปาที่ยังไม่ได้ผลิต ปล่อยทิ้งลงคลองปลายบาง

ตาม เส้นทางจนมาลงเจ้าพระยา 5 ลบ.ม./วินาที เราพยายามเพิ่มให้เป็น 10 ลบ.ม./วินาที จนล่าสุด ณ เมื่อวันที่ 19-20 ก.พ.ค่อนข้างปกติแล้ว ค่าคลอไรด์ไม่ถึง 100 มก./ลิตร หรือ 0.1 กรัมเกลือ/ลิตร เพราะฉะนั้น ณ จุดนี้ประปามั่นใจว่าจะมีน้ำดิบเพียงพอกับการผลิตน้ำประปาไปถึงปลาย พ.ค.นี้ ผู้ใช้น้ำที่อยู่ในพื้นที่รับปัญหาคือฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้า พระยาหรือเขตกรุงเทพฯ สมุทรปราการฝั่งตะวันออก และนนทบุรี เนื่องจากเป็นผู้ใช้น้ำประปาที่ผลิตจากโรงผลิตน้ำบางเขนกับสามเสน เป็นหลัก มีกำลังผลิตรวมกันประมาณ 65% ของกำลังผลิตน้ำประปาวันละ 5 ล้าน ลบ.ม.ส่วนประชาชนฝั่งธนใช้น้ำที่ผลิตจากโรงมหาสวัสดิ์ มีน้ำต้นทุนมาจากเขื่อนแม่กลองซึ่งไม่ได้รับผลกระทบน้ำเค็ม

- ปีนี้จะเจอถึงหน้าฝน

วิธี สังเกตคือวันแรม 8 ค่ำ หรือขึ้น 8 ค่ำ น้ำทะเลขึ้นสูงผิดปกติ ซึ่งสต๊อกน้ำในคลองประปาทุกปีที่ผ่านมาไม่มีปัญหา เคยมีน้ำเค็มหนุนสูง 2-3 ชั่วโมง แต่ปีนี้ขึ้นนาน (70 ชั่วโมงต่อเนื่อง) รวมทั้งทุกปีขึ้นมาแค่โรงสูบน้ำสำแลที่อยู่ห่างจากโรงผลิตน้ำบางเขน 5-6 กม.แต่ปีนี้น้ำเค็มขึ้นไปสูงถึงบางไทร ห่างออกไป 10 กว่า กม.

- ปัญหาน้ำเค็มเกิดซ้ำซาก

จะ มองจริง ๆ ต้องมองเป็นปัญหาของประเทศ เราต้องประสบน้ำท่วมกับภัยแล้ง คงต้องมาดูกันว่าน้ำท่วมจะลดปัญหายังไง จะทำเขื่อนเพิ่มไหม ตรงไหนควรจะทำแก้มลิง พื้นที่น้ำท่วมเยอะ น้ำท่วมลึก น่าจะทำเป็น อ่างเก็บน้ำไปเลย ถึงเวลาช่วงภัยแล้งก็เอาน้ำมาใช้ในส่วนของประปา เราวางแผนนำน้ำฝั่งตะวันตกมาช่วยฝั่งตะวันออก เพราะมีน้ำเหลือปีละ 1,000 ล้าน ลบ.ม.ทุกปีปัญหามีเวลาสั้น ๆ แค่เดือน เม.ย.-พ.ค.แต่ปีนี้คงต้องเตรียมแผนรองรับไว้ถึงหน้าฝนเลย

- มีอะไรจะฝากถึงผู้บริโภค

ถ้า ภัยแล้งมาเร็ว ก็อยากให้ทุกคนประหยัด ใช้เท่าที่จำเป็น ในกรณีต้องการจะสต๊อกน้ำไว้ใช้ ให้สังเกตง่าย ๆ ถ้ามีปัญหาน้ำเค็มหนุนสูง กว่าน้ำจะมาถึงแหล่งสูบน้ำดิบใช้เวลาอีกครึ่งวัน เพราะฉะนั้นให้ดูตอนเช้าในวันขึ้น 8 ค่ำ หรือแรม 8 ค่ำ สต๊อกน้ำจืดตั้งแต่เช้าเลย

- ควรจะใช้เครื่องกรองน้ำ

น้ำประปามีรสเค็ม การแก้ปัญหาใช้เครื่องกรองน้ำไม่ค่อยได้ผลในเรื่องน้ำมีรสเค็ม ต้มก็ไม่มีประโยชน์ ต้องตุนน้ำประปาตอนมีรสจืดเท่านั้น


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags :

view